หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

รถเข็นผู้ป่วย (Wheel Chair) 

          เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้ผู้พิการหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ทั้งยังอำนวยความสะดวกและลดข้อจำกัดในการทำสิ่งต่าง ๆ การเลือกวีลแชร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างเหมาะสมจึงไม่เพียงแต่จะช่วยให้ไปไหนมาไหนสะดวก แต่ยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยเปิดโอกาสสู่โลกการศึกษา การทำงาน และการเข้าสังคมให้ราบรื่นยิ่งขึ้น  การเลือกใช้วีลแชร์ที่เหมาะสมกับตนเองและการใช้อย่างถูกวิธีจะช่วยลดการเกิดแผลกดทับ การนั่งผิดท่า การยึดตัวของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการนั่งวีลแชร์เป็นเวลานาน

รถเข็นผู้ป่วยจำเป็นต่อใครบ้างenlightened

             รถเข็นผู้ป่วยหรือวีลแชร์ เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์มักแนะนำให้ใช้ โดยเฉพาะผู้พิการและผู้ป่วยที่ไม่อาจเดินได้ตามปกติ เนื่องจากรถเข็นผู้ป่วยจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคน ก็มีความต้องการใช้และความจำเป็นที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าต้องเคลื่อนที่มากน้อยแค่ไหน เช่น ผู้ป่วยที่กระดูกหัก มักใช้วีลแชร์เพียงในช่วงเวลาสั้น ๆ จนกว่าจะสามารถกลับมาเดินได้ดังเดิม ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตหรือพิการ อาจต้องใช้รถเข็นผู้ป่วยไปตลอดชีวิต ซึ่งโดยทั่วไป รถเข็นผู้ป่วยมักใช้กับผู้ที่มีภาวะเหล่านี้

 

รถเข็นผู้ป่วย แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

         รถเข็นผู้ป่วย แม้จะมีจุดประสงค์ในการช่วยผู้ป่วยเคลื่อนไหวมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.รถเข็นผู้ป่วยแบบขับเคลื่อนด้วยแรงคน (Manual Wheelchair) รถเข็นผู้ป่วยประเภทนี้ จะเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวผู้ใช้งานโดยใช้มือและแขนหมุนที่ล้อ สามารถแบ่งออกได้อีก 2 แบบ คือ

2.รถเข็นผู้ป่วยแบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องกล (Electric Wheelchair) ทำงานโดยใช้เครื่องยนต์และแบตเตอรี่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุทุกประเภท เพราะสามารถเคลื่อนที่เองได้ด้วยการใช้แผงควบคุมหรือ joystick จึงเหมาะกับทั้งผู้ที่มีกำลังแขนและไม่มีกำลังแขน และยังสามารถใช้เข็นแบบ manual ได้อีกด้วย ช่วยให้สะดวกสบายกว่าแบบอื่น ๆ

 

วิธีเลือกซื้อรถเข็นผู้ป่วย

         หากต้องการซื้อรถเข็นผู้ป่วยสักคัน หลายคนก็อยากได้รถเข็นที่คุ้มค่าที่เสียเงินไปใช่ไหมล่ะคะ แต่จะคำนึงถึงเรื่องของราคาอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้ใช้งานด้วยนะคะ โดยดูวีลแชร์ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. คำนึงถึงผู้ใช้งาน เลือกแบบที่มีขนาดพอดีตัวผู้ใช้แบบที่ไม่ใหญ่หรือไม่เล็กจนเกินไป โดยดูจากช่องว่างข้างลำตัว ควรเหลือประมาณข้างละ 1 นิ้ว อีกทั้งควรคำนึงว่ารถเข็นวีลแชร์สามารถรองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้หรือไม่ นอกจากนี้ หากต้องการให้ผู้ใช้เคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง ควรประเมินสภาพร่างกายของผู้ใช้งานก่อน ว่ากำลังกล้ามเนื้อแขนและมือมากพอหมุนล้อหรือเปล่า
  2. ระดับที่นั่ง สำหรับผู้ต้องการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง ควรดูระดับที่นั่งที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป โดยเมื่อทิ้งแขนลงข้างตัว ให้งอศอกประมาณ 30 – 45 องศา แล้วเอามือวางไว้ที่จุดสูงสุดของล้อ เพื่อลองดูว่าจับล้อถนัดหรือไม่
  3. ที่วางเท้า ควรเลือกที่วางเท้าที่สามารถปรับระดับสูงต่ำได้
  4. เบรกมือ สำหรับใช้เบรกเพื่อกันการลื่นไหลขณะลงเนินหรือทางลาด ควรตรวจสอบว่าเบรกสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่
  5. น้ำหนักและขนาดของตัวรถ แนะนำให้เลือกรถวีลแชร์ที่มีน้ำหนักเบา เพราะจะทำให้คล่องตัวเวลาใช้งานและเคลื่อนย้าย โดยขนาดของตัวรถทั้งตอนกางและตอนพับ ต้องไม่ใหญ่จนเกินไป
  6. การใช้งาน สำหรับผู้ที่ต้องเดินทาง หรือออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ แนะนำให้เลือกซื้อวีลแชร์ที่พับได้ เพื่อให้สะดวกต่อการพกพาออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านหรือท่องเที่ยว หากผู้ใช้ไม่ได้ออกนอกบ้านบ่อย ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อแบบพับได้ก็ได้
  7. ความแข็งแรง ตรวจสอบว่าตัวรถมีความมั่นคงและแข็งแรงหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ล้มหรือหงายหลังได้ง่าย ๆ ขณะใช้งาน
  8. การรับประกัน ควรเลือกซื้อวีลแชร์จากร้านที่มีมาตรฐาน มีการรับประกัน และมีบริการหลังการขาย เพื่อให้แน่ใจว่า เมื่อเสียหายสามารถเคลมหรือส่งซ่อมสินค้าได้

 

วิธีการใช้งานรถเข็นไฟฟ้าyes​​​​​​​


          ในเบื้องต้นผู้ใช้งานควรฝึกทักษะการเข็นและบังคับรถเข็นผู้ป่วยตามคู่มือการใช้ และอาจขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนในการนั่งหรือลุกขึ้นจากรถเข็นผู้ป่วย และการเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น พื้นต่างระดับ พื้นขรุขระ พื้นทราย ขอบทาง ทางโค้ง ที่แคบ เป็นต้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสภาพแวดล้อมและสถานการณ์

โดยทักษะการใช้รถเข็นผู้ป่วยที่ถูกต้อง มีดังนี้

BACK