หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ปวดประจำเดือน (Labor Pain Management) 

 ปวดท้องประจำเดือน...อาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คุณคิด 


     อาการปวดท้องประจำเดือน (dysmenorrhea) ถือเป็นปัญหาที่สาคัญของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดท้องน้อยสัมพันธ์กับรอบประจำเดือน อาการปวดท้องน้อยอาจเป็นตั้งแต่ก่อนประจาเดือนจะมา อาจเริ่มหลังจากตกไข่ และสิ้นสุดเมื่อหมดประจำเดือนแต่ละรอบ อาการปวดมักจะมีความรุนแรงจนเป็นอุปสรรค รบกวนการดำเนินชีวิตประจาวันของผู้ป่วย 

     ในช่วงหนึ่งของชีวิตผู้หญิงที่มีประจำเดือน มีผู้หญิงจำนวนน้อยมากที่ไม่มีอาการปวดประจำเดือนเลย ซึ่งถือว่าโชคดีมาก เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่โดยเฉพาะวัยรุ่นอาจมีจานวนสูงถึง 90% ที่มีอาการปวดประจำเดือนมากบ้างน้อยบ้างสลับกันไป จะมีผู้หญิงประมาณ 5%-10% ที่มีอาการปวดประจำเดือนมากจนทำให้ต้องขาดเรียนหากยังเรียนหนังสืออยู่ หรือต้องขาดการทำงานบ่อยๆในช่วงที่มีประจำเดือนมา ทำให้เสียโอกาสในการเรียนหรือในการทำงาน นอกจากนั้นยังมีผลกระทบต่อจิตใจอีก
ด้วย 

 อาการปวดประจำเดือน คืออะไร 

 
     อาการปวดประจำเดือน คือ อาการปวดบีบบริเวณท้องน้อย ปวดเป็นพักๆ หรือปวดร้าวไปถึงหลัง ก้น หรือปวดต้นขา ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลมร่วมด้วยก็ได้ อาการปวดประจำเดือนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 

ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด สาเหตุมักเกิดจากการที่เยื่อบุโพรงมดลูกผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) มากเกินไป 

ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เกิดจากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ เช่น 

        เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูก ซึ่งเมื่อเจริญผิดที่แต่ยังทาหน้าที่สร้างประจำเดือนเหมือนเดิม ทาให้อาจมีเลือดประจาเดือนในอุ้งเชิงกรานบริเวณที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกไปเกาะในแต่ละรอบเดือน ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยาก

 
        เยื่อบุมดลูกเจริญภำยในกล้ำมเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดประจำเดือนอย่างมาก และ/หรือ เลือดประจาเดือนมากและยาวนานกว่าปกติ 


        เนื้องอกมดลูก (uterine fibroids) มักไม่ใช่เนื้อร้าย ขนาดมีตั้งแต่เล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่ หากมีขนาดใหญ่มักทำให้มีเลือดประจำเดือนออกมามากหรือประจาเดือนกะปริบกะปรอยนานเป็นสัปดาห์ พร้อมกับอาการปวดประจำเดือนหรือปวดหลังส่วนล่างแบบเรื้อรัง 


        ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ส่วนใหญ่เกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 


        ภาวปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis) เกิดจากปากมดลูกแคบเกินไป ทำให้เลือดประจำเดือนไหลได้ช้า จะทำให้ของเหลวคั่งค้างภายในโพรงมดลูก ทำให้เกิดอาการปวดท้องมากและเรื้อรัง 


สาเหตุของการปวดประจำเดือน 

 
     โดยเฉลี่ยทุกๆ 28 วัน หากไข่ไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจาเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตำแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทาให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังทาให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น 

 

ปวดประจำเดือนแบบไหนที่ต้องเข้าพบแพทย์ อาการปวดประจำเดือนสำหรับผู้หญิงอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่บางครั้งการปวดประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายที่ต้องได้รับการรักษา โดยอาการที่ควรเข้าพบแพทย์มีดังนี้
 

     enlightened รับประทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด

     enlightened อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกเดือน

     enlightened อายุ 25 ปีขึ้นไป และรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก

     enlightened ปวดประจำเดือนพร้อมกับมีไข้

     enlightened ประจำเดือนมามากกว่าปกติ โดยต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง

     enlightened รู้สึกปวดท้องน้อยแม้ไม่มีประจำเดือน

     enlightened ตกขาวมีกลิ่น รู้สึกคันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ

     enlightened มีปัญหาด้านการมีบุตร

 

วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนแบบไม่ต้องกินยา

ออกกำลังกาย ผู้หญิงทุกคนสามารถออกกำลังกายได้ขณะมีประจำเดือน เช่น การเดินเร็ว หรือ เล่นโยคะในท่าง่ายๆ ซึ่งการออกกำลังกายจะช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้ดี
ประคบร้อน โดยความร้อนจะมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อาการปวดประจำเดือนลดลง รวมไปถึงการจิบเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น น้ำผึ้งผสมมะนาว หรือน้ำขิง จะช่วยปรับให้ภายในร่างกายอุ่นขึ้นด้วย

เน้นทานแมกนีเซียม เพราะมีส่วนช่วยในเรื่องลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง โดยอาหารที่เหมาะสำหรับช่วงมีประจำเดือน เช่น ผักโขม ตำลึง หรือกล้วย เป็นต้น
นวดบริเวณท้องน้อย เป็นวิธีที่ช่วยกล้ามเนื้อบริเวณท้องให้ผ่อนคลายลง สามารถทำได้โดยการนวดวนเป็นวงกลมบริเวณท้องน้อย

การหมั่นสังเกตตนเองในทุกเดือนสำหรับผู้หญิงจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเพราะหากพบความผิดปกติจะได้เข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยพร้อมรับคำแนะนำในการปฏิบัติตนต่อไป

​​​​​​​

การป้องกันและบรรเทำอาการปวดประจำเดือน หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย 

        1. ใช้ถุงประคบร้อนประคบบริเวณท้องน้อยและบริเวณหลัง 
        2. อาบน้ำอุ่น 
        3. ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย เช่น โยคะ นั่งสมาธิ 
        4. พักผ่อนให้เพียงพอ 
        5. ออกกาลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
        6. ลดอาหารประเภทไขมัน อาหารที่มีเกลือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มคาเฟอีน 
        7. รับประทานผัก ผลไม้ อาหารย่อยง่าย และมีคุณค่าทางอาหารสูง 
        8. เน้นกินอาหารกลุ่มที่มีแมกนีเซียม เช่น ผักโขม ผักปวยเล้ง ตำลึง หรือกล้วย เพราะแมกนีเซียมมีส่วนช่วยคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ทำให้อาการปวดประจำเดือนทุเลาลงได้ 


 

BACK