หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

เริม (Herpes Simplex) 

     เริมคือโรคติดเชื้อไวรัส เป็นโรคติดต่อเมื่ออาการกาเริบและสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้าลายหรือผิวหนัง โรคนี้ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่มักจะหายไปได้เองใน 1-2 สัปดาห์ มีลักษณะเป็นตุ่มน้าใสๆ เล็กๆ (Blisters) มักจะทาให้เจ็บบริเวณที่ติดเชื้อ ได้แก่ ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก บั้นท้ายหรือต้นขา อาจมีอาการเจ็บปวดหรือแสบที่บริเวณแผล หากเป็นการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการค่อนข้างรุนแรงและหายช้า แต่ถ้าหากเป็นการติดเชื้อซ้า อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เร็วกว่า เมื่อติดเชื้อนี้แล้วเชื้อจะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต 

คุณติดเชื้อเริมได้อย่างไร? 

 
     เริมมีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส Herpes Simplex Virus (HSV) สามารถแบ่งออกเป็น อีก 2 ชนิดย่อยๆ คือ HSV-1 และ HSV-2 ซึ่งสามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คนผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น การสัมผัสกับแผล, การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันทางน้าลายโดยการจูบ ทานอาหารหรือดื่มน้าร่วมกัน ทางเพศสัมพันธ์และกิจกรรมทางเพศที่ไม่มีการป้องกัน โดยเฉพาะการสัมผัสกับน้าคัดหลั่งโดยตรง 

อาการของโรคเริม 

     อาการของเริมทุกบริเวณนั้นค่อนข้างคล้ายกัน โดยจะมีตุ่มน้้าใส (Blisters) บริเวณที่ติดเชื้อ ได้แก่ ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก บั้นท้ายหรือต้นขา อาจแตกเป็นแผลตื้นๆ มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน โดยแผลจะค่อยๆ ตกสะเก็ดและหายในระยะเวลาประมาณ 2-6 สัปดาห์ อาจมีอาการไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะหรือต่อมน้าเหลืองโตร่วมด้วยได้ แต่ถ้าหากเป็นการติดเชื้อซ้า อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เร็วกว่า เชื้อจะคงอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ทาให้เกิดอาการ อาการจะกลับเป็นซ้าได้เมื่อร่างกายอ่อนแอลงเช่น ป่วย, พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่วมกับปัจจัยกระตุ้นต่างๆ 

ปัจจัยใดบ้างที่สามารถกระตุ้นทำให้เริมเกิดซ้ำ

 ความเครียด 


 โดนแสงแดดหรือลมที่มากเกินไป 


 รอยถลอกขีดข่วน 


 การเจ็บป่วยจากโรคอื่น 


 การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ 


 การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท 


 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน (การมีประจาเดือนในผู้หญิง) 

3 ช่องทางแพร่กระจายโรคเริม

การรักษาและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเริม 

  1. 1. อาการส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและหายเองได้ โดยเฉพาะเริมที่กลับเป็นซ้ำ
  2. 2. ผู้ป่วยควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ
  3. 3. หากมีใข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ และรับประทานยาพาราเชตามอลเพื่อลดไข้
  4. 4. ตัดเล็บให้สั้น ไม่แกะเกาบริเวณแผล เพื่อป้องกันมิให้ตุ่มติดเชื้อกลายเป็นหนองและแผลเป็น
  5. 5. ใช้น้ำเกลือกลั้วปากและคอหา กมีแผลในปาก
  6. 6. ทำความสะอาดแผลหากมีการแตกของแผลหรือตกสะเก็ด ด้วยสารทำความสะอาดแผล เช่น สำลี, ผ้าก็อซ,แอลกอฮอล์, เบตาดีน, น้ำเกลือ
  7. 7. รับประทานหรือทายาต้านไวรัส เช่น ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir)ยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) อย่างต่อเนื่องให้ครบคอร์สซึ่งมีทั้งรูปแบบยาเม็ตกินและครีมทา สำหรับการรับประทานยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการ การศึกษาพบว่าสามารถดระยะเวลาการเกิโรคการแร่เชื้อและลดระยะเวลาเจ็บป่วยได้เนื่องจากยามีผลข้างเคียงต่อไต ซึ่งผู้ป่วยโรคไตต้องปรับขนาดยาตามการทำงานของไตโดยอยู่ในการดูแลของแพทย์สำหรับโรคเริมที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศยาต้านไวรัสชนิดทาอาจได้ผลน้อย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัซกรก่อนใช้ยา
  8. 8. หลีกเสี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เริมเกิดเป็นซ้ำ ถ้าเริมเป็นซ้ำบ่อยมากกว่า 6 ครั้งต่อปีหรือเริมที่เป็นซ้ำอาการรุนแรงขึ้น

หรือการเป็นซ้ำมีผลลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณากรรับประทานยาต้นไวรัสทุกวันเพื่อ

ป้องกันเริมกลับเป็นซ้ำ

  1. 9. ควรไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรงหรือไม่สามารถดื่มน้ำหรือกินอาหารได้


     ปัจจุบันไม่มีวิธีในการรักษาการติดเชื้อเริมให้หายขาด แต่ตัวยาที่มีในปัจจุบันจะช่วยบรรเทาอาการและลดโอกาสการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น แม้ว่าโรคนี้จะทาให้เกิดความราคาญและเจ็บปวดได้ แต่ไม่ใชโรคที่อันตราย คนที่เป็นโรคเริม สามารถมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีเพศสัมพันธ์และมีชีวิตได้ตามปกติ 

การป้องกันการแพร่เชื้อของโรคเริม

     การเป็นเริมที่ปากหรือเริมที่บริเวณอวัยวะเพศ สามารถส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที โดยการติดเชื้อเริมอาจลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น การติดเชื้อที่บริเวณดวงตาอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดและอาจเกิดติดเชื้อที่สมองจนทำให้เกิดสมองอักเสบได้ซึ่งเป็นส่วนน้อย สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นสตรีมีครรภ์ที่ติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศและมีอาการแสดงในช่วง 3 เตือนสุดท้ายก่อนคลอด เต็กทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ในขณะคลอดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและอาจร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

การป้องกันการแพร่เชื้อของโรคเริม 

       ควรระวังการสัมผัสกับผู้อื่นโดยเฉพาะทางน้าลาย เพศสัมพันธ์และทางบาดแผลในช่วงระยะแพร่เชื้อติดต่อให้ผู้อื่นได้เริ่มตั้งแต่มีอาการนาจนกระทั่งแผลหายตกสะเก็ด 


       หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผล น้าลาย สารคัดหลั่งของผู้ป่วย 


       แนะนาให้ใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ 


       การรับประทานยาต้านไวรัสทุกวันสามารถลดการแพร่เชื้อได้ แต่เนื่องจากยามีผลข้างเคียง จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานยา 


 

BACK