หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Gingko Biloba (สารสกัดจากใบแปะก๊วย)

 

สรรพคุณที่น่าสนใจของสารสกัดจากใบแปะก๊วย enlightened

     แป๊ะก๊วย (หรือ Maidenhair Tree) มีถิ่นกำเนิดจากทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตันไม้ที่ถูกนำมาใช้ในตำรับยาตั้งแต่สมัยโบราณ ต้นไม้ชนิดนี้ไม่มีความเกี่ยวเนื่องทางสายพันธุ์กับต้นไม้อื่นใด แต่ก็ดำรงชีวิตมานานถึง 240 ล้านปี จนถูกขนานนามว่าเป็น "ฟอสซิลที่มีชีวิต (a living fossil)” มันมีความคงทนแข็งแรงและสามารถเจริญเติบโตได้ง่าย จนมีความสูงได้ถึง 30-40 เมตร ต้นแป๊ะก๊วยเริ่มเข้ามาแพร่หลายสู่ทวีปยุโรปในศตวรรษที่ 17 ลักษณะของใบแป๊ะก๊วยจะคล้ายรูปพัด มีขอบใบเว้าเข้าตรงกลางทำให้ดูคล้ายถูกแบ่งเป็น 2 พู ซึ่งในใบนี้จะมีสารสำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะสาร ginkgoflavone glycosides และ terpene lactones ที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติทางยานำมารักษาอาการผิดปกติต่างๆ ได้

   

     “การไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ” เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงเลยสำหรับผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งต้องเสี่ยงกับโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายมากขึ้น แต่ยังมีสมุนไพรชนิดหนึ่งที่อาจจะเรียกได้ว่ามีสรรพคุณ “ครอบจักรวาล” เพราะเราพบว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากถึง 13 ชนิดด้วยกัน นั่นก็คือ “ใบแปะก๊วย”
 
ʕ·ᴥ·ʔ โรคอัลไซเมอร์ มีงานวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระดับเริ่มต้นถึงปานกลางรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นระยะเวลา 5 – 6 เดือน มีประสิทธิภาพเทียบเท่าการรับประทานยาโรคอัลไซเมอร์บางตัวได้


ʕ·ᴥ·ʔ เพิ่มสมาธิและความจำ สารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านความคิด ความจำ การคิด และทำให้มีสมาธิมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อรับประทานร่วมกับสารสกัดจากโสม


ʕ·ᴥ·ʔ อาการเบาหวานขึ้นตา ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการจอประสาทตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน เมื่อรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยแล้วพบว่า มองเห็นภาพสีได้ดีขึ้นจอประสาทตาเสื่อมจากวัย มีหลักฐานงานวิจัยบางฉบับที่พบว่า สารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถช่วยในการมองเห็นของผู้สูงอายุได้


ʕ·ᴥ·ʔ การรักษามะเร็งด้วยรังสี พบว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถลดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการฉายรังสีได้


ʕ·ᴥ·ʔ Raynaud’s disease หรือโรคนิ้วม่วงจากหลอดเลือดส่วนปลายนั้น หากรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นประจำ จะช่วยลดความถี่จากอาการปวดลงได้บ้างพอสมควร

ʕ·ᴥ·ʔ โรคด่างขาว สารสำคัญในใบแปะก๊วยจะช่วยลดขนาดและการกระจายของผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคด่างขาวได้

ʕ·ᴥ·ʔ อาการปวดจากโรคหลอดเลือดส่วนปลาย เมื่อผู้ป่วยรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน พบว่าช่วยลดอาการปวดและลดโอกาสที่จะต้องไปรักษาด้วยการผ่าตัด


ʕ·ᴥ·ʔ ช่วงกำลังมีประจำเดือน หากรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยตั้งแต่วันที่ 15 หลังจากมีประจำเดือนวันแรก จนถึงวันที่ 5 หลังจากที่มีประจำเดือน จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกและอาการอื่นๆ ขณะมีประจำเดือนได้


ʕ·ᴥ·ʔ อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในผู้หญิง เมื่อรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับโสม แอลอาร์จินีน และวิตามินแร่ธาตุชนิดรวม จะช่วยเพิ่มอารมณ์ทางเพศขึ้นมาได้


ʕ·ᴥ·ʔ โรคจิตเภท การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยควบคู่กับยารักษาโรคอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดอาการของโรคและผลข้างเคียงที่เกิดจากยาได้ดี


ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะเครียดวิตกกังวล การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เดือน จะช่วยลดอาการวิตกกังวลอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงแก้อาการวิงเวียนศีรษะอีกด้วย


ʕ·ᴥ·ʔ โรคสมาธิสั้น มีบางงานวิจัยที่พบว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับโสมอเมริกัน จะสามารถช่วยลดอาการสมาธิสั้นในเด็กอายุ 3 – 17 ปีได้ในระดับหนึ่ง
 
      ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่า ในใบแปะก๊วยนั้นมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้อย่างหลากหลายจริงๆ แต่เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนรับประทานค่ะ

คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไบโอ-บิโลบา yes

     ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไบโอ-บิโลบา ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติ เช่นในสมองและเส้นเลือดส่วนปลาย ด้วยระบบไหลเวียนที่ปกติ การนำพาออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงเซลล์ก็เพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้ช่วยรักษาอาการมือและเท้าเย็นได้ ด้วยปริมาณของสารสกัดแป๊ะก๊วยที่ค่อนข้างสูงในผลิตภัณฑ์ ไบโอ-บิโลบา จึงทำให้ผู้รับประทานเห็นผลชัดเจนภายใน 4 สัปดาห์ เพียงแค่รับประทานวันละ 1-2 เม็ด

     ในภาวะที่เลือดไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อได้น้อย อาจมีผลทำให้ปลายมือ และปลายเท้าเย็นลงได้ ผลิตภัณฑ์ ไบโอ-บิโลบา เป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ช่วยเรื่องการไหลเวียนของเลือด ดังนั้นจึงควรงดผลิตภัณฑ์แป๊ะก๊วยทุกชนิดก่อนทำการผ่าตัดใดๆ (เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดไหลไม่หยุด) อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

สารออกฤทธิ์ใน Gingko Biloba (สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย) มีสารสำคัญ 2กลุ่ม

  1. สารกลุ่มเทอร์ปีนอยด์ ประกอบด้วยสาร sesquiterpene ได้แก่ ไบโลบาไลด์ (bilobalide) และ ไดเทอร์ปีนคีโตน5 ชนิดรวมเรียกว่า “กิงโกไลด์” (ginkgolides) ได้แก่ ginkgolides A, B, C, J และ M
  2. สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ในแป๊ะก๊วยมี flavonoid มากกว่า 30 ชนิด โดยเฉพาะ flavonoid glycoside โดยมีส่วน aglycone เป็นฟลาโวนอยด์หลัก 2 ชนิดคือ quercetin และ kaemferol เช่น quercetin-3-rhamnoside, kaemferol-3-rhamnoside, quercetin-3-rutinoside ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ในใบยังมีสารจำพวก biflavonoids หลายชนิด เช่น amentoflavone, bilobetin, ginkgetin, iso-ginkgetin เป็นสารที่พบเฉพาะในใบแป๊ะก๊วยเท่านั้น ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์สมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ

เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น

เพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดเส้นเล็กๆ ส่งผลให้การนำพาออกซิเจนและอาหารไปเลี้ยงสมอง และส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น

ต่อต้านการจับตัวของเกร็ดเลือด จึงช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดได้

ประโยชน์ของ Gingko Biloba (สารสกัดจากใบแป๊ะก๊วย)ที่ใช้ในทางการแพทย์ enlightened

BACK