อะควอมิน Aquamin ผลิตจากสาหร่ายทะเลสีแดง Lithothamnion coralioides ซึ่งเจริญเติบโตบริเวณชายฝั่งที่ปราศจากมลพิษของประเทศไอร์แลนด์ (Ireland) และไอซ์แลนด์ (Iceland) สาหร่ายชนิดนี้ประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด โดยมีแคลเซียมมากที่สุด การที่อะควอมินมีส่วนประกอบของแร่ธาตุหลายชนิด และมีโครงสร้างที่เป็นรูพรุนซึ่งทำให้ย่อยง่าย ผลิตภัณฑ์นี้จึงสามารถใช้เป็นแคลเซียมที่มีค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์สูงได้ การแตกตัวและการดูดซึม เนื่องจากโครงสร้างของ Aquamin เป็นโครงสร้างแบบพืช(แบบรังผึ้ง)และพื้นที่ผิวที่มากกว่าแคลเซี่ยมจากหินปูน ประมาณ 10 เท่า ดีงนั้นน้ำย่อยในลำไส้เล็กซึ่งเป็นกรดอ่อนจึงทำให้เกิดการแตกตัวและดูดซึมในบริเวณลำไส้ใหญ่ได้ดีกว่า แคลเซียมจากหินปูน (Lime Stone)
อะควอมิน Aquamin แหล่งแร่ธาตุที่สำคัญ หลากหลายจากสาหร่ายสีแดง แห่งท้องทะเลขั้วโลกเหนือ Aquamin คือสาหร่ายสีแดงพันธุ์ Lithothamnion sp ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ร่างกาย ต้องการจำนวน 74 ชนิด โดยแร่ธาตุหลัก เป็น แคลเซี่ยม (32 %) และ แมกนีเซี่ยม (2.2%) แหล่งเก็บเกี่ยวของสาหร่ายชนิดนี้อยู่บริเวณ Bíldudalur ประเทศไอซ์แลนด์ ขั้วโลกเหนือซึ่งเป็นทะเลที่สะอาด Aquamin F โดยการนำส่าหร่ายที่ตายแล้ว มาผ่านกระบวนการล้าง บด และ อบแห้ง ดังนั้น จึงไม่สารเคมีในกระบวนการ
สาหร่ายอะควอมิน มีฤทิธิ์ยับยั้งพราราไทรอยด์ฮอร์โมน(PTH)ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นการสลายกระดูก จึงมีผลให้การสลายกระดูกของร่างกายลดลง และอะควอมินยังทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูกให้มีการสะสมแร่ธาตุที่ดีขึ้น ส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรงขึ้น
สำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้มากเพียงพอในแต่ละวัน สามารถทดแทนได้ด้วยการบริโภคอาหารเสริมแคลเซียมที่มีจำหน่ายทั่วไปในราคาแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของแคลเซียมที่นำมาผลิตซึ่งส่วนมากมักจะมาจากหินปูน (Calcium carbonate) เนื่องจากมีราคาถูกและหายได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ระบบและนำไปใช้ได้น้อย โดยดูดซึมได้เพียง 20%-30% ในขณะที่แคลเซียมที่ได้มาจากแหล่งธรรมชาติจำพวกเนื้อ นมหรือผัก มีเปอร์เซ็นต์การถูกดูดซึมได้ดีกว่าคือมากถึง 50% จากจุดนี้จะเห็นได้ว่าเราไม่สามารถดูปริมาณที่ร่างกายได้รับแคลเซียมจากปริมาณที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นด้วย เช่นแหล่งที่มาของแคลเซียม ซึ่งแคลเซียมจากแหล่งธรรมชาติจะมีราคาสูงกว่าแคลเซียมจากหินปูนหลายเท่าตัวเนื่องจากพีชที่มีคุณสมบัติสะสมแคลเซียมไว้เป็นจำนวนมากพอที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบได้นั้นมีจำกัด
อะควอมิน (Aquamin) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lithothamnium sp. เป็นสาหร่ายที่มีการสะสมแร่ธาตุต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก และให้ปริมาณแร่ธาตุอย่างสมดุล จากการศึกษาพบว่าแคลเซียมจากสาหร่ายอะควอมีนถูกดูดซึมได้ดีกว่าแคลเซียมจากแหล่งอื่น และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ แคลเซียมจากอะควอมินเป็นแคลเซียมเพียงชนิดเดียวที่มีการศึกษาพบว่าสามารถเพิ่มมวลกระดูก (BMD) ทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังมีฤทธิ์ลดการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมได้อีกด้วย
✿ 20-30% ของแคลเซี่ยมจะถูกดูดซึมในส่วนของระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal Tract)
✿ ปริมาณของแคลเซี่ยมซึ่งได้จากการยอยและการแตกตัวขึ้นอยูกับระบบการละลายในกระเพาะและล าไส้
✿ ระบบการยอยเป็นปัจจัยหลัก ที่ท าให้แคลเซี่ยมเกิดการแตกตัวและถูกดูดซึมเข้าสูร่างกาย
✿ แคลเซี่ยมถูกดูดซึมผานทางเยื้อหุ้มเซลล์ของผนังลำไส้ (epithileal)
✿ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซี่ยมเข้าสูร่างกายคือ ปริมาณแคลเซี่ยม, อัตราการละลาย, ปัจจัยของสารอาหาร อื่นๆที่ส่งผลต่อการดูดซึม และอายุของผ้บริโภค
จากการทดลองของ Professor Nora O’ Brien, University College Cork, UCC- Ireland ภาวะจำลองการละลายและการแตกตัวของ Aquamin F เทียบกับแคลเซี่ยมจากหินปูน (Dolomite) ผลปรากฏว่า
✿ Aquamin F แตกตัวและดูดซึมได้ 86.5%
✿ Dolomite แตกตัวและดูดซึมได้ 36.5%
✿ ไม่มีรสชาติเผื่อนขมเมื่อใช้ปริมาณมากจนถึงระดับแคลเซี่ยมสูง (800 มิลลิกรัมของแคลเซี่ยม)
✿ วัตถุดิบจากธรรมชาติ (Calcium from Natural) ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี (No Chemical Treat) และไม่มีสารก่อภูมิแพ้ (Allergen Free)
✿ ช่วยทำให้รสชาติของสินค้าดีข้ึน
✿ เพิ่มเนื้อสัมผัสในปาก
✿ การตกตะกอนในสินค้า สำเร็จรูปช้ากว่าแคลเซี่ยมจากหินปูน
✿ เสริมสร้างการสร้างกระดูกให้แข็งแรง
✿ อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการและช่วยลดการอักเสบในส่วนของข้อต่อและผิวหนัง
✿ ไม่มีการอุดตัน ของแคลเซี่ยมในระบบหลอดเลือดหัวใจเมื่อบริโภคไปมากกว่า 4 ปี