คือเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดที่สามารถอ่านค่าน้ำตาลในเลือดได้แม่นยำ อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการเจาะเลือดเพราะใช้เลือดน้อย สามารถอ่านค่าได้ไว และยังสามารถบันทึกผลการตรวจได้ ตัวเครื่องสามารถเปิดและตรวจสอบความพร้อมทันทีเมื่อสอดแผ่นตรวจน้ำตาลเข้าไปในเครื่อง มีปุ่มปลดทิ้งแผ่นตรวจน้ำตาลที่ใช้งานแล้ว ทำให้ไม่ต้องสัมผัสเลือด จึงให้ความปลอดภัยและสะดวกมากขึ้น เมื่อไม่มีการใช้งานเครื่องจะปิดเอง สะดวก ใช้งานง่าย และปลอดภัยแบบสุด ๆ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ให้ครบครันภายในเซ็ต ไม่ว่าจะเป็นปากกาเจาะเลือด แผ่นตรวจน้ำตาล เข็มเจาะ และกระเป๋าใส่อุปกรณ์เพื่อความสะดวกในการพกพา
จริงๆ แล้ว เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด สามารถใช้ได้กับทุกคน ไม่จำเป็นจะต้องใช้เฉพาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงเท่านั้น เพราะถึงแม้จะไม่มีความเสี่ยง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่าจะไม่เป็นโรคเบาหวาน ดังนั้น เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดจึงเป็นตัวเลือกสำคัญหนึ่ง ที่ควรมีติดบ้านไว้สักเครื่อง เพื่อป้องกันโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว
ผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าครึ่ง มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นป่วยเป็นเบาหวาน กว่าจะรู้ตัวอีกที อาการก็อาจจะเป็นหนักไปเสียแล้ว กลายเป็นโรคเบาหวานแบบไม่รู้ตัว ดังนั้น ต้องหมั่นสังเกตอาการตัวเอง ซึ่งสามารถสังเกตได้ ดังนี้
หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการและหาทางรักษา วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ต้องหมั่นตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดด้วย เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด อยู่เสมอ เพราะหากมีความผิดปกติ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที โอกาสเป็นโรคเบาหวานก็จะยิ่งน้อยลง
ออกกำลังกายเป็นประจำ
ดื่มน้ำเปล่าสะอาด พยายามจิบน้ำบ่อย ๆ ตลอดวัน
ทานอาหารในปริมาณน้อย โดยแบ่งเป็นมื้อย่อย ๆ 5 - 6 มื้อ แทนการทานอาหารมื้อใหญ่
หลีกเลี่ยงการทานของหวาน เพราะในของหวานมีส่วนประกอบของน้ำตาล มากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ
มองโลกในแง่ดี ไม่เครียด
ตรวจวัดน้ำตาลอยู่เป็นประจำ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด
ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะนอกจากจะเสี่ยงเป็นเบาหวานแล้ว โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ จะตามมาด้วย เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิต
ควบคุมแคลอรี่ โดยปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน จะอยู่ที่ประมาณ 30 - 35 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัวมาตรฐาน 1 กิโลกรัม
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรใช้ เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เวลาไหนและควรควบคุมตัวเลขให้อยู่ที่เท่าไหร่
ก่อนทานอาหาร ระดับน้ำตาลควรอยู่ที่ 90 - 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
หลังทานอาหาร 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
หากคุณรู้สึกใจสั่น หน้ามืด เหงื่อออก เป็นลม ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย จะต้องเจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือด โดยที่ระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ควรน้อยกว่า 7%