หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

เวียนหัว บ้านหมุน (Vertigo)


การรักษาเวียนศรีษะ บ้านหมุน enlightened


     อาการเวียนศีรษะ เป็นอาการที่พบได้บ่อย เป็นความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ซึ่งแท้ที่จริงแล้วไม่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นจริง ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนไป รู้สึกว่าตัวผู้ป่วยเองหมุนหรือไหวไป ทั้งๆที่ตัวผู้ป่วยเองอยู่เฉยๆ ความรู้สึกดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดในการรับข้อมูล หรือการเสียสมดุลของระบบประสาททรงตัวของร่างกายเนื่องจาก อวัยวะการทรงตัวและอวัยวะการได้ยิน อยู่ใกล้ชิดสัมพันธ์กันจากหูไปสู่สมอง โรคของระบบทรงตัวจึงมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยิน หูอื้อ และมีเสียงดังรบกวนในหูได้ เมื่อเกิดอาการเวียนศีรษะ มักจะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของลูกตา (ตากระตุก หรือ nystagmus) การเซ การล้ม อาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกร่วมด้วยได้


อาการเวียนศีรษะ สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ yes


 กลุ่มที่มีอาการมึนหัว คือ “รู้สึกเวียนหัวเพียงอย่างเดียว” ไม่มีอาการบ้านหมุนๆ หรือสิ่งรอบตัวหมุน รู้สึกมึนงง เบาๆ ลอยๆ และมีอาการหน้ามืดหรือวูบได้ง่าย กลุ่มอาการเวียนหัวแบบนี้ เกิดจากแรงดันเลือดและปริมาณเลือดที่ส่งไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ พบในผู้สูงอายุหรือมีภาวะโรคประจำตัวที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต หรือโรคเบาหวาน และอาการเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษา


 กลุ่มที่มีอาการหลอนของการเคลื่อนไหว ผู้ที่มีอาการในกลุ่มนี้ จะรู้สึกว่าทุกสิ่งรอบๆ ตัวหมุนโดยที่ตัวเราอยู่นิ่ง คล้ายกับเมาเหล้า ทำให้เสียการทรงตัว เดินไม่สะดวก และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาการเวียนหัวในกลุ่มนี้เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่มีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและสมดุลต่างๆ ในร่างกาย เช่น โรคนิ่วในหูชั้นใน โรคแรงดันน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน หรือมีการติดเชื้อลึกเข้าไปหูชั้นใน เป็นต้น โดยแพทย์จะเรียกอาการในกลุ่มนี้ว่า Vertigo


สาเหตุของอาการเวียนศีรษะ 


สาเหตุทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนได้ เช่น

  1. 1. โรคหินปูนในหูชั้นใน หรือ BPPV เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน พบมากในผู้สูงอายุ อาการเฉพาะของโรคนี้คือ อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนที่เกิดขึ้นทันทีที่เปลี่ยนท่าทางของศีรษะ (ระหว่างล้มตัวลงนอน ก้มหยิบของ) อาการมักจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นแค่ช่วงวินาทีที่ขยับศีรษะ แล้วอาการจะค่อยๆ หายไป แต่ผู้ที่ป่วยโรคนี้มักมีอาการเป็นซ้ำเกือบทุกวัน แต่จะไม่มีอาการหูอื้อ สูญเสียการได้ยิน หรือได้ยินเสียงผิดปกติในหู รวมถึงไม่มีอาการทางระบบประสาท เช่น แขนขาชาหรืออ่อนแรง
  1. 2. โรคเวียนศีรษะจากไมเกรน ไมเกรนเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะปวดหัวข้างเดียว มีอาการปวดตุบๆ ตามจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งในบางครั้งแทนที่จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวเป็นอาการที่โดดเด่น แต่กลับกลายเป็นว่ามีอาการเวียนหัวแทน มักจะเป็นๆ หายๆ สลับกันไป เมื่อมีอาการเกิดขึ้นประสิทธิภาพการได้ยินจะลดลง หูอื้อ แพ้แสงจ้า หรือมีการเห็นแสงวูบวาบร่วมด้วย บางครั้งอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เนื่องจากเกิดอาการหูอื้อ
  1. 3. โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ผู้ป่วยจะมีอาการบ้านหมุนอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนและสูญเสียการทรงตัว เดินแล้วเซหรือล้มได้ง่าย โรคน้ำในหูไม่เท่ากันนี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับร่างกายเพราะอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวเพิ่มขึ้นได้
  1. 4. โรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคโลหิตจาง หรือโรคความดันโลหิตสูง ที่ต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตหลายประเภท ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตต่ำ เลือดไม่เพียงพอต่อการไปเลี้ยงสมอง ทำให้มีอาการหน้ามืด หรือเป็นลมตามมา
  1. 5. โรคที่เกิดจากความเครียด หรือโรคทางจิตเวช จะเกิดอาการเวียนหัวอย่างมากเมื่ออยู่ในที่แคบ ที่โล่ง ที่สูง หรือที่ชุมชน แต่อาการจะหายไปเมื่อไม่อยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อผู้ป่วยเกิดความเครียดเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอาการหายใจเร็วกว่าปกติมาก (Hyperventilation syndrome) หายใจไม่เต็มอิ่ม มือเท้าชาและเย็น หรือมือจีบเกร็ง และเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก


การป้องกันและการดูแลตัวเองในโรคเวียนหัว บ้านหมุน


ถ้าผู้ป่วยหายเวียนศีรษะแล้ว ควรป้องกันไม่ให้มีอาการเวียนศีรษะอีก โดย


 หลีกเลี่ยงเสียงดัง


 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาททรงตัว เช่น aspirin aminoglycoside quinine


 หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู


 หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหู หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน


 ลดอาหารเค็ม หรือเครื่องดื่มบางประเภท เช่น กาแฟ ชา, เครื่องดื่มน้ำอัดลม, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, งดการสูบบุหรี่


 พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว, ลดความเครียด วิตกกังวล และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ


 หลีกเลี่ยงสารคาเฟอีน (ชา น้ำอัดลม กาแฟ) การสูบบุหรี่


 พยายามหลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ในระหว่างเกิดอาการ


 พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิด อาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล


 นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

BACK