หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

กระบอกและเข็มฉีดยาสำหรับอินซูลิน (Insulin Syringe&Needle) 

          กระบอกและเข็มฉีดยาสำหรับอินซูลิน เป็นอุปกรณ์สำหรับการแพทย์และงานทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ผลต่างๆ เช่น ใช้ดูดเลือดมาวิเคราะห์ผลทางการแพทย์หรือใช้ดูดสารเคมีหรือของเหลวมาวิเคราะห์หาสารปนเปื้อน เป็นต้น โดยทั่วไปเข็มฉีดยาจะมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ ตัวกระบอกฉีดยาจะใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มฉีดยา    

      ส่วนประกอบของกระบอกฉีดยาทุกชนิดประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 

 1. ส่วนปลายสุด (TIC) ใช้ต่อเข้ากับหัวเข็มฉีดยา       

 2. ตัวกระบอกฉีดยา (Cylindrical  barrel)  เป็นส่วนที่มีมาตราบอกจำนวนยา

 3. ลูกสูบ (Plunger)  เป็นส่วนที่สวมอยู่ในกระบอกฉีดยา  

ส่วนของกระบอกฉีดยาที่ต้องรักษาให้ปราศจากเชื้อ  คือ ส่วนปลายสุด และตัวลูกสูบ

เข็มฉีดยามีชนิดที่หัวเข็มทำด้วยเหล็กสเตนเลส  หรือเข็มพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ส่วนประกอบของเข็มฉีดยา มีอยู่ 3 ส่วน คือ

1. รอยบากปลายเข็ม ( Bevel )

2. ตัวเข็ม ( Shaft )  คือส่วนที่ต่อจากหัวเข็ม

3. หัวเข็ม ( Hub )  ใช้สวมติดกับปลายกระบอกฉีดยา

             การฉีดยา ส่วนของเข็มฉีดยาที่ต้องรักษาไว้ปราศจากเชื้อ คือ บริเวณรอยบากปลายเข็มและตัวเข็ม     การใช้เข็มฉีดยาอินซูลินควรเลือกใช้ขนาดหรือเบอร์เข็มให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ล้างมือให้สะอาดและสวมถุงมือทุกครั้งที่ใช้งานเข็มฉีดยา กดก้านสูบภายในตัวกระบอดฉีดยาจุ่มปลายเข็มฉีดยาในของเหลวหรือก๊าซค่อยๆ ดึงก้านสูบขึ้นเพื่อทำการดูดสารสะลายในปริมาตรที่ต้องการ จากนั้นใช้ปลายเข็มฉีดยาฉีดลงบนผิวหนังหรือภาชนะโดยให้ทำมุมประมาณ 90 องศา หลังใช้งานปลดเข็มฉีดยาออกจากระบอกฉีดแล้วเก็บทิ้งใส่ภาชนะให้เรียบร้อย

อินซูลิน คือฮอร์โมนที่ตับอ่อนสร้างขึ้น เพื่อนำน้ำตาลไปสร้างเป็นพลังงาน แต่ในคนที่เป็นเบาหวานบางคนไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ จำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน ซึ่งการฉีดอินซูลินเป็นวิธีที่จำเพาะ ควรเรียนรู้วิธีการฉีดอินซูลินจากแพทย์ หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคำถามตามมาอีกมากมายที่ใครหลาย ๆ คนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้อินซูลิน คำถามที่มักพบ ได้แก่

1. จำเป็นต้องเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดอินซูลิน จริงหรือ

          ไม่จริง การเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดอินซูลิน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากผลการดูดซึมยาในบริเวณที่ฉีดอินซูลินบริเวณต่าง ๆ ไม่เท่ากันส่งผลต่อระดับยาในเลือด

2. ก่อนใช้อินซูลินแบบขวด ต้องเขย่าก่อนใช้จริงหรือ

          ไม่จริง ห้ามเขย่าขวดอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดฟองและทำให้ได้ปริมาณยาไม่ครบตามจำนวน แต่หากเป็นอินซูลินชนิดน้ำขุ่นแขวนตะกอน ให้คลึงขวดยาบนฝ่ามือทั้งสองข้างเบา ๆ เพื่อให้ยาผสมกันทั่วทั้งขวด 

3. เข็มอินซูลิน สามารถใช้ซ้ำได้จริงหรือ

          ไม่จริง  เข็มฉีดยาอินซูลินเป็นวัสดุทางการแพทย์ประเภทใช้แล้วทิ้ง (Disposable) ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ ซึ่งการนำมาใช้ซ้ำอาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ ดังนั้นหากวัตถุประสงค์การใช้เข็มสำหรับฉีดอินซูลินซ้ำ คือต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว จึงควรให้ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ และการนำมาใช้ซ้ำควรเป็นความยินยอมของผู้ป่วยเอง โดยห้ามเช็ดแอลกอฮอล์บริเวณหัวเข็ม และห้ามใช้เข็มร่วมกับผู้อื่นเด็ดขาด

4. สามารถเก็บรักษาอินซูลิน ในตู้เย็นบริเวณช่องใส่ผัก ได้จริงหรือ

          ไม่จริง ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง กล่องเก็บของใต้ช่องแช่แข็ง ช่องเก็บผักและบานประตูตู้เย็น โดยบริเวณที่เก็บยาในตู้เย็น คือ ชั้นวางของในตู้เย็น

 การเก็บรักษาอินซูลิน

        - อินซูลินที่ยังไม่เปิดใช้ : เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 °C มีอายุการใช้งานตามวันที่ระบุบนฉลาก

        - อนซูลินที่เปิดใช้แล้ว : เก็บที่อุณหภูมิไม่เกิน 25-30 °C ส่วนใหญ่จะหมดอายุในเวลา 28 วันนับจากวันแรกที่เปิดใช้

        - ห้ามเก็บยาไว้ในรถที่จอดทิ้งไว้กลางแจ้ง หรือที่มีแสงอาทิตย์ส่องและร้อน หรือห้องที่อุณหภูมิเกิน 30 °C

วิธีการใช้อินซูลินโดยการฉีด มีดังนี้

ปริมาณอินซูลินที่เหมาะสมในการฉีด จะต้องได้รับการประเมินระดับน้ำตาลและแนวโน้มของความไวต่ออินซูลินของแต่ละบุคคลก่อนใช้ โดยเบื้องต้นแพทย์จะให้เริ่มต้นใช้ที่ขนาด 0.4-0.6 ยูนิตต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันและจะให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็มักขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่แพทย์วินิจฉัยร่วมด้วย

ข้อควรระวังในการใช้อินซูลิน

ผลข้างเคียงและอาการแพ้อินซูลิน

เบื้องต้นผู้ที่มีผลข้างเคียงหรือมีอาการแพ้อินซูลิน ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการดังต่อไปนี้

BACK