หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ผ้าก๊อซต่างๆ (Gauze pad) 

      สำหรับใช้ทางการแพทย์ ใช้ทำแผล ปิดแผล สะอาด ปลอดภัย ไม่แสบแผล ป้องกันการติดเชื้อ ซับเลือดได้ดี เนื้อผ้าไม่ติดแผล  สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น เหมาะกับแผลที่มีสิ่งคัดหลังจำนวนมาก ใช้สำหรับดูดซับ เลือด หนอง ได้ดี เช่น แผลกดทับ แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น


     ● ผ้าก๊อซมี 2 ประเภท คือ ผ้าก๊อซจากเส้นใยธรรมชาติ และ ผ้าก๊อซจากเส้นใยสังเคราะห์ นอกจากจะใช้สำหรับปิดแผลแล้ว สามารถนำผ้าก๊อซมาชุบน้ำเกลือปิดบริเวณบาดแผล ปล่อยให้แห้ง แล้วดึงออก เพื่อให้เนื้อเยื่อที่ตายหลุดออกมา เป็นวิธีหนึ่งในการเตรียมบาดแผลให้เหมาะสมสำหรับกระบวนการหายของแผล 


1. ผ้าก๊อซต่างๆจากเส้นใยธรรมชาติ

        “เซลลูโลสชีวภาพ” (Biocellulose) เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดปัญหาสะเก็ดติดออกมากับผ้าขณะชะล้างแผล อีกทั้งยังทำให้บาดแผลของผู้ป่วยหายเร็วขึ้นส้นใยเซลลูโลสชีวภาพ ผลิตจากเชื้อจุลินทรีย์ชื่อ Acetobacter xylinum ซึ่ง ทำหน้าที่ ขับเส้นใยฯออกข้างลำตัว เพาะในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีน้ำตาล ในเวลาที่พอเหมาะจะได้ เส้นใยขนาดเล็กกว่าเส้นใยจากพืช100-1,000 เท่า (มีขนาด 1/1,000 เท่า ของเส้นผมมนุษย์) สานถักเป็นแผ่นร่างแห เรียงกันเป็นชั้นๆ และ USFDA ได้จัดให้เซลลูโลสชีวภาพเป็นสารในกลุ่ม GRAS ที่มีความปลอดภัยต่อการบริโภค


2. ผ้าก๊อซต่างๆจากใยสังเคราะห์

       ผลิตจากเนื้อผ้าเกรดพิเศษ นุ่มละเอียด อ่อนโยน สบายผิว ดูดซับซึมของเหลวได้ดี ไม่ทำให้แผลอับชื้น สะอาด ปลอดภัย ใช้สำหรับเช็ดทำความสะอาดผิวหนังที่เป็นแผล ยังช่วยปกป้องบาดแผลจากสิ่งสกปรก และเชื้อโรคต่า


     เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากกระดูกหัก หรือมีบาดแผลตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การพันผ้าก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ใช้ในการปฐมพยาบาลเพื่อร่วมกับการดามอวัยวะที่หัก หรือ พันแผลก่อนนำส่งโรงพยาบาล ผู้ช่วยเหลือจะต้องฝึกพันผ้าเสมอ ๆ จนกระทั่งสามารถพันได้อย่างถูกต้อง และรวดเร็ว และควรเรียนรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคนิคการพันผ้าไว้ประมาณ 2-3 วิธี เพื่อจะได้ดัดแปลงพันส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ทุกส่วน
 

ชนิดของผ้าพันแผลที่ใช้ในการปฐมพยาบาลแบ่งกว้าง ๆ ได้ 2 ชนิด
 

ซึ่งชนิดผ้ายืดจะมีความยืดหยุ่นได้ดีกว่า มีขนาดแตกต่างกัน โดยมีความกว้าง 1 ,2,3,4, หรือ 6 นิ้ว การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของอวัยวะที่บาดเจ็บ เช่น ที่นิ้วมือใช้ขนาด 1 นิ้ว ส่วนศีรษะใช้ขนาด 6 นิ้ว เป็นต้น ขนาดของผ้าที่พอเหมาะคือ เมื่อพันแล้วขอบของผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว
 

เป็นผ้าสามเหลี่ยมมีฐานกว้าง และด้านประกอบสามเหลี่ยมยาว 36-40 นิ้ว
ในบางโอกาสวัสดุดังกล่าวหาไม่ได้ ดังนั้นผู้ปฐมพยาบาลอาจต้องดัดแปลงวัสดุอื่นมาใช้แทน เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หรือแม้แต่เข็มขัดผ้า แต่จะต้องเลือกเฉพาะที่สะอาด ๆ เท่านั้น

หลักทั่วไปในการพันผ้าก๊อช ⚡️

1.ก่อนพันผ้าทุกครั้ง ผ้าที่พันต้องม้วนให้เรียบร้อย ไม่หลุดลุ่ย

2.จับผ้าด้วยมือข้างที่ถนัด โดยหงายม้วนผ้าขึ้น

3. วางผ้าลงบริเวณที่ต้องการพัน พันรอบสัก 2-3 รอบ เมื่อเริ่มต้น และสิ้นสุดการพัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าคลายตัวหลุดออก

4. พันจากส่วนปลายไปหาส่วนโคน หรือ พันจากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือ พันจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหญ่

5. เมื่อสิ้นสุดการพัน ควรผูกหรือใช้เข็มกลัดหรือติดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย แต่ไม่ให้ทับบริเวณแผล

6. การใช้ผ้ายืดต้องระวังการรัดแน่นจนเกินไป จนเลือดเดินไม่สะดวกและกดทับเส้นประสาท สังเกตได้จากการบวม สีผิวซีด ขาว และเย็น พร้อมทั้งผู้บาดเจ็บจะบอกถึงอาการปวดและชา

7. ถ้ามีอาการปวดและชา บริเวณที่พันผ้า ให้รีบคลายผ้าที่พันไว้ออกแล้วจึงพันใหม

ลักษณะการพันผ้าก๊อช enlightened

✿ การพันรอบหรือพันเป็นวงกลม (Circular turns) เป็นการพันรอบที่ใช้กับส่วนที่เป็นวงกลม และมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดจบของการพันผ้าพันแผลชนิดม้วนลักษณะอื่น ๆ อวัยวะที่เหมาะสำหรับการพันรอบ เช่น รอบศีรษะ รอบนิ้วมือ รอบข้อมือ เป็นต้น

✿ การพันเป็นเกลียว (Spiral turns) เป็นการพันกับอวัยวะที่ยาว เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าแข้ง ลำตัว เป็นต้น

✿ การพันรูปเลขแปด (Figure of eight turns) เป็นการพันอวัยวะที่เป็นส่วนของข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อสะโพก ข้อศอก และหัวไหล่ เป็นต้น

ประโยชน์ของการใช้ผ้าก๊อช enlightened

  1. 1. ใช้ห้ามเลือด
  1. 2.ป้องกันการติดเชื้อ
  1. 3.พันเฝือกในรายกระดูกหัก
  1. 4.ใช้ยึดผ้าปิดแผลให้อยู่กับที่หลักทั่วไปในการพันผ้า

BACK