ไข้หวัด (Flu/Cold) เป็นโรคพบบ่อยมาก ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งมักพบเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6-8 ครั้ง เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่่ากว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กอนุบาล จึงมีโอกาสเป็นหวัดได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่มาก ไข้หวัดเป็นโรคเกิดได้ตลอดปี แต่พบบ่อยกว่าในฤดูฝนและฤดูหนาว เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหลายสายพันธุ์ที่ท่าให้เกิดการอักเสบของอวัยวะระบบทางเดินหายใจ จึงเป็นสาเหตุที่ท่าให้ไข้หวัดสามารถเป็นซ้่าบ่อยๆได้ตลอดปี
โรคไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ส่วนมากมักจะพบว่าติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไรโนไวรัส (Rhinoviruses) เชื้อเหล่านี้จะเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านช่องทางจมูก ตา และปาก หรือการรับมาจากอากาศรอบ ๆ ตัวของเรา โรคไข้หวัดยังสามารถติดต่อจากผู้ป่วยได้ด้วยทั้งการใช้ของร่วมกัน หรือการสัมผัสตัวของผู้ป่วย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคไข้หวัด เช่น เด็กที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือการอยู่ในสภาพอากาศที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น ฤดูฝน หรือฤดูหนาว
สำหรับอาการของโรคไข้หวัดเป็นสิ่งที่เรารู้และเข้าใจกันอยู่แล้ว ได้แก่ อาการน้ำมูกไหล ไอ จาม มีอาการคัดจมูก ปวดศีรษะ และมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 37 ถึง 39 องศาเซลเซียส สำหรับอาการอื่นที่อาจพบร่วมด้วยเมื่อเป็นโรคนี้ ได้แก่ มีอาการปวดหู รู้สึกระคายเคืองที่ดวงตา ปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น อาการที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงมากที่สุดในช่วง 3 วันแรก หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นจนหายเป็นปกติ โดยปกติแล้วโรคไข้หวัดจะมีระยะเวลาอยู่ที่ประมาณ 2 อาทิตย์จึงจะหาย ถึงแม้จะเป็นโรคที่ดูเหมือนไม่อันตราย แต่ยังมีอาการเหล่านี้ที่ถือว่าเป็นอันตรายและต้องรีบพบแพทย์ในทันที ได้แก่
อาการของไข้หวัดไข้หวัดจะส่งผลให้เกิดอาการต่อหลายระบบในร่างกาย ⚡
● ไซนัสอักเสบ จากอาการมีน้่ามูก เยื่อจมูกบวมท่าให้คัดจมูก จนลามขึ้นไปถึงโพรงไซนัสที่อยู่ข้างโพรงจมูกและหน้าผาก ท่าให้มีหนองหรือน้่ามูกอยู่ในโพรงไซนัสด้วย เรียกว่า ไซนัสอักเสบ จะมีอาการปวดโพรงไซนัส เสียงอู้อี้ขึ้นจมูก หายใจมีกลิ่นเหม็น การรักษาใช้ยาคล้ายๆ รักษาหวัด แต่อาจจะเป็นยาฆ่าเชื้อที่แรงขึ้น ซึ่งควรอยู่ในการดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร รวมทั้งการล้างจมูกด้วยตนเองก็ช่วยลดปริมาณเชื้อโรคและท่าให้หายใจโล่งขึ้นได้
● หูอักเสบ เนื่องจากหูและคอมีท่อที่เชื่อมต่อกัน เมื่อเป็นหวัด เยื่อบุต่างๆ จะบวม ท่าให้เยื่อที่บุอยู่ในท่อนี้บวมไปด้วยจนตีบตัน จึงไม่สามารถระบายแรงดันอากาศในช่องหูชั้นกลางออกมาได้ ท่าให้ปวดหูหรือบางครั้งเชื้อโรคอาจจะลามขึ้นไปติดเชื้อในหูชั้นกลาง ท่าให้เกิดเป็นหูอักเสบหรือหูน้่าหนวกได้ด้วย การรักษาจะใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อก่อโรคหูอักเสบได้หรือมียาหยอดหูร่วมด้วย
● หลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบ เมื่อเชื้อโรคผ่านหลอดลมลงมาส่วนล่างเข้ามาที่ปอด สามารถทําให้เป็นหลอดลมอักเสบหรือปอดอักเสบได้ ท่าให้ไอมากขึ้น มีไข้หรือหอบเหนื่อยได้ บางกรณีที่เป็นมาก อาจต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรับยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือด
● หอบหืด สําหรับคนที่มีโรคประจําตัวเดิมเป็นหอบหืดหรือหลอดลมมีความไวต่อการถูกกระตุ้นและเกิดการตีบตัว ท่าให้หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดในปอด เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขอาการหลอดลมตีบด้วยยาขยายหลอดลม คนที่เป็นโรคหอบหืดจึงต้องรีบรักษาหวัดให้หาย
● ชักจากไข้สูง มักพบในเด็กอายุต่่ากว่า 6 ขวบ ให้รีบลดไข้ด้วยการเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้ อย่าปล่อยให้ไข้สูงนาน จนเกิดอาการชักและรักษาหวัดให้หาย
● ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้่าและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจลท่าความสะอาดมือ
● ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วนํ้า หลอดดูดนํ้า ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
● ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด
● รับประทานอาหารปรุงสุก และใช้ช้อนกลาง
● รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รับประทานผักและผลไม้สด เป็นประจ่าทุกวัน
● รับประทานวิตามิน อาหารเสริม เพื่อบ่ารุงร่างกาย
● ดื่มน้่าสะอาด หรือน้่าต้มสุก อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
● ออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอ
● นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
● ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จ่าเป็น
● เช็ดท่าความสะอาดพื้นผิว และสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อยๆ ด้วยน้่าผงซักฟอกหรือน้่ายาท่าความสะอาดทั่วไป