หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยหลอดลมอุดกั้น (COPD Nutrition)

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD)  enlightened

     ปอดเป็นอวัยวะสำคัญของระบบทางเดินหายใจ ที่มีหน้าที่หลักในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ของเลือด คือรักษาระดับของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่วนประกอบที่สำคัญของปอดคือ ทางเดินหายใจ (Airway) เป็นส่วนที่อากาศลงไปยังถุงลมปอด เนื้อเยื่อปอด (lung parenchyma) เป็นส่วนที่มีถุงลมปอดและเส้นเลือดปอดมาอยู่รวมกันและมีการแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดขึ้น 

     โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) คือ โรคปอดชนิดเรื้อรังที่ผู้ป่วยจะมีพยาธิสภาพของถุงลมโป่งพองและ/หรือหลอดลมอักเสบเรื้อรังเกิดร่วมกัน สาเหตุหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง  สาเหตุ  ที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD ได้แก่ การสูบบุหรี่ โดยพบว่าสารในควันบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมและเนื้อปอด โดยจะมีเซลล์อักเสบเข้ามาสะสมอยู่ในปอด  และหลั่งสารต่างๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อปอด (protease) ทำให้ถุงลมปอดถูกทำลาย เกิดภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมตีบตัว เนื่องจากมีการอักเสบและบวมของเยื่อบุผิว ทำให้เกิดภาวะหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังตามมา นอกจากบุหรี่แล้ว สาเหตุเสริมอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของโรค COPD ได้แก่ ภาวะมลพิษในอากาศ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และการขาดสารบางชนิดแต่กำเนิดที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ (ส่วนมากพบเฉพาะในชาวตะวันตก) 

การป้องกันหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง  

     อาการแสดงของโรค  มักจะพบในผู้ป่วยสูงอายุที่มีประวัติการสูบบุหรี่มานาน ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก  มีอาการเหนื่อยง่ายขึ้น ไม่สามารถทำกิจการต่างๆ ที่เคยทำได้ โดยอาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยตลอดเวลา เกิดภาวะหายใจวายเรื้อรัง นอกจากนี้เวลาที่ผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ก็อาจเกิดภาวะหายใจวายเฉียบพลันได้ง่าย

การดูแลสุขภาพทั่วไป  

     การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรหมั่นออกกำลังกายเท่าที่พอจะทำไหวอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยด้วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) จำนวน 329 ล้านคนหรือเกือบ 5% ของจำนวนประชากรในปี ค.ศ. 2012 โรคนี้เป็นโรคอันดับที่ 3 ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนจำนวนกว่า 3 ล้านคน จำนวนของผู้เสียชีวิตนั้นคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากอัตราการสูบบุหรี่ที่เพิ่มขึ้นและอายุของประชากรในหลาย ๆ ประเทศ  

การรักษาหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง   

     โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)  ไม่มีการรักษาที่แน่ชัด แต่อาการของโรคสามารถรักษาและชะลอความรุนแรงของโรคได้ โดยเป้าหมายหลักของการจัดการโรคคือ การลดปัจจัยเสี่ยง เช่น การหยุดสูบบุหรี่ แต่บางสาเหตุก็ไม่สามารถแก้ไขได้  เช่น สาเหตุจากพันธุกรรม

วิธีการรักษาประกอบไปด้วย  

  1. 1. การรักษาแบบประคับประคอง  
  2. 2. การให้ยาขยายหลอดลม ซึ่งมีทั้งในรูปแบบกินและพ่น
  3. 3. การให้ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์
  4. 4. การให้ออกซิเจน
  5. 5. การทำกายภาพบำบัด
  6. 6. การผ่าตัดบริเวณของปอดที่มีการโป่งพองมาก

สรุปหัวข้อในการดูแลรักษา

       ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง มักจะมีการระคายเคืองต่อผนังหลอดลมและถุงลม มีเสมหะมากมีการอักเสบเรื้อรัง เป็นผลให้การทำงานของปอดลดลง รู้สึกเหนื่อยง่าย  ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ และสูญเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ คนที่ป่วยด้วยโรคนี้จึงต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์พร้อมรับคำแนะนำในการฝึกวิธีหายใจที่ถูกต้อง การออกกำลังกายเพื่อสร้างความต้านทานโรค รวมถึงการปฏิบัติตัว 

อาหารที่เหมาะแก่ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือผู้ป่วยโรค COPD ควรกินอาหารเพื่อ

       ดังนั้นอาหารทางการแพทย์ มีสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่สมดุล ทั้งโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ ยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการเกือบ 30 ชนิด จึงแนะนำให้ดื่มเสริมในกรณีที่ปรับเปลี่ยนอาหารปกติแล้ว ยังได้สารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งจะแตกต่างจากการรับประทานอาหารเสริมทั่วไป เช่น นม หรือน้ำผลไม้ เพราะมักให้พลังงานน้อยกว่าและให้สารอาหารไม่ครบถ้วน  ส่วนประกอบของอาหารทางการแพทย์มักถูกคัดสรรมาเป็นอย่างดี เช่น คาร์โบไฮเดรตชนิดดูดซึมช้า ใช้น้ำมันที่มีสัดส่วนของไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันรำข้าว และเลือกใช้โปรตีนที่มีค่า PDCAAS* สูง ได้แก่ เวย์ เคซีน หรือโปรตีนถั่วเหลือง อาหารทางการแพทย์ปราศจากแลคโตส ดังนั้น ผู้ที่แพ้แลคโตสจึงสามารถรับประทานได้

เทคนิคการแนะนําอาหารทางการแพทย์   

     อาหารทางการแพทย์ 1 แก้ว ให้พลังงานประมาณข้าวราดแกงครึ่งจานและให้โปรตีนเทียบเท่ากับไข่ขาวประมาณ 3 ฟอง หาก รับประทานอาหารได้ครึ่งหนึ่งอาจจะแนะนำดื่มเสริมมื้อละ 1 แก้ว  หากมีอาการแน่นท้อง แนะนำให้ผสมให้เข้มข้นขึ้นและแบ่งออกเป็นมื้อย่อย ๆ หลาย ๆ มื้อ อาหารทางการแพทย์สูตรมาตรฐานสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยเกือบทุกโรค ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเบาหวานหรือโรคไต ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารเพื่อพิจารณาสูตรที่เหมาะสม   

สรุป : ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือต้องนอนโรงพยาบาล ควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนเพียงพอและเหมาะสม อาหารทางการแพทย์เป็นตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโภชนบำบัดอย่างเพียงพอได้

BACK