อาการปวดข้อมืออาจเป็นรูปแบบหนึ่งของความเจ็บปวดที่น่ารำคาญที่สุดพอ ๆ กับ อาการปวดหลัง เรามักจะทำทุกอย่างในชีวิตประจำวันด้วยมือของเรา ดังนั้นกระดูกตรงข้อมือจึงเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ยิ่งในปัจจุบันการใช้งานข้อมือหรือนิ้วมืออย่างหนักก็มีให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การเล่นโทรศัพท์มือถือหรือ การนั่งพิมพ์งานนาน ๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่คุณจะมีอาการปวดข้อมือขึ้นมาเล็กน้อยหรืออาจจะปวดแบบเรื้อรัง แต่ที่แน่ ๆ อาการปวดข้อมือจะส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างแน่นอนค่ะ แม้แต่กิจกรรมที่ง่าย ๆ อย่างการหยิบกาต้มน้ำ การใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ไขควง ก็อาจทำให้รู้คุณสึกไม่สบายตัวและไม่สะดวกได้ และนั่นคือเหตุผลที่เราตัดสินใจนำเสนอ “อุปกรณ์พยุงข้อมือ” และ “อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ”
อุปกรณ์ช่วยพยุงนิ้วหัวแม่มือ ได้รับการออกแบบเฉพาะเพื่อให้การพยุงที่นิ้วหัวแม่มือที่อ่อนแอหรือได้รับบาดเจ็บจากโรคนิ้วหัวแม่มืออักเสบ โดยล็อคเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ ผลิตจากวัสดุพิเศษ ทนทาน ระบายอากาศและความชื้นได้ดี มีแกนพลาสติกโค้งตามสรีระของนิ้วหัวแม่มือจำนวน 2 แกน ใช้เพื่อพยุงด้านข้างของนิ้วหัวแม่มือ ช่วยเพิ่มความมั่นคงและยังสามารถถอดออกได้ แถบ Velcro บริเวณนิ้วหัวแม่มือเพื่อเพิ่มความกระชับ และสายปรับระดับความกระชับบริเวณข้อมือ ชนิดไม่ยืด (Non-Elastic) ช่วยให้สวมใส่ง่าย ปรับความแน่นได้โดยมือเพียงข้าง
เป็นสัญญาณและอาการทั่วไปของอาการปวดข้อมือ ตึงข้อมือ และการเคลื่อนไหวของข้อมือที่ไม่สะดวก เนื่องจากเราใช้ข้อมือเคลื่อนไหวในการทำงานมากเกินไป จึงส่งผลให้มีอาการปวดข้อมือและทำให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างลำบาก โรคข้อมืออักเสบมักเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ข้อมือหักหรือข้อมือเคล็ดซึ่งทำให้ข้อมือไม่มั่นคงได้ เพราะข้อมือประกอบด้วยข้อต่อที่ซับซ้อน ซึ่งมีหน้าที่ในการหมุนไปข้างหน้า ข้างหลัง และการเคลื่อนไหวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โรคข้อมืออักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากข้อมือกระดูกในส่วน Scaphoid หรือกระดูก Radius โดยปกติแล้ว Scaphoid จะไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงมีภาวะที่เรียกว่า ‘Avascular Necrosis’ ที่เป็นการสลายของกระดูก จากการขาดเลือดไปเลี้ยง ดังนั้นการพังทลายของ Scaphoid นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลไกของข้อมือ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับการเอาอิฐชิ้นสำคัญออกจากกำแพง จึงนำไปสู่ ‘Scaphoid Non-Union Advanced Collapse’ (SNAC) ซึ่งเป็น Styloid Tip ของรอยต่อระหว่าง Radius และ Scaphoid จะสัมผัสผิดปกติและกลายเป็นโรคข้ออักเสบในที่สุด
Carpal Tunnel Syndrome เป็นสาเหตุของอาการปวดข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome อาจมีลักษณะอาการชารู้สึกเจ็บปวดแบบเหมือนหมุดหรือเข็มในมือทิ่มแทง ซึ่ง Carpal Tunnel หมายถึงช่องว่างในกระดูก Carpal (ข้อมือ) ซึ่งกล้ามเนื้อเส้นเลือดและเส้นประสาทที่ส่งผ่านไปยังมือจากปลายแขน โดยปัญหาของ Carpal Tunnel Syndrome เกิดขึ้นเมื่อมีอาการบวมภายในพื้นที่ขนาดเล็กนี้ ในสถานการณ์ปกติความดันภายใน Carpal Tunnel จะน้อยกว่า 10mmHg แต่ในผู้ป่วย Carpal Tunnel Syndrome ความดันนี้จะสูงกว่า 30mmHg เนื่องจากอาการบวม ในระหว่างการเคลื่อนไหวข้อมือในผู้ที่เป็นโรค Carpal Tunnel Syndrome ความดันอาจสูงกว่า 90mmHg สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของอาการบวมภายใน Carpal Tunnel นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลค่ะ เนื่องจากพื้นที่ภายใน Carpal Tunnel ลดลงจากการบวม จึงทำให้ส่งผลกระทบไปที่เส้นประสาท Median ได้ ดังนั้นการใช้กิจกรรมซ้ำ ๆ ในระหว่างการทำงาน, การเล่นกีฬา, การใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรที่สั่นสะเทือน ก็มีส่วนทำให้เกิด Carpal Tunnel Syndrome
เอ็นข้อมืออักเสบ หรือ “โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ” เป็นอาการเจ็บปวดที่มีผลต่อเส้นเอ็นที่ด้านนิ้วหัวแม่มือของข้อมือ คุณจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง, มีอาการบวมใกล้โคนนิ้วโป้ง, ขยับนิ้วหัวแม่มือและข้อมือลำบากเมื่อคุณทำอะไรบางอย่างที่ต้องจับหรือบีบ, ความรู้สึก “ติด” ที่นิ้วหัวแม่มือเมื่อมีการขยับ หากอาการนานเกินไปโดยไม่ได้รับการรักษา ความเจ็บปวดอาจลุกลามจากที่นิ้วหัวแม่มือของคุณกลับไปที่ปลายแขนได้ การบีบ การจับ และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ของนิ้วหัวแม่มือและข้อมือจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น
วิธีเลือกที่พยุงข้อมือสำหรับคุณสิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือสิ่งที่คุณกำลังพยายามรักษา ตัวอย่างเช่นใช้ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อที่อักเสบไม่ว่าจะเป็นข้อมือหรือโคนนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งคุณจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการบีบอัดคล้ายใส่เฝือกขณะที่ใช้งาน ดังนั้นการปรับระดับความตรึงของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญ
เพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้นสำหรับคุณ เราได้เลือกอุปกรณ์พยุงข้อมือและนิ้วหัวแม่มือที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายที่เหมาะสำหรับสภาวะที่พบบ่อย เช่น โรคมือชา/ผังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) , โรคข้อมืออักเสบ (Wrist Arthritis) , เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s tenosynovitis) หรือเคล็ดขัดยอกที่ข้อมือ