วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายอย่างน้อย 300 ชนิด รวมไปถึงการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ, การทำงานของต่อมหมวกไต และสุขภาพของเหงือกที่ดี และมันยังช่วยสร้างฮอร์โมนต้านความเครียดและ Interferon ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน และมีความจำเป็นต่อการเผาผลาญกรดโฟลิก, กรดอะมิโน Tyrosine และกรดอะมิโน Phenylalanine
วิตามินซี (อังกฤษ: vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (อังกฤษ: L-ascorbic acid) หรือ แอล-แอสคอร์เบต (อังกฤษ: L-ascorbate) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ร่างกายไม่สามารถที่จะสร้างขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไป วิตามินซีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยเพิ่มภูมิชีวิตได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถป้องกันและรักษาการอักเสบอันเนื่องมาจากแบคทีเรียและไวรัสได้
วิตามินซี มีประโยชน์มากมากหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยปกป้องเซล เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ เส้นเอ็น และคอลลาเจน ก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกาย และ วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ดี จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น
ผัก ผลไม้ เช่น พลัม อซีโลรา กูสแบรี่ แบลคเคอเรนท์ บลอคเคอรี่ พริกหวาน โขม กะหล่ำดอก ในเนื้อสัตว์ และตับสัตว์ ก็เป็นแหล่งวิตามิน C เช่นกัน การปรุงอาหารมีความสำคัญต่อคุณค่าวิตามิน C เพราะจะลดปริมาณวิตามิน C ได้ถึง 60% ดังนั้น ไม่ควรปรุงอาหารจนสุกเกินไป การลวกผัก วิตามิน C จะละลายออกมาอยู่ในน้ำลวกผัก ค่อนข้างสูง เช่นกัน ดีที่สุดคือ ผัก ผลไม้สดที่ไม่สุก เก็บมาใหม่ๆ จะมีปริมาณสูงที่สุด และการเก็บรักษาที่ดีที่สุด คือ แช่เย็น เพราะการอบแห้ง ดอง เชื่อม ทำให้ปริมาณวิตามินลดลงเช่นกัน
เนื่องจากวิตามินซีมีความเป็นกรด ถึงแม้บางยี่ห้อมีปรับลดความเป็นกรดลงโดยการใส่วิตามินซีในรูปแบบของเกลือ ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้รับประทานวิตามินซี หลังรับประทานอาหาร เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน หรือภาวะการย่อยผิดปกติ
ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคกระเพาะ หรือกรดไหลย้อน จึงแนะนำรับประทานวิตามินซีในรูปแบบเกลือ 100% เช่น อยู่ในรูปแบบ แคลเซียมแอสคอเบท เนื่องจากวิตามินซีรูปแบบนี้ไม่มีความเป็นกรดหลงเหลืออยู่แล้ว จึงไม่มีผลระคายเคืองกระเพาะอาหาร
สุดท้ายนี้การเลือกรับประทานวิตามินซีให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปริมาณวิตามินซีที่บริโภคต่อวัน วิธีรับประทาน ประเภทของวิตามินซี และความคุ้มค่ากับราคา เนื่องจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดมีมากมาย หลายหลากยี่ห้อให้เลือกสรร ดังนั้นในฐานะผู้บริโภคเราควรศึกษาวิธีการเลือกวิตามินซี ก่อนคิดตัดสินใจซื้อ หรือรับประทาน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ และเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยืน
สำหรับความต้องการที่ควรจะได้รับวิตามินซีในแต่ละวันนั้นแตกต่างกันตามวิถีชีวิต และความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย
การทาน วิตามินซี เป็นประจำทุกวันสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ทำให้ไม่เป็นหวัดบ่อย และหายจากโรคหวัดได้เร็วขึ้น ประโยชน์ของวิตามินซีในข้อนี้สามารถยืนยันได้จากผลการวิจัยที่มีการทำในปี 1970 โดย Dr. Linus Pauling นักเคมีและชีวเคมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล ถึง 2 ครั้ง ซึ่งได้เขียนไว้ในหนังสือที่ชื่อ Vitamin C & The Common Cold (วิตามินซีกับโรคหวัด) โดยเขากล่าวไว้ว่าหากร่างกายได้รับวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัม จะสามารถป้องกันหวัด และถ้าเป็นหวัดก็จะหายเร็วกว่าคนที่ไม่ได้ทานถึง 60%
การศึกษาเพิ่มเติมที่ทำให้ทราบว่า วิตามินซีมีประโยชน์มากกว่าการป้องกันโรคหวัด โดยสามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค เพราะมีคุณสมบัติในการทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนอกจากนั้นวิตามินซียังช่วยลดการหลั่งสารก่อภูมิแพ้ในร่างกายหรือฮิสตามีน ซึ่งสารก่อภูมิแพ้นี้จะถูกกระตุ้นให้มีปริมาณสูงขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสารหรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้ แต่ถ้าร่างกายมีวิตามินซีเพียงพอ ก็จะสามารถบรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส จากคุณสมบัติการเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ
หากทานวิตามินในปริมาณสูงมากกว่า 1000 mg อาจจะทำให้เกิดท้องเสีย และทานตอนท้องว่าง จะเกิดการระคายเคือง ทางเดินอาหาร เนื่องจากความเป็นกรด