ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดีเองได้ใต้ชั้นผิวหนัง ผ่านการกระตุ้นจากรังสียูวีบี เพื่อป้องกันการขาดวิตามินดี แนะนำให้ออกมาสัมผัสแสงแดดบ้าง โดยเฉพาะแสงแดดตอนเช้าในอาหารพบมากในปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาซาร์ดีน ไข่ และนมที่มีการเติมวิตามินดี แต่ถ้าหากเราไม่สามารถปรับไลฟ์สไตล์ การรับประทานวิตามินดีในรูปของอาหารเสริม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง และเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและผลลัพธ์ที่ดีควรปรึกษาแพทย์และตรวจระดับวิตามินดีในเลือดก่อนเสริมวิตามิน
นอกจากวิตามินดีจะมีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกบาง และกระดูกพรุน วิตามินดียังมีคุณสมบัติพิเศษอีกมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ นั่นคือ วิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสำคัญต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวาน
นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีการค้นพบ Vitamin D Receptor หรือตัวรับที่จับกับวิตามินดีบน T cell และ B cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาคุกคามร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนการให้วิตามินดีเสริมเพื่อช่วยต้านโรคมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก นอกจากนี้วิตามินดียังช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินมากขึ้น มีผลช่วยลดความเครียด และ ภาวะซึมเศร้าอีกด้วย
วิตามินดีช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินมากขึ้น มีผลช่วยลดความเครียด และ ภาวะซึมเศร้าได้อีกด้วย ในด้านผิวพรรณ วิตามินดีช่วยในการแบ่งเซลล์ และการพัฒนาเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่าง ๆ ช่วยชะลอวัยของผิว วิตามินดียังมีผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่มีความหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ที่เรียกว่า Endurance Sport เช่น การวิ่งระยะไกล การปั่นจักรยาน ไตรกีฬา
นำออกซิเจนจากเลือดส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ได้ดีขึ้นขณะออกกำลังกาย
ลดอาการเมื่อยล้าและอักเสบของกล้ามเนื้อ
เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น
ช่วยดูดซึม แคลเซี่ยม และ ฟอสฟอรัส ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงพัฒนาการของกระดูกและฟัน
ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน รักษาระดับภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกายจากโรคหวัด
มีส่วนช่วยให้การทำงานของสมองเป็นไปอย่างราบรื่นโดยเฉพาะในวัยสูงอายุ
ช่วยในกระบวนการสำคัญต่างๆของร่างกาย
สำหรับการรับ วิตามินดี ในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมนั้น ควรได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดอย่างเหมาะสมในแต่ละวัน เพราะอาหารที่มีวิตามินดีสูงมีจำกัด ทำให้การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยปริมาณวิตามินดีในปริมาณที่แนะนำให้รับต่อวัน ดังนี้
ใครควรได้รับวิตามินดีเสริม
ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
ทั้งชายและหญิง มีความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน และเสี่ยงต่อการลื่นล้มได้ง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อแขนขาไม่แข็งแรงจากภาวะการขาดวิตามินดี
ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ฮอร์โมนเพศหญิงที่ลดลง ทำให้กระบวนการสลายแคลเซียมเกิดมากขึ้น ส่งผลให้ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน (อ่านเรื่องความจำเป็นของผู้หญิงวัยทองกับวิตามินดีแบบละเอียดได้ที่นี่)
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี
เนื่องจากร่างกายได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ เช่น กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ ผู้ป่วยพักฟื้น
ผู้ที่ต้องการบำรุงกระดูก
ป้องกันโรคกระดูกพรุน ควรรับประทานวิตามินดีปริมาณสูงร่วมกับการรับประทานแคลเซียมเสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโรคกระดูกพรุน
ไม่ควรได้รับวิตามิน ดี ในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดอันตรายกับสุขภาพได้ เช่น กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ดึงแคลเซียม จากกระดูกไปพอกที่ผนังหลอดเลือด หัวใจ ปอด และไต ทำให้คอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น