หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

อุปกรณ์บริหารและกายภาพบำบัด (Exercise & Physical Therapy)
 

     ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ มีการบาดเจ็บทางด้านร่างกาย มีอาการป่วยจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือจากโรคอื่นๆ ที่มีผลทำให้ร่างกายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต มีความจำเป็นจะต้องออกแรงกล้ามเนื้อหรือทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กล้ามเนื้อในส่วนที่อ่อนแอกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ ในส่วนของอุปกรณ์กายภาพบำบัดก็จะช่วยลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูสมรรถนะของร่างกายและเป็นส่วนช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านการรักษาอีกด้วย หลายคนที่เดินเข้าออกโรงพยาบาลหรือสถานฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยบ่อยๆอาจจะรู้สึกเบื่อ การเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์กายภาพบำบัดจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ป่วยสามารถนำมาใช้เองที่บ้าน อีกทั้งยังช่วยฟื้นฟูการทำงานของอวัยวะและกล้ามเนื้อต่างๆให้สามารถกลับมาใช้งานเป็นปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อุปกรณ์กายภาพบำบัดมีส่วนช่วยดูแลการเคลื่อนไหวร่างกายให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยลดอาการบาดเจ็บในส่วนต่างๆของร่างกายให้ค่อยๆกลับมาหายเป็นปกติ

การเลือกใช้งานอุปกรณ์บริหารและกายภาพบำบัดแต่ละชนิดเลือกขนาดที่เหมาะสม enlightened


     เนื่องจากอุปกรณ์ที่พอดีกับร่างกายจะช่วยให้พยุงกล้ามเนื้อให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ทำให้ร่างกายฟื้นฟูเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงข้อไหล่หลวม อุปกรณ์พยุงแขน อุปกรณ์พยุงเข่า ที่จะต้องปรับขนาดให้เหมาะสมกับรูปร่างของแต่ละบุคคลเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะบางส่วนและป้องกันกระดูกผิดรูปในกรณีที่ผู้ป่วยต้องพักฟื้นหลังการผ่าตัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการปวดของกล้ามเนื้อที่ไม่ได้เกิดการอุบัติเหตุหรือโรคภัยไข้เจ็บ แต่เป็นการปวดของกล้ามเนื้อเนื่องจากการใช้งานหนักมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอาการเส้นเลือดขอด ขาบวมตึงเนื่องจากยืนต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาการปวดหลังเนื่องจากแบกของหนัก เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์กายภาพบำบัดเหล่านี้สามารถชะลอการสึกหรอของกระดูกที่ต้องทนรับแรงกดมากๆเป็นเวลานาน ช่วยลดอาการกล้ามเนื้ออ่อนล้าที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยเรื้อรังได้ดี จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าว นอกจากจะช่วยบำบัดรักษาอาการบาดเจ็บและอาการปวดเรื้อรังให้ลดลงได้แล้ว ยังสามารถช่วยบำบัดอาการที่ไม่พึงประสงค์บางชนิดได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น หมอนลดอาการนอนกรนที่มีคุณสมบัติรองรับกระดูกและกล้ามเนื้อคอให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ช่วยปรับเปลี่ยนตำแหน่งศีรษะเพื่อเพิ่มช่องว่างช่วงลำคอทำให้หายใจสะดวกยิ่งขึ้น และยังมีเบาะรองหลังที่สามารถลดแรงกระแทกบริเวณกระดูกส่วนเอวซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังในกลุ่มคนที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน และเนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานเฉพาะอย่าง ผู้ใช้ควรศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียด หรือสอบถามผู้ขายหรือนักกายภาพบำบัดเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกวิธี และเพื่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การดูแลตัวเองด้วยกายภาพบำบัดต้องใช้อุปกรณ์บริหารและกายภาพบำบัดดังนี้ yes


     ผู้ป่วยที่ต้องอาศัยการฝึกเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ในบางรายมีการเคลื่อนไหวไม่ถูกต้องทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น นอกจากการเข้ารับการรักษาโดยนักกายภาพบำบัดแล้ว ผู้ป่วยยังสามารถอาศัยอุปกรณ์กายภาพบำบัดเป็นตัวช่วยในการรักษาได้อีกทางหนึ่ง
สำหรับบางโรคหรือการเจ็บป่วยบางอาการผู้ป่วยมักจะหาวิธีบรรเทาอาการด้วยการทานยา ซึ่งเมื่อทานเข้าไปมากๆก็จะส่งผลต่อกระเพาะและตับ ดังนั้นการดูแลตัวเองด้วยการกายภาพบำบัดและการใช้อุปกรณ์กายภาพบำบัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

  1. 1. กายภาพบำบัด (Physical Therapy)  ถือเป็นวิชาชีพด้านหนึ่งของวิทยาสตร์สุขภาพ โดยเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายที่เกิดการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เกิดจากสาเหตุต่างๆในแต่ละช่วงอายุ โดยจะมีวิธีการทำกายภาพบำบัด และเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่มีทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์รอบรับภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด (Physical Therapy) โดยที่นักกายภาพบำบัดจะอาศัยข้อมูลต่างๆของผู้ป่วย เพื่อสามารถหาวิธีการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยโดยสังเกตจาก ประวัติการรักษาและ ข้อมูลการตรวจสภาพร่างกาย ซึ่งในการทำกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยนั้น ปัจจัยในการทำการรักษาที่สำคัญตัวหนึ่งคือ “เครื่องมือกายภาพบำบัด” โดยนักกายภาพบำบัดต้องจัดหาเครื่องมือกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับการป่วยของผู้ป่วยแต่ละราย  โดยในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างให้ทราบทั้งหมด 12 แบบด้วยกันดังนี้ครับ

        แผ่นประคบร้อนเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื้อยกล้ามเนื้อเรื้อรังมาเป็นเวลานาน เนื่องจากกล้ามเนื้อมีการหดเกร็งจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตึงตัว ซึ่งเมื่อกดดันจุดดังกล่าวจะรู้สึกเจ็บ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก  มีการเรื้อรังจนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างตามมา เช่น  ไมเกรน  ปวดหัวเรื้อรัง เป็นต้น

 

       พาราฟินเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่เหมาะกับผู้ป่วยทีมีอาการชามือ นิ้วล๊อค เหน็บชา ข้อนิ้วมือติดแข็ง มือกระด้าง ใช้ลดปวดโดยจะเพิ่มความยืดหยุ่นในบริเวณข้อต่อนิ้วมือและข้อมือ/เท้า ช่วยให้มือเนียนนุ่มน่าสัมผัส ลดการแข็งตัวของพังผืดข้อมือและข้อนิ้วให้นิ่มตัวลง และเพิ่มการไหลเวียนเลือด

 

         บาร์คู่ขนาน เป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและหลอดเลือด อาทิ โรคอัมพฤต, อัมพาต, พาร์กินสัน, เด็กพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด    เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดสำหรับฝึกยืนและเดิน โดยสามารถปรับระดับความสูงและความกว้างได้ตามระดับความต้องการ ตามความสามารถและเหมาะสมในการยืนหรือเดินของผู้ป่วย เครื่องดึงหลังและเครื่องดึงคอ (Pelvic and Cervical Traction)


         เครื่องดึงหลังดึงคอเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดโรคที่เกี่ยวข้องกับหมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อหลัง ข้อต่อหลัง กระดูกต้นคอรวมถึง กล้ามเนื้อต้นคอ เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่จะช่วยเปิดช่องว่างของกระดูกสันหลังที่แคบลง ให้เปิดกว้างมากขึ้น เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท สามารถกำหนดแรงดึงหลังได้หลายช่วงตามความเหมาะสม และมีทั้งแบบคงที่และเป็นจังหวะ

 

      จักรยานกายภาพบำบัดเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัด สำหรับคนชรา ผู้ป่วยหรือแขน ขา อ่อนแรง   สามารถใช้กับขาและมือได้ เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณแขน-ขา ขจัดความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อที่ยึดบริเวณหัวไหล่-หัวเข่า  ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกาย เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อบริเวณแขน-ขา เพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและปอดและเพิ่มการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน

 

     เครื่องแขวนออกกำลังกายเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่ค่อยได้ใช้แขนขา เป็นอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่จะช่วยออกกำลังกายแขนขา ให้มีการขยับและกระตุ้นการทำงานให้กลับมาใช้อีกครั้ง ได้แก่ อุปกรณ์พยุงข้อต่างๆ เช่นที่พยุงเข่า กรณีเข่าเสื่อม ข้อเท้าพลิกพยุงเท้ากรณี ข้อเท้าแพลง พยุงศอก กรณี เอ็นข้อศอกอักเสบ พยุงข้อมือเมื่อข้อมืออักเสบ มีพังผืด หรือหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือและ เสื้อพยุงกระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก ส่วนเอว ในกรณีมีปัญหากระดูกสันหลังจากการบาดเจ็บ อุบัติเหตุ หรือภาวะกระดูกเสื่อม

 

อุปกรณ์บริหารข้อไหล่เป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดอาการข้อไหล่ติด กล้ามเนื้อยึดตึงข้อไหล่ และกล้ามเนื้อกลุ่มเคลื่อนไหวหลัก รวมถึงการบาดเจ็บบริเวณข้อไหล่เกิดขึ้นได้เสมอทั้งจากการทำงานเกินกำลังของระบบกล้ามเนื้อและเอ็นรอบๆข้อไหล่ การบาดเจ็บของข้อไหล่อาจเกิดจาการเล่นกีฬา การทำงานหรือการอักเสบต่างๆ อุปกรณ์กายภาพบำบัดที่ช่วย ได้แก่ อุปกรณ์หมุนไหล่ รอก  เป็นต้น

 

อุปกรณ์ช่วยฝึกเดินเป็นเครื่องมือกายภาพบำบัดผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในการควบคุมการทรงตัว การเดิน หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้นอุปกรณ์กายภาพบำบัด ได้แก่ โครงเหล็กช่วยเดิน ไม้ค้ำยัน และไม้เท้า ซึ่งอุปกรณ์ช่วยเดินแต่ละประเภทมีลักษณะทางกายภาพ ระดับการช่วยพยุงน้ำหนักตัว

BACK