หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

กรดไหลย้อน (GERD) 

มารู้จัก “โรคกรดไหลย้อน” กันเถอะ enlightened

 
     โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ส่วนหนึ่งก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวัน และหนึ่งในนั้นก็คือ “โรคกรดไหลย้อน” ในปัจจุบันเราจะได้ยินผู้คนพูดถึงโรคนี้กันบ่อยมากขึ้น ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะ โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก และไม่ว่าใครก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ 


     โรคกรดไหลย้อน ในทางการแพทย์ เรียกว่า Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แม้แต่เด็กๆ ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ จัดเป็นโรคทางเดินอาหารชนิดหนึ่ง กรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก เรอเปรี้ยวบ่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย 

 สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน  yes

ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร : ที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำ หรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ ความผิดปกติเหล่านี้อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคหอบหืดบางตัว 


 ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร : ทำให้อาหารที่รับประทานลงช้า หรือ อาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ 


 ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร : ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง 


 พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต  เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ความเครียด


 โรคอ้วน : ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ


 การตั้งครรภ์ : เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูด


 
อาการของโรคกรดไหลย้อน yes

 
     โรคกรดไหลย้อนนั้นมีหลายอาการที่แสดงออกมา อาการที่เด่นชัดของโรคนี้ คือ อาการแสบร้อนกลางอก มีอาการ เรอเปรี้ยวบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่ แต่ก็มีไม่น้อยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการที่ไม่เด่นชัดหลายๆ อาการที่แตกต่างกันไป ได้แก่


     1. มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอและมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาใน ปาก จนทำให้เกิดพยาธิสภาพในหลอดอาหารขึ้น ได้แก่ หลอดอาหารอักเสบมีเลือดออกจากหลอดอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก


     2. ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร


     3. เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมบ่อยๆ


     4. หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดกล่อง เสียงอักเสบ


     5. ในเด็กเล็ก อาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หืดหอบในเวลากลางคืน ปอดอักเสบเรื้อรัง ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาการหยุดหายใจขณะหลับ

 

 ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อน 

ภาวะน้ำหนักเกิน 


 พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการนอน อย่างการรับประทานเสร็จแล้วนอนทันที 


 พฤติกรรมการบริโภคปริมาณมากในแต่ละมื้อ หรือการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น อาหารทอด หรือ อาหารที่มีไขมันสูง 

 การรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาวบ่อยๆ 


 การดื่มเครื่องดื่มบางประเภท เช่น แอลกฮอล์ กาแฟ หรือน้ำอัดลม 


 การสูบบุหรี่ 


 การตั้งครรภ์เพราะระดับฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งส่งผลต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้ 

 


วิธีลดภาวะกรดไหลย้อน yes

 
  นอกจากการใช้ยาแล้วยังมีวิธีอื่นที่จะใช้ลดอาการที่เกิดจากภาวะไหลย้อนได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

 
     1. รับประทานอาหารในปริมาณครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยขึ้น

     
     2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนเข้านอน 2 – 3 ชั่วโมง

     
     3. นอนให้ศีรษะสูง 6 – 8 นิ้ว โดยใช้ท่อนไม้รองพื้นเตียงบริเวณด้านหัวเตียงที่ศีรษะนอนทับ การใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้นจะไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากทำให้ลำตัวพับงอ

     
     4. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มช็อกโกแลต กาแฟ อาหารที่มีไขมันหรือกรดสูง น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

     
     5. หากอาการไม่รุนแรงนัก การออกกำลังกายโดยการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องจะช่วยให้การบีบรัดของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น 

 

  วิธีสุดท้ายที่จะใช้ในการรักษา คือ การผ่าตัด ซึ่งเป็นการแก้ไขทางกายภาพที่บริเวณหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเพื่อเพิ่มแรงกดดันที่บริเวณส่วนล่างของหลอดอาหาร ทำให้ลดภาวะไหลย้อนกลับลง


นิสัยส่วนตัว


 พยายามอย่าให้เครียด และงดการสูบบุหรี่


 หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่คับ หรือรัดแน่น โดยเฉพาะบริเวณรอบเอว


 พยายามลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน


 ถ้ามีอาการท้องผูก ควรรักษาและหลีกเลี่ยงการเบ่ง


นิสัยในการรับประทานอาหาร


 หลังรับประทานอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย การยกของหนัก การเอี้ยวหรือก้มตัวในทันที ควรเว้น ระยะห่างอย่างน้อย 3 ชั่วโมง


 รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก พืชผักบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ และอาหารฟาสต์ฟู้ด


 หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม peppermints เนย ไข่ นมหรืออาหารที่มีรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยว จัด เค็มจัด หวานจัด กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์


 รับประทานอาหารปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มแน่นท้องมาก

นิสัยการนอน


 ไม่ควรนอนหลังการรับประทานอาหารทันที หรืออย่างน้อยควรเว้นระยะห่าง 3 ชั่วโมง


 เวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ

ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน

     ภาวะกรดไหลย้อนมักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากฤทธิ์ของกรดได้สร้างความระคายเคืองแก่หลอด อาหารไปถึงอวัยวะบริเวณทางเดินหายใจ ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก รู้สึกเจ็บ หรือมีเลือดออกในหลอดอาหาร รวมทั้งอาจเกิด ภาวะหลอดอาหารตีบตัน อาจกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืด ไอเรื้อรัง อีกทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์บริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบันยังคงพบได้น้อยราย


เอกสารอ้างอิง 

• Rakel, David. Integrative Medicine E-Book (Kindle Locations 26725-26727). Elsevier Health 
Sciences. Kindle Edition. 
• คณะแพทย์ศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: 
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/sso/2555/health/120-gerd.html 
• LifeExtension. Disease Prevention and Treatment, chapter 62: Gastro esophageal Reflux หน้า 649 

 

BACK