อุปกรณ์วัดออกซิเจนปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์พกพาที่ใช้ภายนอก โดยใช้สำหรับตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินในหลอดเลือดแดง (SpO2) และอัตราชีพจร เหมาะสำหรับการใช้งานส่วนตัว (ที่บ้านหรือระหว่างเดินทาง) รวมถึงเหมาะสำหรับใช้งานทางการแพทย์ (โรงพยาบาล และสถานอำนวยความสะดวกประเภทโรงพยาบาล)
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วจะตรวจวัดระดับออกซิเจนได้ โดยการปล่อยคลื่นแสงจากด้านบนที่อยู่บริเวณเล็บ ผ่านนิ้วลงมาที่ตัวรับแสงที่อยู่อีกด้านบริเวณปลายนิ้วของผู้ใช้ เพื่อตรวจวัดฮีโมโกลบินที่จับตัวอยู่กับออกซิเจนในเลือด (Oxyhemoglobin) จากนั้น จึงนำมาคำนวณหาค่าความเข้มข้นของออกซิเจนภายในเลือด ออกเป็นเปอร์เซ็นต์ (ร้อยละ) แล้วแสดงผลผ่านหน้าจอของตัวเครื่อง โดยมีค่าการวัดผลดังนี้
หน้าตาของตัวเรือนคล้ายกับนาฬิกา บอกค่าด้วยตัวเลขดิจิทัล เมื่อได้เครื่องมาแล้วเกิดคำถามว่าเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วดูยังไง เนื่องจากแต่ละยี่ห้อมีการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ต้องดูจากคู่มือประกอบ แต่หลักการส่วนใหญ่ก็คล้ายกัน ดังนี้
วิธีอ่านค่าอุปกรณ์วัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ค่าปกติของระดับออกซิเจนที่วัดได้อยู่ที่ 96-100%
เลขตัวบน คือ ค่าระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์
เลขตัวล่าง คือ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ มีหน่วยเป็นครั้ง ต่อ นาที
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ใช้หลักการวัดคลื่นแสงที่ปล่อยผ่านเล็บของผู้ใช้งาน และวัดค่าแสดงผลที่หน้าจอของเครื่อง ใช้หลักการดูดซับสเปกตรัมของฮีโมโกลบิน (Heboglobin) ชนิดที่ประกอบด้วยโมเลกุลของออกซิเจน และนำไปคำนวณค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนด้วยสูตรคณิตศาสตร์
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ถูกนำมาใช้ในช่วงโควิดระบาด การวัดออกซิเจนในเลือดด้วยตัวเองสามารถบ่งบอกการทำงานของปอดว่าปกติหรือไม่ โดยค่าที่วัดได้หลังออกกำลังกาย ต้องเท่ากับหรือมากกว่าค่าที่วัดก่อนออกกำลังกาย หากค่าที่วัดได้น้อยกว่าค่าเดิม 3% ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพและตรวจรักษาเพิ่มเติมกับแพทย์
เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ซื้อหามาใช้ที่บ้านได้เหมือนเครื่องวัดความดัน และเครื่องวัดน้ำตาล จึงเป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยา หรือในเว็บไซต์ออนไลน์ทั่วไป โดยก่อนเลือกซื้อควรเปรียบเทียบราคาและความคุ้มค่า ก่อนซื้อควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
ใช้งานง่ายหรือไม่
มีความแม่นยำสูง
ได้มาตรฐานการผลิตหรือไม่
มีคู่มือแนะนำการใช้งานอย่างชัดเจน
ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด สามารถบอกความเปลี่ยนแปลงของปอดได้ จึงนำมาประเมินความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นกับปอด อย่างไรก็ดี ก่อนซื้อควรศึกษาวิธีอ่านค่า เพื่อไม่ให้แปลผลผิดพลาด แต่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วไม่ได้ใช้ตรวจสอบอาการโควิด-19 โดยตรง ต้องดูอาการอื่นๆ ของโรคร่วมด้วย ผู้ใช้งานควรได้รับการวินิจฉัยซักประวัติจากผู้เชี่ยวชาญ
ถ้าใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่ไม่มีคุณภาพ จะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง?
สำหรับท่านที่กำลังมองหาเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด หากไปลองเสิร์ชดูในอินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่ามีเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ววางขายอยู่มากมาย แถมราคายังมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน หากเปรียบเทียบราคา 200 กับ 2,000 แน่นอนว่าทุกคนคงอยากซื้อในราคาที่ถูกที่สุด แต่หากมองให้ลึกกว่านั้น ยี่ห้อต่างกัน ราคาต่างกัน ฟังก์ชันต่างกัน คุณภาพก็ย่อมต่างกันเช่นกัน
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด เป็นเครื่องมือแพทย์หนึ่ง ที่ใช้สำหรับวัดค่าออกซิเจนภายในเลือด รวมถึงการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งค่าเหล่านี้มีความเซนซิทีฟมาก เนื่องจากเกี่ยวกับการหายใจโดยตรง ซึ่งเป็นระบบร่างกายที่สำคัญมาก โดยเฉพาะกับผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องคอยเฝ้าระวังระดับค่าออกซิเจนในเลือดอยู่ตลอด อย่างเช่น ผู้ป่วยโรคปอด ผู้ป่วยความดันต่ำที่อยู่ในภาวะที่เสี่ยงจะช็อคได้ทุกเมื่อ
ดังนั้นค่าออกซิเจนที่ปรากฏบนหน้าจอของเครื่องวัดออกซิเจน จึงมีความสำคัญมาก เพราะหากพบว่าผู้ป่วยเหล่านั้นมีค่าที่ผิดปกติ เราจะสามารถแจ้งแพทย์ให้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ผู้ป่วยจะทรุดจนถึงขั้นวิกฤต
ในทางกลับกัน หากเราใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่ไม่มีคุณภาพ ความแม่นยำในการแสดงค่าออกซิเจนในเลือดย่อมไม่ถูกต้อง ซึ่งเราไม่อาจรู้ได้ว่า ค่าในความเป็นจริงกับค่าที่แสดงผลบนหน้าจอของเครื่องนั้นสัมพันธ์กันหรือไม่
หากในความเป็นจริงนั้น ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำ แต่ตัวเครื่องกลับแสดงผลออกมาว่าปกติ จนทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่ภายในหนักขึ้นเรื่อย ๆ เราจะพบความผิดปกติอีกทีเมื่อผู้ป่วยแสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น ซึ่งในตอนนั้นผู้ป่วยอาจมีภาวะร้ายแรงจนถึงขั้นวิกฤตได้ ดังนั้น เรื่องของคุณภาพของตัวเครื่อง จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงมากกว่าเรื่องของราคา เพราะเรื่องของชีวิตย่อมมีค่ามากกว่าเงินที่เสียไป