แครนเบอรี่ (cranberry) คือ ผลไม้ผลสีแดงสดในตระกูลเบอร์รี่ ซึ่งเป็นไม้พุ่มแคระ ต้นมีลักษณะเป็นเถา ไม่สูง มีดอกสีขาว ผลสีแดง รสชาติเปรี้ยวอมหวาน โดยหลักๆ เป็นผลไม้ที่มีวิตามิน c สูง คุณสมบัติเบื้องต้นคือ ช่วยสร้างภูมิต้านทาน หนึ่งในผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่ได้รับความนิยมนำมาสกัดเพื่อทำเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพก็คือ แครนเบอร์รี่ บทความนี้จะได้ทำความรู้จักกับ แครนเบอร์รี่
✿ ช่วยป้องกันโรคเหงือก
✿ ช่วยรักษาแผลในช่องท้อง
✿ ช่วยรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ติดเชื้อในท่อปัสสาวะ ขจัดกลิ่นปัสสาวะได้ดี (บ้างว่าใช้แก้อาการปวดปัสสาวะแบบกระปริบกระปอยได้ด้วย)
✿ ช่วยรักษาและป้องกันโรคที่มาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ระบุว่า การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่วันละ 30 ml. จะช่วยลดจำนวนของแบคทีเรียในปัสสาวะลง และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะได้ดี เพราะผลไม้ชนิดนี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
✿ ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอีโคไล (E.coli)[2] โดยมีรายงานว่าผู้หญิงที่ได้รับสารสกัดจากแครนเบอร์รี่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยยับยั้งการยึดเกาะตัวของเชื้ออีโคไลได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.0001) เมื่อเทียบกับหญิงที่ไม่ได้รับสารสกัดจากผลแครนเบอร์รี่
✿ ด้วยความเป็นกรดอ่อน ๆ ของผลแครนเบอร์รี่ จึงสามารถช่วยยับยั้ง ป้องกัน และรักษาการเกิดนิ่วในไตได้[2],[3] การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ 500 มิลลิกรัม แล้วดื่มน้ำตาลอีก 1,500 มิลลิลิตร สามารถช่วยป้องกันการตกตะกอนของ Calcium oxalate ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของนิ่วในไตได้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำเปล่าอย่างเดียว
✿ ช่วยทำให้ร่างกายสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติได้หลังเกิดอาการชัก
✿ หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ทั้งนี้เพราะจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องการรับประทานเพราะจะมีผลส่งถึงบุตรในครรภ์ได้
✿ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น มีอาการแพ้ยา โดยเฉพาะแอสไพริน ทั้งนี้เพราะในแครนเบอร์รี่เองก็มีกรดซาลิไซลิก อาจจะแพ้ไปด้วย
✿ คนที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ต้องควบคุมอาหารเช่น โรคเบาหวาน ไม่ควรรับประทานเพราะอาจมีผลต่อน้ำตาลในเลือด
✿ การใช้ยาบางอย่าง จำเป็นต้องควบคุมอาหาร แครนเบอร์รี่อาจต่อต้านยานั้นๆ จึงไม่ควรรับประทานเองโดยพลการ
ทั้งนี้ การผลิตอาหารเสริมนั้น ต้องนำผลแครนเบอร์รี่ไปผ่านกรรมวิธีและอาจมีส่วนผสมอื่นๆ แต่ต้องเลือกแหล่งที่มาและผลิตภัณฑ์ที่เชื่อถือได้ เพื่อประโยชน์สูงสุด ร้านขายยาฉันนำจึงเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง
โรคหัวใจมักเกิิดจากการสะสมของไขมันภายในหลอดเลือดแดง ทำให้เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันและหลอดเลือดภายในอวัยวะต่าง ๆ เกิดความเสียหายจนเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ แครนเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลากชนิด จึงเชื่อว่าการบริโภคแครนเบอร์รี่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจด้วย โดยการศึกษาทดลองในมนุษย์พบว่า น้ำแครนเบอร์รี่หรือสารสกัดจากแครนเบอร์รี่อาจมีประโยชน์กับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL) ลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับความดันโลหิตและลดความแข็งตึงของหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมถึงลดระดับโฮโมซีสเตอีน ซึ่งเป็น 1 ในปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
แม้การศึกษาข้างต้นจะแสดงให้เห็นว่าการบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ และอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ แต่งานค้นคว้าอีกส่วนหนึ่งกลับแสดงผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมในด้านนี้ต่อไป เพื่อยืนยันประสิทธิภาพของแครนเบอร์รี่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความปลอดภัย ปริมาณ และระยะเวลาในการบริโภคที่เหมาะสมก่อนตัดสินใจบริโภคแครนเบอร์รี่เพื่อหวังประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูง หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพใด ๆ
✿ แครนเบอร์รี่กับการบรรเทาอาการไข้หวัด
ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดไม่รุนแรงที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ จมูก ไซนัส คอ ทำให้มีอาการไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล หลายคนเชื่อว่าการรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวอย่างแครนเบอร์รี่ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากไข้หวัดได้ จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่ปริมาณ 450 มิลลิกรัม เป็นประจำทุกวัน อาจช่วยบรรเทาอาการของไข้หวัดได้ เนื่องจากแครนเบอร์รี่ประกอบด้วยสารพอลีฟีนอลและสารโปรแอนโทไซยานิดินที่อาจเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าดังกล่าวเป็นงานทดลองขนาดเล็ก จึงควรศึกษาวิจัยถึงประสิทธิผลที่ชัดเจนของแครนเบอร์รี่ในด้านนี้ต่อไปในอนาคต
✿ แครนเบอร์รี่กับการต้านเชื้อเอชไพโลไร
เชื้อเอชไพโลไรเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร และการติดเชื้อเอชไพโรไลในผู้ป่วยบางรายอาจนำไปสู่โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ในทางการแพทย์คาดว่าแครนเบอร์รี่อาจมีฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไพโลไร โดยมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่เป็นประจำทุกวันช่วยยับยั้งการติดเชื้อเอชไพโลไรในผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดนี้ได้
✿ แครนเบอร์รี่กับการป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้ออีโคไล (E. Coli) ที่เพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งหลายคนเชื่อว่าสารประกอบในแครนเบอร์รี่จะช่วยป้องกันแบคทีเรียเหล่านั้นจากการเกาะตัวตามผนังกระเพาะปัสสาวะจนเกิดการติดเชื้อได้ แต่การศึกษาวิจัยจำนวน 24 ชิ้น ได้ชี้ให้เห็นว่า โดยส่วนใหญ่การบริโภคแครนเบอร์รี่ชนิดเม็ดหรือแคปซูล และน้ำแครนเบอร์รี่ไม่อาจช่วยป้องกันโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ โดยอาจเป็นเพราะสารต่าง ๆ ในแครนเบอร์รี่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ อีกทั้งการบริโภคน้ำแครนเบอร์รี่เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายด้วย
การรับประทานแครนเบอร์รี่ในปริมาณที่พอเหมาะนั้นค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่การดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ปริมาณมาก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการปวดท้องหรือท้องเสียได้เล็กน้อย หรือหากดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ปริมาณมากกว่าวันละ 1 ลิตร ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดนิ่วในไตได้อีกด้วย
✿ หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานแครนเบอร์รี่ เนื่องจากยังมีข้อมูลด้านความปลอดภัยไม่เพียงพอ จึงควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์หรือในช่วงให้นมบุตร
เด็ก การรับประทานหรือดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ในปริมาณที่เหมาะสมนั้นค่อนข้างปลอดภัยสำหรับเด็ก
✿ ผู้ที่แพ้ยาแอสไพริน ห้ามรับประทานหรือดื่มน้ำแครนเบอร์รี่ในปริมาณมาก เนื่องจากแครนเบอร์รี่ประกอบไปด้วยกรดซาลิไซลิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของยาแอสไพริน ทำให้ผู้ที่แพ้ยาแอสไพรินเสี่ยงเกิดอาการแพ้ต่าง ๆ จากการบริโภคแครนเบอร์รี่ได้เช่นกัน
✿ ผู้ที่กำลังใช้ยาวาร์ฟาริน อาจต้องปรับปริมาณยาที่ใช้อยู่และไปตรวจเลือดเป็นประจำ เพราะแครนเบอร์รี่อาจขยายระยะเวลาที่ยาวาร์ฟารินอยู่ในร่างกาย และทำให้เกิดแผลฟกช้ำหรือมีเลือดออกได้ง่าย
✿ ผู้ป่วยเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ และผู้ที่มีกรดในกระเพาะต่ำ เพราะแครนเบอร์รี่อาจกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี12 เพิ่มมากขึ้น หากร่างกายมีวิตามินบี12 มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น มีผื่นคัน คลื่นไส้ ท้องเสีย ความดันโลหิตต่ำ เป็นต้น
✿ ผู้ป่วยนิ่วในไต รวมถึงผู้ที่เคยเป็นนิ่วในไต ไม่ควรดื่มน้ำแครนเบอร์รี่หรือบริโภคสารสกัดจากแครนเบอร์รี่ในปริมาณมาก เนื่องจากแครนเบอร์รี่มีสารออกซาเลต (Oxalate) ซึ่งเมื่อสารนี้จับตัวกับแคลเซียม อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดนิ่วในไตได้
✿ ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำแครนเบอร์รี่บางชนิดมีส่วนผสมของน้ำตาลปริมาณมาก จึงควรเลือกน้ำแครนเบอร์รี่ที่มีน้ำตาลน้อย หรือมีสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล