หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ภาวะเสื่อมสมถรรภาพทางเพศ (Erectile dysfunction) 

 

 
     ภาวะเสื่อมสมถรรภาพทางเพศ หมายถึง สภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่นานพอ ส่งผลให้อาจเกิดสภาวะหลั่งเร็ว หลั่งไว และที่สำคัญอาจกระทบจิตใจ ทำให้ห่อเหี่ยว รู้สึกไม่มั่นใจ หรืออาจกระทบทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวตามมา โดยอาการดังกล่าวมักมีสาเหตุมาจากสภาวะหลอดเลือดไม่แข็งแรง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วนลงพุง โรคเครียด การสูบบุหรี่ หรืออาจมีสาเหตุจากสภาวะฮอร์โมนที่ลดลงตามอายุ ปัจจุบันพบมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น และสามารถพบได้ทุกวัย แต่จะพบมากในอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป 

 
     ตามธรรมชาติอวัยวะเพศแข็งตัวเมื่อมีการกระตุ้นทางเพศจากสมอง หรือประสาทสัมผัสต่างๆ ปลายประสาทที่อยู่ในอวัยวะเพศจะหลั่งสารบางอย่าง มีผลทำให้หลอดเลือดแดงภายในอวัยวะเพศขยายตัว เลือดแดงจะไหลเข้ามาในอวัยวะ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อพรุนคล้ายฟองน้ำมากขึ้น ส่งผลให้อวัยวะเพศชายมีการขยายโตและยาวขึ้น และในขณะเดียวกันเลือดดำที่อยู่ขอบนอกจะถูกเบียดให้แฟบลง ยิ่งทำให้เลือดมาคั่งในอวัยวะเพศ อวัยวะเพศจึงแข็งตัวพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ 

 
     ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หรือโรค อีดี (ED/ Erectile dysfunction) หมายถึง อาการที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่นานพอ บางรายมีอาการหลั่งเร็ว หลั่งไว สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเหล่านี้เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะเพศไม่เพียงพอ ปัจจุบันพบผู้ที่มีโอกาสป่วยด้วยอาการนี้สูงกว่าในอดีตที่ผ่านมาถึง 3 เท่า เนื่องจากการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้เพศชายเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศสูงขึ้น

 

 ลักษณะอาการภาวะเสื่อมสมถรรภาพทางเพศ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้  enlightened

 
     ผู้ชายส่วนใหญ่เมื่อถึงวัยกลางคนจะเริ่มมีปัญหากามตายด้าน เกิดขึ้นร้อยละ 37 ของผู้ชายอายุ 40-70 ปีเป็นโรคนี้ โดยมีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด ยิ่งอายุมากขึ้นจะยิ่งพบผู้ป่วยมากขึ้นไปตามวัย เพราะฮอร์โมนเพศลดลงพร้อมๆ กับความเสื่อมของร่างกาย โดยสามารถจัดระดับความรุนแรงได้ ดังนี้ 

  1.      1. ระดับความรุนแรงน้อย ในระดับนี้สามารถสังเกตได้จากเวลาที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์จะสามารถสำเร็จได้เกือบทุกครั้ง 
  1.      2. ระดับความรุนแรงปานกลาง หากมีเพศสัมพันธ์จะสำเร็จได้ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งในการร่วมเพศ 

     

  1.      3. ระดับความรุนแรงมาก ล้มเหลวทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ 


 

สาเหตุหลักของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ 

▶ ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดหรือความกังวลต่างๆ โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งกลัวว่าอวัยวะเพศจะไม่สามารถแข็งตัวได้ จนกลายเป็นสิ่งรบกวนใจได้ 


▶ สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมองและการลดลงของแรงขับทางเพศ ได้แก่ อาการซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท การใช้ยาที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาระงับประสาท ยาต้านการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด และแอลกอฮอล์ รวมไปถึงการป่วยเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ ปอด ไต หรือโรคตับ และโรคมะเร็งบางชนิด 


▶ การเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง รวมถึงระดับเทสโทสเทอโรนลดลง ระดับโปรแลกตินเพิ่มขึ้น และภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป 


▶ ความผิดปกติต่างๆ ทางสมอง ซึ่งความผิดปกตินี้อาจไม่มีผลต่อเรื่องความต้องการทางเพศ แต่จะมีความเกี่ยวเนื่องทางระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการทำหน้าที่ทางเพศ

 
▶ มีความผิดปกติที่บริเวณไขสันหลัง เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง (Multiple Sclerosis) หรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง 


▶ เส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย โดยมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน หรือการผ่าตัดกระดูกเชิงกรานเพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งลำไส้ 


▶ การรับประทานยาบางชนิด ก็อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาการเสื่อสมรรถภาพทางเพศได้ ได้แก่ ยาต้านอาการซึมเศร้า ยากลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน ยาลดความดันโลหิตสูง เบต้า-บล็อกเกอร์ (และยาลดความดันอื่นๆ) รวมไปถึงการได้รับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆด้วย

 
▶ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดส่วนปลาย (การไหลเวียนของเลือดไม่ถึงอวัยวะส่วนปลายสุดและอวัยวะเพศชาย) 


▶ความอ่อนล้า 


▶ อายุมากขึ้น 
 
     ผู้ป่วยที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทุกราย หากผู้ป่วย และคู่สมรสไม่รู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเดือดร้อนต่อการใช้ชีวิตคู่ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีปัญหานี้เป็นข้อบ่งชี้ว่าอาจเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมถึงยังอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอื่นๆ ได้ด้วย ดังนั้น แม้ว่าไม่ต้องการจะมีเพศสัมพันธ์แล้ว แต่ก็ควรเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพเพื่อประเมินโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ 

BACK