ไมเกรน (Migrane) เกิดจากภาวะที่ระบบประสาทไวต่อการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าต่างๆ ทั้งจากภายในร่างกายและสิ่งแวดล้อม เช่น แสงที่จ้าเกินไป เสียง มลพิษ อากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด เป็นต้น ทาให้เกิดการหลั่งสารก่อการอักเสบของเส้นเลือดและเส้นประสาทสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดในสมองเกิดการหดและขยายตัวซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างเดียวที่เรียกว่าไมเกรนนั่นเอง แต่บางทีอาการของไมเกรนไม่จาเป็นต้องเป็นการปวดหัวข้างเดียวเสมอไป ไมเกรนอาจจะเป็นการปวดทั้งสองข้างหรือข้างเดียวแต่สลับข้างกันไปก็ได้ ส่วนใหญ่จะรู้สึกปวดตามจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นจังหวะตุบๆ บริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย ระยะเวลาในการปวดตั้งแต่ 4 ชั่วโมงไปจนถึง 72 ชั่วโมง
การปวดไมเกรนแบ่งลักษณะได้ตามความหลากหลายของอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งมักจะได้แก่
▶ ปวดศีรษะรุนแรง เป็นจังหวะตุบๆ บริเวณหน้าผากหรือข้างใดข้างหนึ่ง
▶ รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
▶ การมองเห็นพร่ามัว
▶ รู้สึกเสียวซ่าและชาตามปลายมือปลายเท้า
▶ เบื่ออาหาร
▶ ชอบอยู่ในที่มืดๆ มีแสงน้อยๆ
▶ อาการเป็นต่อเนื่องนานหลายชั่วโมงหรือทั้งวันหรือหลายวัน
▶ อาจเกิดสิ่งที่ทาให้รบกวนการมองเห็นขึ้น หรืออาจเกิดล่วงหน้าก่อนที่จะปวดศีรษะ ลักษณะเหมือน “ออร่า” แสงแวบๆ วาบๆ เข้ามาในตา
เกี่ยวข้องกับการหดและขยายตัวที่มากเกินไปของเส้นเลือดในสมอง ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากหลาย ประการ ได้แก่
▶ การแพ้อาหาร สารเคมีที่ผสมในอาหารและแอลกอฮอล์
▶ ความเครียดและความเหนื่อยล้า
▶ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ในช่วงเวลาที่ไข่ตกหรือช่วงมีประจำเดือนในผู้หญิง
▶ การรับประทานยาคุมกาเนิด
▶ การมองเห็นแสงแฟลชหรือแสงที่จ้ามากๆ
▶ การนอนพักผ่อน หรือการออกกาลังที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป
▶ การเปลี่ยนแปลงระดับความดันอากาศหรือความชื้นในอากาศ
▶ การวางอิริยาบถในท่าที่ไม่ถูกต้องและกล้ามเนื้อที่ตึงตัว
▶ การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
➤ ระยะบอกเหตุล่วงหน้า (Prodrome): มักจะมีอาการบอกเหตุประมาณ 1 – 2 วันก่อนเป็นไมเกรน เช่น ปวดตึงตามต้นคอ หรืออารมณ์แปรปรวน เป็นต้น
➤ อาการเตือนนำ (Aura): ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงไฟสีขาวมีขอบหยึกหยัก หรือภาพเบลอหรือบิดเบี้ยว แต่บางรายก็ไม่มีอาการเตือนนำ
➤ อาการปวดศีรษะ (Headache): เป็นเหมือนช่วงไคลแม็กซ์ของอาการปวดหัวไมเกรน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือปวดหัวข้างเดียว จนไม่สามารทำงานได้ตามปกติ อาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะแพ้ต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น แสงจ้า เสียงดัง
➤ เข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome): ภายหลังจากที่เริ่มหายปวดแล้ว ผู้ปวยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน เกิดอาการสับสน หรือไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เหมือนระยะที่สาม
จากปัจจัยที่กระตุ้นอาการไมเกรนดังที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นอาการมากเลยทีเดียว หากใครกำลังใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง มีการศึกษาพบว่า โรคปวดหัวไมเกรนมักสัมพันธ์กับรอบเดือน โดยเฉพาะช่วงก่อนมีเมนส์ 1 วัน จนถึง 3 วันหลังมีเมนส์วันแรก เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดต่ำลงรวดเร็วในช่วงนั้น ยิ่งประจำเดือนมาก บางคนก็ยิ่งปวดหัวมาก
1. กลุ่มที่อาการไมเกรนเกิดไม่บ่อย และไม่ใช่ทุกครั้งเกิดจากเมนส์
แนะนำให้กินยารักษาไมเกรนเฉียบพลันทั่วไปเมื่อมีอาการ เช่น ยา naproxen (275 มก.) 1 ถึง 2 เม็ด เมื่อมีอาการปวดหัวไมเกรน โดยอาจใช้ร่วมกับ eletriptan หรือ sumatriptan ในกรณีที่มีอาการปวดหัวมาก
2. คนไข้ที่ปวดหัวสัมพันธ์กับรอบเดือน และรอบเดือนมาสม่ำเสมอ
อาจใช้วิธีกินยาป้องกันในระยะสั้น ๆ ก่อนมีประจำเดือน เช่น กินยา triptan หรือกลุ่ม NSAIDs โดยให้นับช่วง 2 วันก่อนมีประจำเดือน แล้วนับไปอีกรวม 6 วัน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทก่อน เพื่อดูความเหมาะสม และป้องกันผลข้างเคียงจากยา
3. กลุ่มที่รอบเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือปวดหัวบ่อยๆ ทั้งขณะที่มีและไม่มีรอบเดือน
แนะนำให้กินยาป้องกันไมเกรนทั่วไป เช่น amitriptyline, propranolol, topamax และควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทก่อน
การรักษา