หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

หมอนป้องกันแผลกดทับ (Anti-Bedsore Pillow) 

     หมอนป้องกันแผลกดทับหรือหมอนรองแผลกดทับ ดีไซด์ให้มีด้านบางสามารถสอดเข้าใต้ร่างกายได้อย่างกระชับ  และมีด้านหนาเพื่อยกในตำแหน่งนั้นให้สูงขึ้น  จึงมีรูปทรงคล้ายลิ่ม  ผู้ป่วยสามารปล่อยน้ำหนักตัวลงบนหมอนในท่านอนสบายได้  โดยไม่ต้องเกร็งตัวหรือมีผู้ดูแลคอยจับประคองตัวตลอดเวลา

 

ลักษณะของหมอนป้องกันแผลกดทับ enlightened

 

วิธีการใช้งานและข้อแนะนำ enlightened

 

ประโยชน์ของหมอนป้องกันแผลกดทับ 

» สำหรับผู้ป่วยนอนติดที่ หมอนเป็นอุปกรณ์เสริมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ

» สำหรับผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับแล้ว ในระหว่างวันควรจัดท่านอนให้ตำแหน่งช่องแผลอยู่ตรงกับช่องว่างส่วนเว้าด้านแบนของหมอน และสามารถเป่าลมผ่านช่องอุโมงค์ใต้หมอนได้

» สำหรับคนทั่วไป ใช้หนุนนอนในท่าผงกศรีษะ สำหรับนอนเล่นพักผ่อน ในวันสบายๆ

หมอนป้องกันแผลกดทับมีี 2 รุ่นคือ 

  1. 1. รุ่นหนา 6 นิ้ว

» เหมาะสำหรับท่านอน

» มีขนาด 15 x 15 x 6 นิ้ว

  1. 2. รุ่นหนา 3 นิ้วนิ้ว

» เหมาะสำหรับวางลงบนรถเข็น (wheelchair) โดยให้ด้านหนาของหมอนอยู่ตรงกับขอบของที่นั่งรถเข็น ส่วนด้านบางอยู่ด้านในเพื่อให้ผู้ป่วยนั่งทับ ทั้งนี้ความสูงของหมอนยังช่วยกั้นการเลื่อนไถลตัวของผู้ป่วยลงมาอีกด้วย

» มีขนาด 15 x 15 x 3 นิ้ว

อันตรายที่เกิดจากการเป็นแผลกดทับ ⚡

     แผลกดทับ เป็นภัยร้ายที่สร้างความเจ็บป่วยและเสียชีวิตให้กับผู้ป่วยมามากมาย ซึ่งมักเกิดกับผู้ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่า แผลกดทับจะเกิดกับผู้ป่วยติดเตียง แต่แท้จริงแล้ว ผู้ป่วยที่ต้องนั่งรถเข็นวีลแชร์ ก็เสี่ยงเป็นแผลกดทับได้เช่นกัน ซึ่งในทางการแพทย์ก็ได้มีอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย ที่เรียกว่า เบาะรองนั่งกันแผลกดทับ หรือ หมอนรองแผลกดทับ ให้ผู้ป่วยใช้รองนั่งในขณะที่ใช้รถเข็น ซึ่งใช้แล้วช่วยเรื่องแผลกดทับได้อย่างไรนั้น

คำแนะนำและข้อควรระวัง ⚡

วางหมอนลงบนวีลแชร์ โดยให้นำด้านหนาของหมอนอยู่ตรงกับขอบที่นั่งของวีลแชร์ ส่วนด้านบางอยู่ด้านในให้ผู้ป่วยนั่งทับ ความสูงของหมอนจะช่วยกั้นการเลื่อนไถลตัวของผู้ป่วยลงมา

✿ ช่องว่างรูปเว้าโค้งด้านบนและช่องอุโมงค์ด้านล่างของหมอน จะช่วยการระบายความร้อนและความอับชื้น ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ

✿ ควรพิจารณาระยะเวลาในการใช้หมอนกับผู้ป่วยเป็นครั้งคราวแล้วแต่กรณีไป

BACK