หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ถุงปัสสาวะ (Urine Collection Bag) 


     ถุงรองรับปัสสาวะ (urine bag) เป็นถุงพลาสติกใส ขนาด 2,000 มล. มีขีดบอกปริมาตรปัสสาวะ มีทางเปิดให้ระบายปัสสาวะออก บางผลิตภัณฑ์มีลิ้นปิด-เปิด หรือมีฝาปิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค ถุงรองรับปัสสาวะจะมีท่อสำหรับต่อกับสายสวนปัสสาวะ และมีสายสำหรับแขวนถุงเพื่อยึดกับเตียงผู้ป่วย


     ถุงสำหรับใส่ปัสสาวะของผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ มีทั้งแบบเทบน และแบบเทล่าง  มีท่อพร้อมวาล์วเพื่อเปิด-ปิด เพิ่มความสะดวกในการเทปัสสาวะทิ้ง มีสเกลบอกปริมาตรด้านนอก ทำให้ง่ายต่อการอ่านระดับปัสสาวะและตรวจเช็ค ผลิตจากพลาสติกทางการแพทย์  มีขนาด 2000 ml. ความยาวสาย 125 cm.  

 ประโยชน์ของถุงปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

ถุงปัสสาวะ มีกี่แบบ กี่ประเภท

ถุงปัสสาวะถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งก็มีให้เราเลือกใช้งานอยู่หลายแบบหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นถุงปัสสาวะแบบเทบนหรือถุงปัสสาวะแบบเทล่าง ทำให้สะดวกต่อการทำความสะอาดเป็นอย่างมาก

1. ถุงปัสสาวะติดหน้าท้อง

ถือเป็นถุงปัสสาวะหน้าท้องที่มีวิธีการใช้งานที่ค่อนข้างง่ายมาก ๆ เพียงแค่นำถุงปัสสาวะมาติดที่บริเวณหน้าท้องก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

2. ถุงปัสสาวะติดขา

เป็นถุงปัสสาวะที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านหรือออกไปนอกบ้าน ซึ่งตัวถุงปัสสาวะก็จะมีแถบยางยืดเอาไว้มัดกับต้นขาของเรา ทำให้คนอื่นไม่สามารถมองเห็นได้

3. ถุงปัสสาวะผู้ป่วยติดเตียง

เป็นถุงปัสสาวะที่เหมาะสำหรับการใช้งานในผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ไม่ต้องทำความสะอาดที่นอนบ่อยมากนัก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ดูแลอีกด้วย

4. ถุงปัสสาวะแบบพกพา

สำหรับถุงปัสสาวะพกพา ถือเป็นสิ่งที่เหล่าคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนต้องมีติดรถไว้บ้างอย่างแน่นอน เมื่อลูกน้อยเกิดปวดฉี่สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ดีที่สุดในตอนนั้นก็คงต้องเป็นการนำถุงปัสสาวะพกพาออกมาให้เด็กทำธุระส่วนตัว ซึ่งนอกจากเด็กจะสามารถใช้งานถุงปัสสาวะแบบพกพาได้แล้ว ผู้ใหญ่ก็ยังสามารถใช้งานได้ด้วยเช่นกัน

สังเกตอย่างไรว่ามีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะอาการที่แสดง

1. สีของน้ำปัสสาวะเข็มขึ้น หรือคล้ายน้ำล้างมือ

2 .มีกลิ่นฉุน

3. มีตะกอนมาก ลักษณะคล้ายหนอง

4.รู้สึกแสบขัด ไม่สุขสบายบริเวณหัวเหน่า

5. มีไข้สูง

6.อาจจะมีปัสสาวะรั่วซึมรอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ

การดูแลถุงรองปัสสาวะ enlightened

การวางถุงรองปัสสาวะ ให้วางถุงอยู่ตํ่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะหรือตํำกว่าตัวผู้ป่วยอยู่เสมอ หากจําเป็นต้องยกถุงขึนสูงเวลาเคลือนย้าย ให้หักสายสวนปัสสาวะไว้ก่อนเพือไม่ให้ปัสสาวะใน ถุงไหลย้อนขึนสู่ตัวผู้ป่วย   ซึงจะทําให้เกิดการติดเชือได้

✿ เมือมีปัสสาวะเต็มถุงหรือเกินครึงถุงขึนไป ให้เปิดปลายถุงปัสสาวะปล่อยปัสสาวะออกทิ้ง โดยเช็ดปลายจุกด้วยสําลีชุบแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการเปิด - ปิดจุก เพือลดการติดเชื้อ

✿ ควรเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะและถุงปัสสาวะเมื่อมีตะกอนขุ่นมากหรือเปลียนทุก 2 สัปดาห์ โดยปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือโรงพยาบาล

✿ ระวังไม่ให้ข้อต่อระหว่างสายถุงปัสสาวะหลุดออกจากสายสวนปัสสาวะ

✿ ระวังสายถุงปัสสาวะไม่ให้ดึงรััง เพราะอาจเกิดการบาดเจ็บของท่อทางเดินปัสสาวะได้

✿ ระวังอย่านอนทับสายจนหักพับงอ เพราะอาจเกิดการคั้งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ

✿ ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้สามารถทํากิจกรรมอื่นๆ ได้ตามปกติ หรือมีการออกกําลัง กายอย่างเหมาะสมกับสภาพ โดยระวังไม่ให้ถุงปัสสาวะอยู่สูงกว่าลําตัว

BACK