โครเมี่ยม-พิโคลิเนต (Chromium picolinate) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็น และร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส หรือคาร์โบไฮเดรต และไขมันในร่างกาย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลินในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง
จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับ คลอเลสเตอรอล ในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอล ชนิดดี และ ลดระดับ คลอเรสเตอรอล ทั้งหมด
ในผู้ป่วยโรค เบาหวาน แบบที่ 2 โครเมียมมีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ในงานวิจัยพบว่าอินซูลินที่หลั่งจากตับอ่อนจะมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาล ในเลือด แต่ปัญหาคือเซลร่างกายผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose tolerance factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโน อีกหลายชนิดจะไปช่วยกระตุ้นให้เซลร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้ระดับน้ำตาลเข้าสู่ระดับปกติ มีการทดลองซึ่งเป็นการทดลองแบบที่ทั้งผู้ทดสอบและผู้ถูกทดสอบจะไม่มีใครทราบ เลยว่าได้ยาที่มีส่วนผสมของ โครเมียม หรือไม่มี เพื่อตัดตัวแปรด้านความรู้สึกของผู้เข้าการทดลองที่อาจะมีผลต่อการวัดผลใน ประสิทธิภาพของ โครเมียม ซึ่งผลการทดลองสนับสนุนสรรพคุณด้านการลดน้ำตาลในเลือดของ โครเมียม
เนื่อง จาก โครเมียม ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยในการทำให้ glucose tolerance ดีขึ้น ดังนั้นการได้รับ โครเมียม จึงมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรค เบาหวาน ชนิดที่ 2 คนที่มีอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็มีอาการดีขึ้น เมื่อได้รับ โครเมียม 200 ไมโครกรัมต่อวัน
มีเพียง โครเมียมพิกโคลิเนต ที่แสดงผลในเรื่องนี้คือมันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียม จำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)
นอกจากนี้ จากผลการทดลองดังกล่าวจึงมีการใช้ โครเมียมพิกโคลิเนต ในกลุ่มผู้รักการออกกำลังกายเพื่อที่จะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และลดไขมันในร่างกาย เมื่อรับประทาน โครเมียมพิกโคลิเนต ร่วมกับการออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ
แหล่งที่พบโครเมี่ยม-พิโคลิเนต
แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast) นอกจากนั้นก็ยังพบใน เมล็ดธัญพืช และ ซีเรียล ซึ่งปรกติจะถูกทำลายไปในระหว่างกระบวนการผลิต เบียร์บางยี่ห้อก็อาจจะมี โครเมียม ในปริมาณมาก
เนื่อง จากคนทั่วไปได้รับ โครเมียม ในปริมาณที่ต่ำกว่าที่ US RDA ได้แนะนำไว้คือ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน และ ประมาณ 3 % ของ โครเมียม ในอาหารที่จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย คนทั่วไปควรได้รับ โครเมียม เป็นอาหารเสริม การที่รับประทานอาหารประเภทน้ำตาล และอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตในปริมาณสูง ก็อาจจะทำให้เกิดการขาด โครเมียม และเร่งให้เกิดโรค เบาหวาน ได้
พบว่า คนในกลุ่มผู้สูงอายุ นักกีฬา และหญิงมีครรภ์ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาด โครเมียม มากที่สุด
เมื่อร่างกายขาด โครเมียม จะมีอาการต่อไปนี้ คือ มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรค เช่น impaired glucose tolerance, glycosuria, อาการระดับน้ำตาลสูงเมื่ออดอาหาร fasting hyperglycemia, ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น และ การทำงานของอินซูลินลดลง (ซึ่งเหล่านี้ล้วนอาการเริ่มต้นของโรคเบาหวาน)
ขนาดที่แนะนำ
ปริมาณ ที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน
อาการข้างเคียง
ใน ปริมาณที่ โครเมียม วางขายทั่วไป (50 – 300 ไมโครกรัมต่อวัน) ไม่พบว่าก่อให้เกิด อาการเป็นพิษต่อร่างกาย (toxicity) อาหารเสริม โครเมียม อาจจะเพิ่ม หรือเข้าไปช่วยการทำงานของยารักษาโรค เบาหวาน (เช่น อินซูลิน หรือยาลดน้ำตาลอื่นๆ) และอาจทำให้เกิดอาการระดับน้ำตาลต่ำได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรค เบาหวาน จึงควรปรึกษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะทานอาหารเสริม โครเมียม
ผลต่ออาหารชนิดอื่นๆ
จากการ ศึกษาพบว่า วิตามินซี เพิ่มการดูดซึมของ โครเมียม จึงได้มีการแนะนำให้รับประทานร่วมกันระหว่าง วิตามินซี และ โครเมียม หรือทานร่วมกับอาหารที่มี วิตามินซี สูงๆ
ผลวิจัยทางคลินิก
จากผลงานวิจัยทางคลินิกของการเสริมโครเมียมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า การได้รับโครเมียม 200 ไมโครกรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยได้ โดยลดระดับน้ำตาล (Fasting blood glucose) และน้ำตาลเฉลี่ย (HbA1C) ในเลือด ทั้งยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ในเลือดได้อีกด้วย (2) ในขณะเดียว เพื่อยืนยันคุณประโยชน์ของโครเมียม ยังมีการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดทั้งที่ 1 และ 2 หลังจากได้รับโครเมียมเป็นอาหารเสริมแล้วพบว่า กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้สามารถควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ (Hyperglycemia) และจากผลการติดตามพบว่า มีการลดปริมาณการใช้ยาในผู้ป่วยบางรายด้วย
วิธีการรับประทาน 1เม็ดต่อวันหรือต่อมื้ออาหาร ตามจำนวนมิลลิกรัม และภาวะน้ำตาลในร่างกายของแต่ละบุคคล และต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรในการเลือกใช้ และขนาดที่เหมาะสม
ข้อระวังในการใช้
❀ ผู้ป่วยโรค เบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการรับประทาน เนื่องจาก โครเมียม อาจจะไปมีผลทำให้ความต้องการอินซูลินหรือยาลดน้ำตาลในเลือดลดน้อยลงได้
❀ อย่ารับประทานพร้อมๆ กับแคลเซียมคาร์บอเนต หรือยาลดกรดต่างๆในเวลาเดียวกันเพราะมันอาจจะไปรบกวนการดูดซึมของโรคเมีย มได้
❀ การรับประทาน โครเมียม ในปริมาณสูงๆ อาจจะไปรบกวนการดูดซึม สังกะสี (Zinc) ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มปริมาณการรับประทาน สังกะสี ให้เพิ่มมากขึ้นแทน