หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

หน้ากากสุขภาพ (Mask)


     หน้ากากสุขภาพ (Mask)  ออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของเชื้อโรค  การใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์อย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากฝอยละออง ไม่ให้เข้าสู่ปากและจมูกของผู้ใส่  นอกจากนั้นยังจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมูกหรือน้ำลายของผู้ใส่ (ซึ่งอาจมีเชื้อโรค)  กระเด็นออกไปโดนหรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น

ชนิดของหน้ากากสุขภาพ (Face mask) enlightened

  1.   1. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical mask หรือ Medical mask) 
  1.   2. การใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์อย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากฝอยละอองขนาดใหญ่  ไม่ให้เข้าสู่ปากและจมูกของผู้ใส่ นอกจากนั้นยังจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมูก น้ำลายของผู้ใส่ (ซึ่งอาจมีเชื้อโรค) กระเด็นออกไปโดนหรือแพร่เชื้อให้ผู้อื่น อย่างไรก็ตามแผ่นกรองของหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไม่สามารถกรอง
  1.   3. อนุภาคขนาดเล็ก เช่น เชื้อโรคบางชนิด รวมถึงเชื้อไวรัสไม่ให้เข้าสู่ร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นช่องว่างระหว่างหน้ากากและผิวหน้าซึ่งไม่ได้แนบกันสนิทจะทำให้อนุภาคเล็กๆ และเชื้อโรคยังคงผ่านหน้ากากเข้ามาได้



     หน้ากากอนามัยชนิด N95 ตัว N ย่อมาจาก "not resistant to oil" คือ ไม่ทนต่อน้ำมัน (95 หมายถึง ความสามารถในกรองฝุ่นละอองที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนได้ไม่น้อยกว่า 95%) หน้ากากชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพในการกรองสูงกว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ โดยสามารถกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่าได้ นอกจากนี้ยังเป็นหน้ากากที่เมื่อใส่แล้วจะแนบสนิทกับใบหน้า ในการใส่หน้ากากชนิดนี้จะต้องใส่ให้ถูกวิธีโดยจะต้องมีการทำ Fit test ซึ่งเป็นการทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้าซึ่งถ้าแนบสนิทจะไม่มีการรั่วของลมหายใจ ทั้งนี้การใส่หน้ากาก N95 ที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อลดลง อย่างไรก็ตามในการใส่หน้ากากชนิดนี้จะทำให้หายใจลำบาก จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพบางอย่าง ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากชนิดนี้ในประชาชนทั่วไปโดยแนะนำให้ใช้ในบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น


     เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหน้ากากอนามัยทางการแพทย์และหน้ากากชนิด N95 พบว่าทั้งสองชนิดเหมือนกันในแง่ที่ กันน้ำได้ (fluid resistant) ควรใช้ครั้งเดียวและไม่นำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้ร่วมกับผู้อื่น3 อย่างไรก็ตามในแง่ของประสิทธิภาพ พบว่าหน้ากากชนิด N95 สามารถป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรียได้ดีกว่าหน้ากากอนามัยทางการแพทย์แต่เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในแง่ของการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือไวรัส พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

 


ข้อแนะนำในการใส่หน้ากากสุขภาพ


 

การใส่และถอดหน้ากากสุขภาพควรทำอย่างถูกวิธีดังนี้ enlightened


✿ ก่อนใส่ต้องล้างมือด้วยน้ำสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือถ้าไม่มีให้ใช้น้ำยาที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60%


✿ เวลาใส่ต้องใส่ให้ครอบคลุมปากและจมูกและไม่มีช่องว่างระหว่างหน้ากับหน้ากาก


✿ ขณะสวมใส่ไม่เอามือไปแตะหน้ากากหากแตะต้องไปล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาที่มีแอลกอฮอล์


✿ ถ้าหน้ากากชื้น หรือ ฉีกขาดให้เปลี่ยนใหม่


✿ ขณะถอดไม่ให้เอามือมาจับด้านหน้าของหน้ากากและเมื่อถอดเสร็จแล้วนำไปทิ้งในภาชนะปิดทันทีแล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาที่มีแอลกอฮอล์


ควรเลือกใช้หน้ากากสุขภาพประเภทใด 

  1. 1.หน้ากากอนามัยทั่วไป (หรือที่เรียกว่าหน้ากากผ้าหรือผ้าปิดหน้า) : หากคุณและครอบครัวอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีโควิด-19 แพร่ระบาดและไม่มีอาการของโรค ควรสวมหน้ากากอนามัยทั่วไป
  1. 2.หน้ากากทางการแพทย์ : โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ทั่วโลกขาดแคลนหน้ากากทางการแพทย์ หากคุณหรือครอบครัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วยหนักหากติดเชื้อโควิด-19 (อายุมากกว่า 60 ปีหรือมีปัญหาสุขภาพอยู่แต่เดิม) หรือเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือมีอาการโรค ควรสวมหน้ากากทางการแพทย์

หน้ากากสุขภาพประเภทใดดีที่สุด


     หน้ากากผ้าหรือผ้าปิดหน้าทำจากผ้าหลายชนิด และสามารถทำหรือซื้อจากร้านค้าได้ง่าย ๆ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีผลวิจัยบ่งชี้ถึงการใช้หน้ากากผ้าอย่างชัดเจน แต่ประสิทธิภาพของการใช้หน้ากากประเภทนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้าและหน้ากากว่าทำด้วยผ้ากี่ชั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าหน้ากากควรมี 3 ชั้น ประกอบด้วย:


     ● ชั้นในสุดทำจากวัสดุที่ดูดซับน้ำได้ เช่น ผ้าฝ้าย


     ● ชั้นกลางเป็นวัสดุไม่ถักทอ เช่น โพลีโพรพิลีน


     ● ชั้นนอกสุดทำจากวัสดุไม่ดูดซับน้ำ เช่น โพลีเอสเตอร์ หรือโพลีเอสเตอร์ผสม


   แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้หน้ากากประเภทใด หน้ากากที่ดีควรปิดคลุมจมูก ปากและคาง และยึดด้วยสายยางยืดหรือเชือกผูก องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ใช้หน้ากากที่มีวาล์วระบายอากาศ เนื่องจากทำให้อากาศที่ไม่กรองเล็ดลอดได้ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพด้อยลงในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่างๆ เช่น เชื้อโควิด-19

BACK