สารสกัดหญ้าหางม้าเค้าว่ามีส่วนช่วยในเรื่องผมร่วง หัวล้าน จริงหรือไม่? เป็นสมุนไพรที่ส่งตรงมาจากยุคดึกดำบรรพ์ มันดึกดำบรรพ์ตามชื่อจริงๆนะครับไม่ใช่ฉายาหรืออะไร เพราะนักวิทยาศาสตร์พบ ว่าพืชกลุ่มนี้นั้นมีมาตั้งแต่ 350 ล้านปีก่อนเลยทีเดียว แล้วหญ้าตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์นี้มันมามีส่วนเกี่ยวข้องยังไงล่ะ หญ้าหางม้านี้ได้ถูกนำมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องของทางเดินปัสสาวะมาอย่าง ยาวนานแล้ว และในปัจจุบันก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาผมร่วงด้วย ทั้งนี้เพราะในหญ้าหางม้านั้นมีซิลิกา(Silica) สูงจึงถูกนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์หลากลหลายชนิดที่ช่วยซ่อมแซมและกระตุ้นให้ผม งอกใหม่ และหญ้าหางม้ายังเป็นส่วนประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์ที่ดูแลในเรื่องของหัวล้านอีกด้วย
สารสกัดจากหางม้า Horsetails extract สกัดได้จากพืชที่มีชื่อสามัญว่า horsetails เป็นพืชในตระกูลเฟิร์น สามารถสูงได้ถึง 90 ฟุต ที่เราเรียก “หญ้าหางม้า” ก็เพราะว่าลำต้นมันคล้ายๆกับหางของม้านั่นเอง และยังเป็นกลุ่มเฟิร์นโบราณที่มีเมล็ด จากซากฟอสซิล ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า พืชในกลุ่มนี้มีมาแล้วตั้งแต่ 350 ล้านปีก่อน สารที่ได้จากจากการสกัดหญ้าหางม้า เรียกว่า Equisetum Arvense มีประโยชน์ต่อเส้นผมอย่างมาก และยังเป็นสารสกัดจากพืชที่มีความปลอดภัยสูงต่อร่างกายคนเราอีกด้วย หญ้าหางม้าจึงป้องกันผมร่วงได้จริงจากแร่ธาตุ-สารอาหารของมัน หญ้าหางม้าไม่เพียงแต่ใช้สำหรับป้องกันผมร่วงเท่านั้น แต่เดิมแพทย์แผนโบราณใช้หญ้าหางม้าสำหรับรักษาอาการบวมน้ำ ป้องกันนิ่วไต บำรุงไต ป้องกันนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และป้องกันการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังใช้ในการรักษาวัณโรค, โรคข้อ, โรคข้อเข่าเสื่อม, กระดูกอ่อนแอ (โรคกระดูกพรุน), โรคเกาต์ อีกด้วย
✿ ช่วยบำรุงรากผมให้แข็งแรง ให้ความชุ่มชื่นและปรับสภาพเส้นผมนุ่มสลวยเป็นเงางาม
✿ สารสกัดจาก หญ้าหางม้า นำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะเป็นแหล่งสะสมซิลิกาและแคลเซียมที่ดี มีประโยชน์ในด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมทั้งยังส่งเสริมในด้านการทำงานของ
เซลล์ให้มีประสิทธิภาพที่ดี
✿ มันอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ
✿ สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และยังเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเกาต์
✿ สารสกัด จาก หญ้าหางม้า ประกอบไปด้วยซิลิกา ที่ช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และมันยังส่งเสริมการดูดซึมของแคลเซียม ใช้ในการรักษาความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น
โรคไขข้อ และกระดูกพรุน
✿ การใช้สารสกัดจากหญ้าหางม้า ยังเป็นยา สมุนไพร ที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมในการเจริญและสร้างความแข็งแรงของผม เหมาะกับผู้ที่ผมร่วงหรือต้องการจะปลูกผม เพราะเนื่องจากมี Amino Acid และ phytosterols ซึ่ง จะสร้างความแข็งแรงให้กับรูขุมขน นอกจากนี้ยังเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหนังศีรษะ กระตุ้นรูขุมขน และลดการผลิตไขมันหรือน้ำมันในหนังศีรษะ ซึ่ง ส่งผลให้ผมมัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ
✿ สารสกัดจาก หญ้าหางม้า ยังช่วยฟื้นฟูผิว ทำให้ผิวมีสุขภาพดีอีกด้วย
สารเคมีของหญ้าหางม้าอาจจะมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ พืชที่มีสายพันธุ์เกี่ยวข้องกับหญ้าหางม้านั้นอาจจะมีสารเคมีที่ออกฤทธิ์คล้ายยาขับปัสสาวะและเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าหญ้าหางม้านั้นให้ผลเดียวกันหรือไม่
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้หญ้าหางม้า ⚡
โปรดปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหาก
✿ คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
✿ หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เองโดยไม่มีใบสั่งแพทย์
✿ หากคุณแพ้สารใดๆ ในหญ้าหางม้า หรือยาอื่น หรือสมุนไพรอื่นๆ
✿ หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
✿ หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทอื่นๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์
✿ กฏข้อบังคับในการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรนั้นเข้มงวดน้อยกว่ากฏข้อบังคับในการใช้ยา ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาความปลอดภัยของอาหารเสริมนี้ ประโยชน์ในการใช้หญ้าหางม้าจะต้องมากกว่าความเสี่ยงก่อนใช้ยา โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
หญ้าหางม้านั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน
ความปลอดภัยของหญ้าหางม้า
เนื่องจากหญ้าหางม้านั้นมีร่องรอยของสารนิโคติน จึงไม่แนะนำให้เด็กเล็กใช้สมุนไพรนี้
ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้หญ้าหางม้าขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้
แต่ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะระบุได้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน อาการและตัวยาที่อาจมีปฏิกิริยากับหญ้าหางม้า ได้แก่
ʕ·ᴥ·ʔ ลิเธียม
หญ้าหางม้าอาจมีฤทธิ์เหมือนยาขับปัสสาวะ การใช้หญ้าหางม้าอาจลดประสิทธิภาพของร่างกายในการกำจัดลิเธียม ซึ่งการเพิ่มปริมาณลิเธียมในร่างกายอาจตามด้วยผลข้างเคียงร้ายแรง ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนนำสมุนไพรนี้มาใช้หากท่านกำลังใช้ลิเธียม ปริมาณการใช้ลิเธียมของท่านอาจต้องปรับเปลี่ยน
ʕ·ᴥ·ʔ แอลกอฮอล์
ผู้ที่ดื่มสุราอย่างต่อเนื่องอาจมีระดับวิตามินบี1 น้อย และเพราะหญ้าหางม้าก็อาจทำให้ระดับวิตามินบี1 ต่ำได้เช่นกัน ไม่ควรใช้หญ้าหางม้าหากท่านเป็นผู้ที่ดื่มสุราจัด
ʕ·ᴥ·ʔ แผ่นแปะนิโคตินหรือหมากฝรั่ง
หญ้าหางม้ามีนิโคตินอยู่บ้างและไม่ควรนำมาใช้ หากท่านกำลังใช้แผ่นแปะนิโคตินหรือหมากฝรั่ง
ʕ·ᴥ·ʔ ยาขับปัสสาวะ
หญ้าหางม้าอาจมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ซึ่งแปลว่ามันช่วยให้ร่างกายขับของเหลวส่วนเกินออกไป ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะไม่ควรใช้หญ้าหางม้าเพราะอาจมีความเสี่ยงในการขาดน้ำ หรือระดับโพแทสเซียมต่ำ
ʕ·ᴥ·ʔ ติดเหล้า
โดยทั่วไป ผู้ที่ติดเหล้าจะขาวิตามินบี1 การใช้หญ้าหางม้าอาจทำให้การขาดวิตามินบี1 แย่ลง
ʕ·ᴥ·ʔ โรคเบาหวาน
หญ้าหางม้าอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน สังเกตสัญญาณเตือนของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวังหากท่านเป็นเบาหวานและใช้หญ้าหางม้า