เป็นสัญญาณและอาการทั่วไปของอาการปวดข้อมือ ตึงข้อมือ และการเคลื่อนไหวของข้อมือที่ไม่สะดวก เนื่องจากเราใช้ข้อมือเคลื่อนไหวในการทำงานมากเกินไป จึงส่งผลให้มีอาการปวดข้อมือและทำให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างลำบาก โรคข้อมืออักเสบมักเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ข้อมือหักหรือข้อมือเคล็ดซึ่งทำให้ข้อมือไม่มั่นคงได้เช่นกัน
เพราะข้อมือประกอบด้วยข้อต่อที่ซับซ้อน ซึ่งมีหน้าที่ในการหมุนไปข้างหน้า ข้างหลัง และการเคลื่อนไหวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โรคข้อมืออักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากข้อมือกระดูกในส่วน Scaphoid หรือกระดูก Radius โดยปกติแล้ว Scaphoid จะไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงมีภาวะที่เรียกว่า ‘Avascular Necrosis’ ที่เป็นการสลายของกระดูก จากการขาดเลือดไปเลี้ยง ดังนั้นการพังทลายของ Scaphoid นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลไกของข้อมือ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับการเอาอิฐชิ้นสำคัญออกจากกำแพง จึงนำไปสู่ ‘Scaphoid Non-Union Advanced Collapse’ (SNAC) ซึ่งเป็น Styloid Tip ของรอยต่อระหว่าง Radius และ Scaphoid จะสัมผัสผิดปกติและกลายเป็นโรคข้ออักเสบในที่สุด
Carpal Tunnel Syndrome เป็นสาเหตุของอาการปวดข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome อาจมีลักษณะอาการชารู้สึกเจ็บปวดแบบเหมือนหมุดหรือเข็มในมือทิ่มแทง ซึ่ง Carpal Tunnel หมายถึงช่องว่างในกระดูก Carpal (ข้อมือ) ซึ่งกล้ามเนื้อเส้นเลือดและเส้นประสาทที่ส่งผ่านไปยังมือจากปลายแขน โดยปัญหาของ Carpal Tunnel Syndrome เกิดขึ้นเมื่อมีอาการบวมภายในพื้นที่ขนาดเล็กนี้ ในสถานการณ์ปกติความดันภายใน Carpal Tunnel จะน้อยกว่า 10mmHg แต่ในผู้ป่วย Carpal Tunnel Syndrome ความดันนี้จะสูงกว่า 30mmHg เนื่องจากอาการบวม ในระหว่างการเคลื่อนไหวข้อมือในผู้ที่เป็นโรค CarpalTunnel Syndrome ความดันอาจสูงกว่า 90mmHg
เอ็นข้อมืออักเสบ หรือ “โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ” เป็นอาการเจ็บปวดที่มีผลต่อเส้นเอ็นที่ด้านนิ้วหัวแม่มือของข้อมือ คุณจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง, มีอาการบวมใกล้โคนนิ้วโป้ง, ขยับนิ้วหัวแม่มือและข้อมือลำบากเมื่อคุณทำอะไรบางอย่างที่ต้องจับหรือบีบ, ความรู้สึก “ติด” ที่นิ้วหัวแม่มือเมื่อมีการขยับ หากอาการนานเกินไปโดยไม่ได้รับการรักษา ความเจ็บปวดอาจลุกลามจากที่นิ้วหัวแม่มือของคุณกลับไปที่ปลายแขนได้ การบีบ การจับ และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ของนิ้วหัวแม่มือและข้อมือจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น
สาเหตุนั้นเกิดจากการใช้ข้อมือมากเกินไปจนเกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง รวมถึงอาจมาจากโรคข้ออักเสบเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น เนื่องจากเส้นเอ็นเป็นโครงสร้างคล้ายเชือกที่ยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก เมื่อคุณจับ, กำ, หรือบีบสิ่งใด ๆ ในมือของคุณ การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ วันแล้ววันเล่า อาจทำให้ปลอกรอบเอ็นทั้งสองข้างเกิดการระคายเคืองทำให้เกิดการบวม ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเอ็นข้อมืออักเสบ คือคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคข้ออักเสบหรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และผู้หญิงตั้งครรภ์
อุปกรณ์ที่ช่วยพยุงข้อมือที่มีคุณภาพเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นข้ออักเสบและเอ็นอักเสบ ช่วยลดความเจ็บปวดขณะเคลื่อนไหวได้ดี ผลิตจาก Neoprene ที่ทำให้คุณรู้สึกกระชับตลอดเวลาที่สวมใส่เนื่องจากมีแรงรัดที่ดี อีกทั้งยังมีห่วงสำหรับให้คล้องนิ้วหัวแม่มือที่จะช่วยให้สวมใส่ได้สะดวกมากขึ้น และเพื่อเป็นการล็อคไม่ให้อุปกรณ์เลื่อนหลุดจากตำแหน่งเดิม