หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

โรคไต (Chronic Kidney Disease)


 

โรคไต ตัวร้ายที่ไม่ได้มากับความเค็มเพียงอย่างเดียว


ทำความรู้จักโรคไตเรื้อรังกันก่อน


     อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไตมีหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายอีกด้วย ดังนั้น เมื่อไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางและขาดวิตามินได้ โดยโรคร้ายนี้มีอยู่หลายชนิด และที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรวยไตอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต ไตเรื้อรัง และไตวาย


     โรคไตเรื้อรัง คือ การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตที่ลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยะ 10 ก็จะมีของเสียคั่งในกระแสเลือดและมีอาการต่างๆตามมา


อาการของโรคไตเรื้อรัง


     ไตเป็นอวัยวะที่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาสมบูรณ์ได้ การเกิดความผิดปกติกับไตจึงเป็นเรื่องอันตราย โดยในช่วงแรกผู้ป่วยโรคไตแทบจะไม่มีสัญญาณของโรคร้ายนี้เลย แต่อาการจะปรากฏออกมาในระยะท้ายๆ ที่ไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว จนในระดับสูงสุดอาจเกิดอาการไตวาย และเสียชีวิตได้ อาการของผู้ป่วยโรคไตที่ปรากฏมีดังนี้


ระยะของโรคไตเรื้อรัง


โรคไตเรื้อรังแบ่งเป็น 5 ระยะ ตามระดับความรุนแรง ดังนี้

  1.  ระยะที่ 1 : พบมีการทำลายไตเกิดขึ้น โดยพบความผิดปกติจากการตรวจเลือด ปัสสาวะ เอกซเรย์ และ/หรือพยาธิสภาพของชิ้นเนื้อไต โดยที่อัตราการกรองของไตยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ กล่าวคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.
  1.  ระยะที่ 2 : พบมีการทำลายไตร่วมกับเริ่มมีการลดลงของอัตราการกรองของไตเล็กน้อย คือ อยู่ในช่วง 60-89 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.
  1.  ระยะที่ 3 : มีการลดลงของอัตราการกรองของไตปานกลาง คือ อยู่ในช่วง 30-59 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.
  1.  ระยะที่ 4 : มีการลดลงของอัตราการกรองของไตรุนแรง คือ อยู่ในช่วง 15-29 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.
  1.  ระยะที่ 5 : มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 15 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.


สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง


     โรคนี้อาจมีความเข้าใจผิดๆว่า เลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงโรคไต ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้วยังมีสาเหตุต่างๆ อีกมากมาย โดยสาเหตุของการเกิดโรคนี้ ได้แก่


พันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อยๆ แสดงอาการในภายหลังก็ได้


เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น


การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน


ดื่มน้ำน้อยเกินไป


ไม่ออกกำลังกาย


มีความเครียด


ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง


enlightened โรคเบาหวาน


enlightened ความดันโลหิตสูง


enlightened ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง


enlightened ผู้สูงอายุ


enlightened น้ำหนักเกินหรืออ้วน


enlightened สูบบุหรี่


สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง


สัญญาณที่สำคัญ 6 ประการ ซึ่งบ่งบอกว่าอาจเป็นโรคไตเรื้อรัง ได้แก่


▶ ความดันโลหิตสูง


▶ การตรวจพบเม็ดเลือดแดง และ/หรือโปรตีนในปัสสาวะ


▶ ระดับของเสียในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันนิยมตรวจวัดสารบียูเอ็น (BUN; Blood urea nitrogen) และสารครีอะตินีน (Creatinine) ซึ่งเมื่ออัตราการกรองของไตลดลง จะทำให้ระดับสารทั้งสองในเลือดสูงขึ้นกว่าค่าปกติ


▶ อัตราการกรองของไตน้อยกว่า 60 มล.ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตร.ม.


▶ ปัสสาวะผิดปกติ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะตอนกลางคืน ปริมาณปัสสาวะลดลง ปัสสาวะลำบากหรือปวดเวลาปัสสาวะ


▶ มีอาการบวม อาจบวมบริเวณหนังตา ลำตัว หลังมือ หลังเท้าและขา

วิธีดูแลตัวเองง่ายๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต

     1 .ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายอย่างที่ทุกท่านทราบกันดี โดยทั่วไปควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว

ต่อวันขึ้นกับปริมาณน้ำที่สูญเสียไป

     2. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ในการที่เราจะดูแลให้สุขภาพไตให้ดี การกินผักผลไม้สดเพื่อเสริมสร้างวิตามินและ

แร่ธาตุต่างๆเป็นตัวเลือกที่ดี ลดการรับประทานเนื้อแดงและอาหารที่มีไขมันสูง และที่สำคัญกินเกลือโซเดียมไม่เกิน

1 ซ้อนซาต่อวัน (นับรวมเกลือที่ละลายอยู่ในอาหารและน้ำจิ้มด้วย) และน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนซาต่อวันเพื่อลดสาเหตุ

ที่จะทำให้ไตทำงานหนัก

     3. ตรวจเช็คความดันโลหิตให้อยู่ในค่าปกติ ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการเกิดโรคไต โดย

ส่วนมากจะไม่มีอาการจึงต้องอาศัยการตรวจวัดความตันโลหิต ซึ่งในปัจจุบันสามารถรวจวัดได้ง่ยโดยไม่ต้องเจ็บ

ตัว ค่าความดันโลหิตปกติโดยเฉลี่ยจะมีค่าประมาณ 120/80 มิลลิมตรปรอท หากพบว่าความดันโลหิตสูงควรรีบ

ปรึกษาแพทย์เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม

     4. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและแก้อักเสบเกินความจำเป็น ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบหลายชนิดจัดอยู่ในกลุ่มที่

เรียกว่า NSAIDs เช่น ไดโคลฟีแนค, นาโปรเซน, ไอบูโพรเฟน เป็นยาที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้อย่างดี แต่หาก

กินต่อเนื่องในปริมาณมากหรือกินโดยไม่จำเป็นอาจจะส่งผลเสียต่อการทำงานของไต ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตได้ลดลง

นอกจากนี้ยังพบว่ามีการผสมยาเหล่านี้หลายขนานรวมกันในยาชุดซึ่งอาจทำให้ได้รับยาเกินขนาดโดยไม่รู้ตัว จึง

แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาชุดโดยที่ไม่ทราบส่วนประกอบชัดเจน

     5.การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่างที่ทุกท่านทราบกันอยู่ดีอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายเป็น

กิจกรรมสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจและปอดมีประสิทธิภาพดีขึ้น การออกกำลังกาย

เป็นประจำยังช่วยเผาผลาญพลังงานส่วนเกิน ลดความสี่ยงต่อโรคอ้วน ซึ่งนอกจากจะมีผลต่อโรคเบาหวานและ

ไขมันในเลือดสูงแล้ว ยังมีผลโดยตรงต่อความดันโลหิตและความดันภายในไตอีกด้วย ดังนั้นหากต้องการมีสุขภาพที่ดี

จึงควรที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

BACK