อินโนซิทอล (Inositol) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีรวม มีบทบาทสำคัญในระบบประสาทโดยให้พลังแก่เซลล์สมอง ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันและคอเลสเตอรอลอินโนซิทอลนั้นมีหน่วยเป็นมิลลิกรัม (มก. หรือ mg.) เมื่อรวมตัวกับโคลีนจะกลายเป็นเลซิติน สำหรับแหล่งที่พบอินโนซิทอลตามธรรมชาติ ได้แก่ ตับ สมองและหัวใจวัว จมูกข้าวสาลี กากน้ำตาล ถั่วลิสง ถั่วลิมาแห้ง ลูกเกด แคนตาลูป เกรปฟรุต กะหล่ำปลี บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น
โรคจากการขาดอินโนซิทอล ได้แก่ โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดเอ็กซีมา (Eczema) โดยมีลักษณะอาการคือ บวมแดง คัน ผิวหนังลอกเป็นขุย ท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้จะทำงานผิดปกติ จึงทำอาหารให้ตกค้างในลำไส้ใหญ่ หรืออาจเกิดความผิดปกติในดวงตา เช่น ตาบอดกลางคืน ต้อกระจก ต้อหิน และการมองเห็นผิดปกติ ได้ หรืออาจเกิดภาวะผมร่วงได้ หรืออาจเกิดภาวะเส้นเลือดอุดตัน หรือเกิดการแข็งตัวของผนังเส้นเลือดได้ และอาจเกิดภาวะเสื่อมและอักเสบของปลายประสาท ทำให้มีอาการชา หรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้าได้ ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในยังไม่มีรายงานว่าเกิดอันตรายต่อร่างกาย หากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน และศัตรูของอินโนซิทอล ได้แก่ น้ำ กาแฟ แอลกอฮอล์ กระบวนการแปรรูปอาหาร ยาในกลุ่มซัลฟา และฮอร์โมนเอสโตรเจน
ʕ→ᴥ←ʔ อินโนซิทอลสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันได้
ʕ→ᴥ←ʔ ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผม ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
ʕ→ᴥ←ʔ ช่วยป้องกันผื่นผิวหนังอักเสบเอ็กซีมาอินโนซิทอล
ʕ→ᴥ←ʔ ช่วยปรับการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
ʕ→ᴥ←ʔ ทำให้รู้สึกสงบ ช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล
ʕ→ᴥ←ʔ สามารถช่วยป้องกันมะเร็งบางชนิดได้
ʕ→ᴥ←ʔ ช่วยป้องกันภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ʕ→ᴥ←ʔ ช่วยฟื้นฟูอวัยวะต่าง ๆ ของผู้ป่วยเบาหวานให้ดีขึ้น
ʕ→ᴥ←ʔ อินโนซิทอลขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันยังไม่มีระบุอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้วันละ 500 - 1,000 มิลลิกรัม โดยแบ่งรับประทานเป็นวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า เย็น
ʕ→ᴥ←ʔ มักมีวางจำหน่ายในรูปแบบเลซิทินผงที่ละลายน้ำได้ง่าย และในรูปของวิตามินบีรวมโดยจะมีอินโนซิทอลและโคลีนผสมอยู่ด้วยอย่างละ 100 มิลลิกรัม โดยในรูปของแคปซูลเลซิทินจากถั่วเหลือง 6 เม็ด จะมีอินโนซิทอลและโคลีนอยู่ด้วย อย่างละประมาณ 244 มิลลกิรัม
ʕ→ᴥ←ʔ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานสำหรับอาหารเสริมโดยทั่วไปต่อวันคือประมาณ 500 - 1,000 มิลลิกรัม
ʕ→ᴥ←ʔ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันทั่ว ๆ ไปคือประมาณ 250 - 500 มิลลิกรัม
ʕ→ᴥ←ʔ ควรรับประทานร่วมกับโคลีนและวิตามินบีตัวอื่น ๆ ในรูปของวิตามินบีรวม
ʕ→ᴥ←ʔ สำหรับผู้ที่ชอบดื่มกาแฟ คุณควรรับประทานอินโนซิทอลเสริม
ʕ→ᴥ←ʔ การรับประทานอินโนซิทอลและโคลีนเป็นประจำ จะทำให้วิตามินอีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ʕ→ᴥ←ʔ ผู้ที่รับประทานเลซิทินควรรับประทานธาตุแคลเซียมเสริม เพื่อปรับสมดุลของระดับแคลเซียมและธาตุฟอสฟอรัส เพราะอินโนซิทอลและโคลีนจะไปเพิ่มระดับของฟอสฟอรัสในร่างกาย
หากร่างกายขาดอิโนซิทอล จะส่งผลต่อร่างกายเช่นเดียวกับการขาดโคลีน คือ
ภาวะที่อาจใช้อิโนซิทอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✿ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ (gestational diabetes) การทานอิโนซิทอลประเภทที่เรียกว่า myo-inositol ร่วมกับกรดโฟลิก (folic acid) ระหว่างมีครรภ์อาจช่วยลดโอกาสที่แม่ผู้มีความเสี่ยงจะเกิดโรคเบาหวานระหว่างมีครรภ์ลงได้ 60-92% โดยการใช้อิโนซิทอลปริมาณน้อยและไม่ได้ทานร่วมกับกรดโฟลิกอาจไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความเสี่ยงนี้
✿ ผลข้างเคียงจากลิเทียม (lithium) การทานอิโนซิทอลอาจช่วยบรรเทาอาการจากโรคสะเก็ดเงิน (psoriasis) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากลิเทียม แต่ไม่อาจรักษาผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่ไม่ได้เกิดลิเทียมแต่อย่างใด อีกทั้งอิโนซิทอลก็ไม่ได้ช่วยลดผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่เกิดจากลิเทียมเชานกัน
✿ โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) การทานอิโนซิทอลเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับ alpha-lipoic acid อาจช่วยเพิ่มความทนทานต่ออินซูลิน, ปรับระดับคอเลสเตอรอลกับไตรกลีเซอร์ไรด์, และควบคุมความดันโลหิตของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นโรคนี้ได้
✿ โรคแพนิค (Panic disorder) อิโนซิทอลแสดงให้เห็นศักยภาพในการควบคุมอาการแพนิคและลดความหวาดกลัวสถานที่เปิดโล่งหรือที่สาธารณะ (agoraphobia) ได้ โดยงานวิจัยพบว่าอิโนซิทอลมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาที่ใช้ควบคุมอาการของโรคเหล่านี้ อย่างไรก็ตามก็ยังคงต้องมีการศึกษาทางคลินิคเกี่ยวกับประสิทธิภาพที่แท้จริงของอิโนซิทอลต่ออาการแพนิคเพิ่มเติมอยู่ดี
✿ โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder (OCD) มีหลักฐานว่าผู้ป่วย OCD ที่ได้รับประทานอิโนซิทอลนานกว่า 6 สัปดาห์จะมีอาการของโรคนี้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้อิโนซิทอลก็ไม่อาจช่วยลดอาการของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มที่เรียกว่า selective serotonin reuptake inhibitors ไปแล้ว
✿ โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (ovary disorder known as polycystic ovary syndrome (PCOS) การทานอิโนซิทอล (D-chiro-inositol หรือ myo-inositol) อาจช่วยลดระดับเทสโทสเทอโรนกับไตรกลีเซอร์ไรด์, ลดระดับความดันโลหิตได้ค่อนข้างมาก, และเพิ่มการทำงานของรังไข่ของสตรีที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ โดย Myo-inositol อาจมีประสิทธิภาพเท่ากับยา metformin ซึ่งงานวิจัยบางชิ้นยังได้แสดงให้เห็นว่าการทานอิโนซิทอลสองประเภทร่วมกันจะช่วยให้การตกไข่เป็นไปได้ดีขึ้นกว่าการทานแค่ D-chiro-inositol เพียงอย่างเดียว อีกทั้งการใช้ร่วมกับยาควบคุมความดันโลหิต, น้ำตาลในเลือด, และระดับอินซูลินจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าการทาน myo-inositol เพียงอย่างเดียว
✿ ปัญหาการหายใจของเด็กที่คลอดก่อนกำหนด (acute respiratory distress syndrome) การให้อิโนซิทอลทางเส้นเลือด (intravenously (by IV)) กับเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดที่ปัญหาระบบหายใจจะช่วยให้พวกเขามีการหายใจที่ดีขึ้น อีกทั้งการให้อิโนซิทอลแบบรับประทานหรือทางเส้นเลือดแก่ทารกกลุ่มนี้ก็อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต, ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะที่ทำให้ตาบอด, หรือความเสี่ยงที่จะเลือดออกในสมองได้ด้วย