หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

สารสกัดส้มแขก    

สมุนไพรส้มแขก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ อีก เช่น ชะมวงช้าง, ส้มควาย (ตรัง), อาแซกะลูโก (ยะลา), ส้มพะงุน (ปัตตานี), ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้) เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา ซึ่งในบ้านเรานิยมปลูกมากในทางภาคใต้

ส้มแขก สามารถหาซื้อได้มากแถวภาคใต้ตอนล่าง ถ้าคุณมีโอกาสก็ลองไปเดินแถวตลาดนัด เขาจะขายกันแบบฝานเป็นชิ้นบาง ๆ เป็น ส้มแขกตากแห้ง โดยนำไปตากแห้งจนมีสีหมองดำ ๆ หมองคล้ำ ซึ่งสามารถเก็บเอาไว้ใช้ได้นานหลายเดือน โดยวิธีการนำไปใช้ก็ง่ายมาก ๆ เพียงแค่นำไปล้างน้ำให้สะอาดก็ใส่ลงไปในหม้อได้เลย เพียงไม่กี่กลีบก็จะช่วยเพิ่มรสเปรี้ยวแบบนุ่ม ๆ พร้อมให้กลิ่นหอมชวนน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น หรือจะนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้เช่นกัน

 

     ส้มแขก มีสารสำคัญที่มีชื่อว่า Hydroxycitric Acid หรือเรียกสั้น ๆว่า "HCA" ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งเอนไซม์ในกระบวนการสร้างไขมันจากการบริโภคอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง นอกจากนี้ยังมีกรดอินทรีย์อื่น ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น กรดซิตริก (Citric Acid), กรดโดคีคาโนอิค (Dodecanoic Acid), กรดออกตาดีคาโนอิค (Octadecanoic acid) และกรดเพนตาดีคาโนอิค (Pentadecanoic acid)

     ในปัจจุบันส้มแขกได้มีการนำไปสกัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน หลายรูปแบบ เช่น แบบผง แบบเม็ด ชาส้มแขก ส้มแขกแคปซูล โดยจะมีขนาดตั้งแต่ 300-600 มิลลิกรัม และจะมีเนื้อส้มแขกประมาณ 250-500 มิลลิกรัม และมีปริมาณ HCA ประมาณ 60-70% โดยจะแตกต่างกับส้มแขกบดแห้งบรรจุแคปซูลธรรมดาที่ไม่ได้ผ่านการสกัด ซึ่งจะมีปริมาณของ HCA เพียง 30% เท่านั้น โดยวิธีการรับประทาน สารสกัดส้มแขก ให้รับประทานก่อนอาหารประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม (ถ้าเม็ดละ 300 mg. ก็ใช้ 3-4 เม็ด) วันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้ยาดูดซึมได้ดีที่สุด

ประโยชน์ของส้มแขก

  1.        1. ใบแก่นำมาทำเป็นชาได้ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว (ใบแก่)
  2.        2. ใบอ่อนส้มแขกใช้รองนึ่งปลา (ใบอ่อน)
  3.        3. ประโยชน์ส้มแขก ผลสดใช้ทำแกงส้ม
  4.        4. ประโยชน์ของส้มแขก ผลใช้ปรุงรสอาหารด้วยการนำมาผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ เอาเยื่อและเมล็ดออก นำมาตากแห้งแล้วนำมาใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มปลา ต้มเนื้อ แกงส้ม หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน เป็นต้น หรือจะใช้ใบแทนผลก็ให้รสเปรี้ยวได้เช่นกัน (ผล, ใบ)
  5.        5. มีการใช้ใบแก่ของส้มแขกมาผสมกับยางพารา เพื่อใช้ทำปฏิกิริยาให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วขึ้น ด้วยการใช้ใบแก่ประมาณ 2 กิโลกรัมผสมกับน้ำ 10 ลิตรแล้วทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์แล้วค่อยนำมาผสมกับยางพารา (ใบแก่)
  6.        6. ลำต้นส้มแขกแก่ ๆ (อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป) สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้ (ลำต้น)
  7.        7. มีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก

ความปลอดภัยในการบริโภคส้มแขก

     แม้ส้มแขกจะมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะอยู่เสมอ เนื่องจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากผลไม้ชนิดนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับตับได้ นอกจากนั้น ส้มแขกยังก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ ไม่สบายท้อง ปวดศีรษะ เป็นต้น

โดยผู้ที่อยู่ในภาวะต่อไปนี้ควรระมัดระวังในการใช้ส้มแขกเป็นยารักษาโรคเป็นพิเศษ

     สตรีมีครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตร การบริโภคส้มแขกอาจไม่ปลอดภัยต่อร่างกายของผู้ที่อยู่ในกลุ่มนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานในปริมาณมากเพื่อใช้เป็นยารักษาโรค เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่เพียงพอ

     โรคไบโพลาร์ ส้มแขกอาจส่งผลให้ภาวะอารมณ์แปรปรวนจากโรคไบโพลาร์ทรุดหนักลง

     โรคตับ การบริโภคส้มแขกอาจเป็นอันตรายต่อตับ อาจทำให้ตับถูกทำลายมากขึ้นในผู้ป่วยโรคตับ

สารสกัดจากส้มแขกช่วยลดน้ำหนักได้จริงไหม

     ตอนนี้มีการศึกษาในคนถึงผลลัพท์ของสารสกัดจากส้มแขกแล้ว แต่ผลลัพท์ที่ได้ก็ยังยืนยันว่า อาหารเสริมชนิดนี้ช่วยให้เราลดน้ำหนักได้นิดเดียวเท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าผู้หญิงไทยที่เข้าร่วมทดลองที่ได้รับสารสกัดจากส้มแขกเป็นเวลา 2 เดือน สามารถลดน้ำหนักได้มากกว่าอีกกลุ่มที่กินยาหลอกเพียง 0.88 กิโลกรัมเท่านั้น

    ดังนั้น เราควรมองว่าสารสกัดจากส้มแขกเป็น ตัวช่วย เพิ่มการเผาผลาญ มากกว่าที่จะเอามาแทนที่การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย อีกทั้ง ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่พบว่า กลุ่มกินยาหลอกและกลุ่มที่กินสารสกัดจากส้มแขก ไม่มีน้ำหนักและปริมาณไขมันที่ต่างกันเลย หลังจบการทดลองที่ใช้เวลาถึง 12 อาทิตย์ 

ข้อควรระวัง

     จากการศึกษาพบว่า ถ้าเรา (คนสุขภาพดีทั่วไป) ได้รับสารสกัดจากส้มแขก หรือ HCA วันละประมาณ 2,800 มิลลิกรัม ผลข้างเคียงแทบจะไม่มีเลย แต่ผมก็ต้องเตือนไว้นิดหนึ่งว่า อาหารเสริมส่วนใหญ่ไม่ว่าจะยี่ห้อดังแค่ไหน ก็ยังไม่ได้มีการตรวจคุณภาพและส่วนผสมจากองค์การอาหารและยา ดังนั้น ปริมาณ HCA อาจจะน้อยหรือมากกว่าที่เขียนไว้บนฉลากก็ได้ วิธีที่ปลอดภัยที่สุด คือ ซื้อจากบริษัทหรือเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ เช่น iHerb (Link is affiliated) ที่มีรีวิวจากผู้ใช้จริง และสามารถคืนสินค้าหรือเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทได้ ผลข้างเคียงจากผู้ใช้จริงที่พบมากที่สุด มีดังนี้

BACK