หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ไขมันพอกตับที่มีการอักเสบร่วมด้วย (NASH)


     โรคไขมันคั่งสะสมในตับหรือไขมันพอกตับ คือภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ของตับ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอรายด์ (Triglyceride) อาจมีอาการอักเสบของตับร่วมด้วย มีหลายสาเหตุที่สามารถทาให้เกิดภาวะไขมันคั่งสะสมในตับได้ สาเหตุที่พบบ่อยคือจากการดื่มสุรา, ยาบางชนิดหรือได้รับสารพิษ, ภาวะขาดสารอาหาร, ภาวะทองแดงคั่งในร่างกาย (Wilson’s Disease) เป็นต้น แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ ที่ไม่ได้เกิดการจากดื่มสุรา ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) แต่ถ้ามีการอักเสบของตับร่วมกับมีการบวมของเซลล์ตับร่วมด้วย ก็จะเรียกภาวะนี้ว่า Non-Alcoholic Steatohepatitis (NASH)


อาการของโรคไขมันคั่งสะสมในตับหรือไขมันพอกตับ


     ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ มักตรวจพบจากการมาเจาะเลือดตรวจสุขภาพ ในบางรายอาจมีอาการปวดแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือมีอาการอ่อนเพลียง่ายและในกรณีผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้วอาจตรวจเจอลักษณะของโรคตับเรื้อรังหรือตับแข็งร่วมด้วย หากเจาะเลือดดูการทางานของตับอาจจะพบค่า AST (Aspartate Transaminase) กับค่า ALT (Alanine Aminotransferase) สูงกว่าปกติประมาณ 1.5 เท่า ถึง 4 เท่า อาจจะมีค่า ALP สูงขึ้นเล็กน้อยส่วนค่าอื่นๆ มักจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ


สาเหตุของโรคไขมันคั่งสะสมในตับหรือไขมันพอกตับ

     สาเหตุของการเกิดไขมันคั่งสะสมในตับนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด คาดว่ามีหลายสาเหตุ เช่น


     พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยที่มีไขมันคั่งสะสมในตับ จะมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin) ร่วมด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แสดงอาการดื้อต่ออินซูลินให้เห็น ส่วนปัจจัยที่ทาให้เกิดการอักเสบของตับนั้นจะมีได้หลายปัจจัยที่นอกเหนือไปจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน เช่น การได้รับสารพิษและยาบางชนิด การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด มีแป้งเยอะ


ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับมีอันตรายหรือไม่?

     ภาวะไขมันคั่งสะสมในตับอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด โดยแบ่งตามพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อตับ ดังนี้

  1.  ชนิดที่ 1 ชนิดนี้จะมีแต่ไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับอย่างเดียว แต่ไม่มีการอักเสบของตับ ร่วมด้วย
  1.  ชนิดที่ 2 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ ร่วมกับมีการอักเสบของตับเล็กน้อย
  1.  ชนิดที่ 3 ชนิดนี้จะมีไขมันคั่งสะสมในเซลล์ตับ และมีการบวมโตของเซลล์ตับ
  1.  ชนิดที่ 4 จะเป็นแบบชนิดที่ 3 แต่มีการตายของกลุ่มเซลล์ตับและอาจมีพังผืดในตับร่วมด้วย


     ชนิดที่ 1 และ 2 มักจะไม่แสดงอาการ ไม่มีอาการของโรคตับเรื้องรังเกิดขึ้น แต่ไขมันคั่งสะสมในตับชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดำเนินโรคจนเกิดตับแข็งได้ แม้ว่าภาวะไขมันคั่งสะสมในตับไม่รุนแรงแต่ผู้ป่วยที่เป็นชนิดที่ 3 และ 4 จะมีการดาเนินโรคไปเป็นตับแข็งและอาจเสียชีวิตได้ ไม่ต่างจากไวรัสตับอักเสบเรื้องรัง ปัจจุบันมีข้อมูลบ่งชี้ว่า ตับอักเสบเรื้องรังจากภาวะไขมันคั่งสะสมในตับ อาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีตับแข็งแล้ว

ระยะการเกิดโรคไขมันคั่งสะสมในตับหรือไขมันพอกตับ

     enlightened ระยะแรก: ไขมันจะก่อตัวอยู่ในตับไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ

     enlightened ระยะที่สอง: ตับเริ่มมีการอักเสบ หากปล่อยนานกว่า 6 เตือน อาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง

     enlightened ระยะที่สาม: ตับเกิดการอักเสบรุนแรงถึงขั้นเกิดพังผืดในตั และเชลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลาย

     enlightened ระยะที่สี่: เซลล์ตับถูกทำลาย ตับทำงานไม่ปกติ ก่อให้เกิดภาวะตับแข็งและอาจกลายเป็นมะเร็งตับ

Silymarin กับภาวะตับอักเสบ

     Silymarin เป็นสารสกัดจากพืชที่ชื่อว่า Silybum marianum มีข้อบ่งใช้เป็นตัวเสริมในกรรักษาจากการรักษาหลัก ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกี่ยวกับตับ เช่น ภาวะตับอักเสบทั้งในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ภาวะตับแข็ง ภาวะตับอักเสบเรื้องรังจากยา เนื่องจาก Silymarin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant สามารถปกป้องเซลล์ตับจากการอักเสบและการถูกทำลายได้จากการศึกษาเกี่ยวกับประโยชน์ของ Silymarin ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรังชนิดบี (chronic hepatitis B) จากผลการศึกษาพบว่า Silymarin มีประโยชน์ในการปกป้องเซลล์ตับและมีประโยชน์เมื่อใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสในการรักษาภาวะตับอักเสบเรื้อรังชนิดบี ส่วนในผู้ป่วยไว้รัสตับอักเสบแบบเฉียบพลันก็พบข้อมูสรายงานประโยซน์ในการลดค่าเอนไซม์ตับได้เช่นกัน ในผู้ป่วยได้เช่นกัน สำหรับขนาดในการรับประทานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัซกรก่อนใช้

Lecithin กับภาวะไขมันพอกตับ

     เลซิทิน (Lecithin) คือ สารธรรมชาติที่เกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล กรดไขมันและกรดฟอสฟอริก เป็นสารที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ "อะซิติลโคสีน" (Acetylcholine) ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงเซลล์ประสาท ช่วยในการส่งข้อมูสระหว่างเซลล์สมองและระหว่างสมองกับการสั่งงนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยลตโคเลสเตอรอลหรือไขมันที่อุตตันในหลอตเสือด นอกจากนี้ยังพบว่าเลซิหินช่วยเสริมการทำงานของเซลล์ตับในการเผาผลาญขมันรอบๆตับได้อีกด้วย ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเลซิทินเพื่อบำรุงร่างกายคือ 1,200 - 2,400 กรัมต่อวัน

BACK