หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Vitamin B1 (วิตามินบี1)

     วิตามินบี1 หรือ ไทแอมีน (thiamine) เป็นวิตามิน ที่ละลายน้ำชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ และนำกระแสความรู้สึกของเส้นประสาท ถ้าร่างกายได้รับวิตามินบี1ไม่เพียงพอ จะทำให้เป็นโรคเหน็บชา โรคนี้เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่มอายุ สำหรับเด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศ ที่ประชาชนรับประทานข้าวที่ขัดสีเป็นข้าวขาว เป็นอาหารหลัก โดยไม่รับอาหารอื่นที่มีวิตามินบี1เสริมอย่างเพียงพอ 

     ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินบี1ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่บริโภค ร่างกายจะสะสมไทแอมินไว้ได้เพียงเล็กน้อย โดยกระจายอยู่ตามเนื้อเยื้อต่างๆ ได้แก่ ตับ ไต หัวใจ สมอง และกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีความเข้มข้นสูงกว่าในเลือดเล็กน้อย ไทแอมินจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร วิตามินบี1จะพบในอหารหลายประเภท เช่น ยิสต์ ธัญพืช ถั่ว และเนื้อสัตว์ และมักจะผสมในวิตามินบีรวม Thiamine หน้าที่มีส่วนในการทำงานของเส้นประสาทกล้ามเนื้อ หัวใจและการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต์ จะทำงานเป็น coenzyme ช่วยในการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้ง หากขาดวิตามินนี้จะมีอาการปลายประสาทอักเสบ มีอาการทางสมอง และทางเดินอาหาร แหล่งอาหาร พบมากในธัญพืชเช่นข้าว ถั่วชนิดต่างๆเครื่องในสัตว์ ไข่ หมู

 

ประโยชน์ของวิตามินบี1

สาเหตุของการขาดวิตามินบี1
 

    เกิดจากการรับประทานวิตามินไม่เพียงพอ โดยเฉพาะรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีจะทำให้วิตามินหลุดออกไป ภาวะร่างกายมีการเพิ่มเผาผลาญพลังงาน จะมีการสลายตัวของคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ความต้องการวิตามินบี1 จึงสูงขึ้นด้วย ภาวะดังกล่าวได้แก่ เช่น คนท้อง คนที่คอพอกเป็นพิษ ผู้ที่ให้นมบุตร คนที่มีไข้สูง โรคติดเชื้อ หรือมีความเจ็บป่วยต่างๆ ได้แก่ การผ่าตัด ภาวะเครียด นอกจากนี้
ยังอาจพบในภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมาก

    การรับประทานวิตามินบี1 ในปริมาณซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาจเกิดจากความอดอยาก และหรือการรับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วน หรือได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จากการได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) เป็นต้น

  ✿  เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงมีครรภ์ และหญิงกำลังให้นมบุตร การทำงานหนักภาวะ malabsorptionโรคท้องร่วงเรื้อรังทำให้ลำไส้ดูดซึมวิตามินบี1ลดลงขาดสารอาหารเรื้อรัง ขาดสารอาหารกรดโฟลิก

  ✿  พิษสุราเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้การบริโภคอาหารรวมทั้งวิตามินบี1ลดลง และความสามารถของตับที่จะเปลี่ยนวิตามินบี1 เป็น TPP จะลดลงในรายที่เป็นโรคตับแข็งนอกจากนี้ร่างกายจะสูญเสียวิตามินบี1 จากการใช้ยาขับปัสสาวะ ท้องร่วง และการทำ hemodialysis

อาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี1 ซึ่งจำแนกได้ 2 ชนิด คือ

  1. สารที่ไม่ทนต่อความร้อน (heat labile) ซึ่งเป็นเอนไซม์ ที่เรียกว่า thiaminase พบได้ในอาหารจำพวกปลาน้ำจืด หอยลาย และปลาร้า
  2. สารที่ทนต่อความร้อน (heat stable) สารประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด พบได้ในพืชและผัก พวกใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู สีเสียด นอกจากนี้ยังอาจพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิด


 

อาการของผู้ที่ขาดวิตามินบี1เป็นอย่างไร enlightened

   อาการทั่วๆจะมีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร ท้องผูก ผู้ป่วยจะมีอาการชาโดยเฉพาะทปลายเท้าทั้งสองข้างเรียก beriberi บางรายอาจจะมีอาการปวด หรือเป็นตะคริวโดยเฉพาะเวลากลางคืน

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินบี1

  ✿ วิตามินบี1 ในรูปของอาหารเสริม มีปริมาณตั้งแต่ 25 - 500 มิลลิกรัม จะมีประสิทธิภาพดีมากหากอยู่ในรูปของวิตามินบีรวม เช่น วิตามินบี 2 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 กรดโฟลิก โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือ 100-300 มิลลิกรัม

  ✿ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันหรือที่ร่างกายต้องการต่อวันคือ 1-1.5 มิลลิกรัม สำหรับผู้ใหญ่ และ 1.5-1.6 มิลลิกรัม สำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

  ✿ หากคุณเป็นคนที่ชอบรับประทานอาหารหวานจัด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่เป็นประจำ ร่างกายจะต้องการวิตามินบี1 เพิ่มมากขึ้น

  ✿ หากตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุม คุณต้องได้รับวิตามินบี1 มากกว่าปกติ

  ✿ หากคุณรับประทานยาลดกรดในกระเพาะหลังอาหารเป็นประจำ คุณอาจไม่ได้รับวิตามินบี1 ที่ควรจะได้จากอาหารมื้อนั้น ๆ

  ✿ ในภาวะเครียด เจ็บป่วย มีอาการบาดเจ็บหลังผ่าตัด คุณควรรับประทานวิตามินบีรวมเสริมด้วย

  ✿ เมื่อเจ็บป่วย มีอาการเครียด ผ่าตัด ร่างกายจะต้องการวิตามินบี1 เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ

การขาดวิตามินบี1 ส่งผลเสียอะไรบ้าง  crying

  กลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดไธอามีน มีชื่อเรียกง่ายๆ ว่า beriberi (เบอริ-เบอรี่) อาการและอาการแสดงในผู้ที่ขาดไธอามีนมักเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและหัวใจ7 ซึ่งมีอาการดังนี้


  ✿ อาการที่เกี่ยวกับระบบประสาทผิดปกติ (dry beriberi) มักมีอาการชาตามมือและเท้า (numbness) อาจมีการรับความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไป รู้สึกเหมือนมีแมลงไต่ตลอดเวลาทั้งที่ความจริงไม่มี (paresthesia) นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงขั้นกล้ามเนื้ออ่อนแรง และมีการรับรู้สติที่เปลี่ยนแปลงไป (alteration of consciousness)

  ✿ อาการที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดผิดปกติ (wet beriberi) มักพบอาการคั่งน้ำ เกิดการบวมของแขนขาและอวัยวะต่างๆ อาจพบความดันโลหิตต่ำ น้ำท่วมปอด และบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลวหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที

  ✿ ในบางรายอาจพบความผิดปกติร่วมกันทั้งระบบประสาทและหัวใจเลยก็ได้


   ผู้ป่วยที่เป็น beriberi ควรได้รับการรักษาด้วยการให้ไธอามีนเสริม ซึ่งมักเป็นชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อความแน่นอนของขนาดยาที่ร่างกายจะได้รับและมีความรวดเร็วทันท่วงที8 หากสาเหตุของความผิดปกติมาจากการขาดไธอามีนจริง ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนภายในระยะเวลาไม่นาน หลังจากผ่านช่วงวิกฤติไปแล้ว ผู้ป่วยจะต้องรับประทานไธอามีนชนิดเม็ดเสริมเป็นระยะเวลา 1 เดือน และควรทำการหาสาเหตุของการขาดไธอามีนในผู้ป่วยรายนั้นให้พบแล้วทำการแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับมาป่วยด้วย beriberi อีกในอนาคต

BACK