ไบโอติน (biotin) หรือ วิตามินเอช (vitamin H) หรือที่หลายคนอาจเคยเห็น หรือได้ยินในชื่อ วิตามินบี 7 (vitamin B7) เป็นสารจำเป็นในการเจริญของยีสต์ และจุลินทรีย์หลายชนิด เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีซึ่งสามารถละลายน้ำได้ โดยไบโอตินมีความสำคัญต่อการเจริญของเซลล์ การผลิตกรดไขมัน กรดอะมิโนและการเผาผลาญไขมัน
ไบโอตินพบได้ใน อาหารที่อุดมไปด้วยไบโอติน ได้แก่ ตับหมู ไตวัว เนื้อวัว ปลาเนื้อขาว ไข่แดง น้ำมันปลา ข้าวกล้อง ข้าวโพด รำข้าวสาลี เมล็ดพืชต่างๆ ยีสต์ ไข่ น้ำนม เนย โยเกิร์ต ผักต่างโดยเฉพาะดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี เห็ด แครอท และผลไม้ต่างๆ ทั้งนี้ ไบโอตินเป็นสารอาหารที่อาจเสื่อมคุณค่าลงหากได้รับความร้อน หากต้องการได้รับไบโอตินในปริมาณมากควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไบโอตินที่ผ่านความร้อนน้อยที่สุด
ไบโอตินจากอาหารที่เรารับประทาน หรือรับประทานในรูปแบบวิตามินบำรุงร่างกาย ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยบำรุงเคราตินในเส้นผมของเราให้แข็งแรง เมื่อมีโครงสร้างเส้นผมแข็งแรงแล้วอาการผมขาดหลุดร่วงก็ลดน้อยลง ผมดกมากขึ้น และเส้นผมเกิดใหม่มีความแข็งแรง นั้นจึงทำให้ใครที่มีอาการผมขาดร่วงจากการขาดไบโอตินนั้นมีสุขภาพของเส้นผมที่ดีขึ้นได้ แต่ถ้าใครรับประทานไบโอตินเพียงพอแล้วแต่ยังไม่หายจากอาหารผมร่วง ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าอาการผมร่วงนั้นเกิดจากสาเหตุอื่น ลองเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาผมร่วงให้เหมาะกับเส้นผมของเราค่ะ เพราะสาเหตุของการเกิดผมร่วงมีหลากหลายแบบ บางครั้งการกินแค่ไบโอตินอาจจะยังไม่เพียงพอ เราจึงต้องการสารอาหารที่หลากหลายเพื่อมาช่วยป้องกัน ฟื้นฟู และบำรุงเส้นผมอย่างครบถ้วน นอกจากไบโอตินแล้ว ผมของเรายังต้องการสารอาหารและวิตามินอื่นๆอีกด้วยในการช่วยดูแลเส้นผม เช่น สารสกัดจากเมล็ดแฟลกซ์ ที่เป็นตัวช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี ผมนุ่ม ไม่แห้งแตก ปลายและต่อต้านการอักเสบที่หนังศีรษะ
รวมถึงช่วยดูแลปัญหาหนังศีรษะแห้ง สารสกัดจากหญ้าหางม้า สร้างความแข็งแรงให้กับรากผม เหมาะกับผู้ที่ผมร่วงหรือต้องการจะปลูกผม แอล-เมไธโอนีน สารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการสร้าง โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบหลักของเส้นผมที่รู้จักกันในชื่อของ เคราติน (Keratin) ซึ่งเจ้าเคราตินเคราตินเป็นโครงสร้างหลักของผม การที่มีเคราตินเยอะจะช่วยให้ผมไม่แห้งเสีย ชี้ฟู หรือขาดหลุดร่วง และวิตามินอีกหลากหลายชนิดที่จำเป็นสำหรับการดูแลเส้นผม เช่น แมงกานีส คอปเปอร์ วิตามินอี ซิลิเนียม วิตามินเอ กรดโฟลิก โอ้โห้รู้แบบนี้แล้วหลายคนคงมองว่าเป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถเติมสารอาหารให้กับผมได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยดูแลสุขภาพผม เวลาไปซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็อย่าลืมดูส่วนผสมกันน้า
ปกติแล้วการรับประทานอาหารเสริมนั้นเกิดผลข้างเคียงได้ทั่วไป เช่น มีผื่นขึ้นเล็กน้อย หากมีอาการรุนแรง เช่น อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจไมสะดวก แนะนำให้หยุดรับประทาน และพบแพทย์ฉุกเฉินเพื่อทำการรักษาอาการไบโอตินช่วยให้โครงสร้างเส้นผมแข็งแรงได้ หาได้ง่าย มีอยู่ในอาหารที่เรารับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว ถ้าเราอยากมีผมสวย ผมแข็งแรง ก็ต้องดูแลร่างกายของเรานะคะ เลือกรับประทานอาหารที่มีไบโอตินให้เพียงพอต่อความร่างกายอยู่เสมอ เลี่ยงการทำร้ายเส้นผม บำรุงเส้นผมอยู่เสมอ จะได้มีเส้นผมแข็งแรง ผมสวย อยู่กับเราไปนาน ๆ ค่ะ
อาการของผู้ที่ขาดไบโอติน
อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง และอาจเจ็บปวดกล้ามเนื้อ
คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น มีอาการเบื่ออาหาร
มีอาการทางระบบประสาท เช่น ซึมเศร้า ประสาทหลอน นอนไม่หลับ
เกิดความผิดปกของระบบผิว เช่น เป็นผื่นคัน โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา
จมูก ปาก และ บริเวณอวัยวะเพศ ผิวแห้ง ผิวคล้ำ และเป็นจ้ำ การรับสัมผัสทางผิวพรรณผิดปกติ
มีปัญหาผมขาดหลุดร่วง
ระบบการเผาผลาญไขมันผิดปกติ การเผาผลาญไขมันน้อยลง ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง
ปริมาณไบโอตินที่ควรได้รับต่อวัน
ปริมาณการได้รับไบโอตินต่อวันที่เหมาะต่อความต้องการร่างกายในแต่ละช่วงอายุจะแตกต่างกันไป ดังนี้
➤ เด็กเล็ก ควรได้รับไบโอติน 5-12 ไมโครกรัม /วัน
➤ เด็กโต ควรได้รับไบโอติน 20-25 ไมโครกรัม /วัน
➤ ผู้ใหญ่ ควรได้รับไบโอติน 30 ไมโครกรัม /วัน
➤ ผู้หญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรได้รับไบโอติน 30-35 ไมโครกรัม /วัน