ต่อมลูกหมากโต คือ ต่อมกลมเล็กๆ ที่อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะและตรงกลางของต่อมจะมีท่อปัสสาวะซึ่งส่งผ่านปัสสาวะ ลงมาทางอวัยวะเพศชาย ทำหน้าที่ผลิตของเหลวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิที่ช่วยเคลื่อนย้ายอสุจิระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาต่อมลูกหมากโตมักไม่ค่อยพบในวัยรุ่น แต่โอกาสการเกิดจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในผู้ชายวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามจาก การวิจัยของสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ชายอายุเกิน 50 ปีจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีอาการต่อมลูกหมากโตหรือที่เรียกว่า Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ส่งผลให้เกิดอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ ยังส่งผลให้อสุจิที่ถูกหลั่งออกมาไหลกลับเข้าไป ในกระเพาะปัสสาวะได้ หากไม่ได้รับการรักษาก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะและไตได้ใน อนาคต
ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่อยู่ รอบท่อปัสสาวะส่วนต้น บริเวณโคนอวัยวะเพศของผู้ชาย หน้าต่อท่อทวารหนักไม่สามารถตรวจพบได้ภายนอก จำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจผ่านทางทวารหนัก บางคนเข้าใจผิดระหว่างลูกอัณฑะซึ่งสามารถตรวจได้จากภายนอก ต่อมลูกหมากมีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิ สารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิถูกสร้างจากต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย ฉะนั้นโรคของต่อมลูกหมากจึงเกิดได้ในเฉพาะผู้ชาย ในผู้ชายที่โตเต็มที่จะประมาณเท่ากับลูกเกาลัด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และเนื้อเยื่อมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้องอก(ชนิดธรรมดา ไม่ใช่เนื้องอกมะเร็ง) ซึ่งปัจจัยที่ทำให้โตขึ้นเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย และฮอร์โมนเพศชาย โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ
โรคต่อมลูกหมากโต คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากขึ้น ประกอบกับมีการกระตุ้นจากระบบประสาทมากขึ้นบริเวณหูรูดกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก ขนาดต่อมที่โตขึ้นจะไปกดเบียดทางเดินปัสสาวะ ส่วนการกระตุ้นจากระบบประสาทจะทำให้บริเวณหูรูด และทางออกของปัสสาวะมีการหดเกร็งมากขึ้นกว่าปกติ โดยกลไกการกระตุ้นจากระบบประสาทมีผลทำให้เกิดอาการต่างๆ มากกว่าขนาดต่อมลูกหมากที่โตขึ้น ซึ่งเราจะพบได้มากในคนไข้ชายสูงอายุ ส่วนมากอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติในผู้ชาย และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ และฮอร์โมนเพศชาย มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี
ต่อมลูกหมากจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึนเพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเนื่องจากอายุที่มากขึ้น โดยเปลี่ยนฮอร์โมน เพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone) หรือ DHT ส่งผล ท้าให้การสร้างเซลล์ต่อมลูกหมากมากกว่าปกติ ต่อมลูกหมากจึงโตขึ้นจนไปปิดกั้นท่อปัสสาวะ รบกวนการปัสสาวะและท้าให้ ปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะได้ไม่หมด เป็นสาเหตุหนึ่งที่ท้าให้เสี่ยงเกิดโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจากเกิดการสะสมของ โปรตีนบางชนิดของเส้นประสาทในสมอง เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ
✿ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ รวมถึงการลุกขึ นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
✿ ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้
✿ ปัสสาวะเป็นสายเล็กลงหรือต้องออกแรงเบ่งมากขึ้น
✿ ปัสสาวะลำบาก
✿ ปัสสาวะไม่ต่อเนื่องหรือขาดตอน
✿ มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
✿รู้สึกปัสสาวะไม่สุด
✿ ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
✿ ปัสสาวะมีเลือดปน
หากเริ่มมีอาการใดอาการหนึ่งดังข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจที่จ้าเป็นและการตรวจเลือดเพื่อประเมิน อาการของต่อมลูกหมากโต
✿ ปัสสาวะเป็นเลือด
✿ กระเพาะปัสสาวะครากหรือมีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ท้าให้ไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้หมด ส่งผลให้กระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ
✿ การทำงานของไตเสื่อมลงและไตวายได้
✿ การใช้ยารักษาโรคซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานในการรักษาเพื่อลดการหดเกร็ง อาการบวมของท่อปัสสาวะและต้องอยู่ในการ ดูแลของแพทย์เท่านั้น อาจใช้เพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวร่วมกันก็ได้
✿ การผ่าตัด (Transurethral Prostatectomy)
✿ การใช้คลื่นความร้อน เช่น ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุสำหรับผู้ป่วยที่ไม่เหมาะกับการผ่าตัด
✿ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1. เลี่ยงการดื่มน้ำ 1-2 ชั่วโมงก่อนนอนเพื่อลดการปวดปัสสาวะในเวลากลางคืน
2. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
3. ออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 30-60 นาที
4. งดการทานยาลดน้ำมูกหรือยาแก้แพ้แบบง่วงเนื่องจากตัวยาอาจท้าให้เกิดการหดตัวของท่อปัสสาวะ
5. ไม่อั้นปัสสาวะ
6. ลดน้ำหนัก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
7. ฝึกเข้าห้องน้ำ ควรเข้าทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เหมาะส้าหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยและไม่สามารถกลั้นได้
ขณะนี้ยังไม่ได้ เพราะสาเหตุของต่อมลูกหมากโตยังไม่แน่ชัด และเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย ฮอร์โมนที่มีส่วนทำให้ต่อมลูกหมากโตได้แก่ฮอร์โมนเพศชายสร้างจากอัณฑะ ถ้าผู้ชายที่ตัดอัณฑะออกก่อนวัยรุ่นก็จะไม่มีต่อมลูกหมากโต แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากอาจเกิดผลเสียจากการขาดฮอร์โมนมากกว่า การทำหมันชายไม่มีส่วนกับการเกิดอาการต่อมลูกหมากโต ดังนั้นปัจจุบันคำแนะนำคือ เฝ้าระวังการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยไปปรึกษาแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง
โดยทั่วไปแล้วโรคต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากมักเกิดในผู้ชายสูงอายุ และอาการของโรคทั้ง 2 กลุ่มนี้คล้ายกันมากทำให้การตรวจค้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตามโรคทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นคนละชนิดกัน และไม่มีการเปลี่ยนสภาพจากต่อมลูกหมากโตไปเป็นมะเร็งได้ แต่เราอาจพบร่วมกันได้
เอกสารอ้างอิง
∙ D. Bach, L. Ebeling. Long-term drug treatment of benign prostatic hyperplasia-results of a prospective 3-years multicenter study using Sabal extracts IDS 89. Phytomedicine, 1996; 3(2): 105- 111.
∙ ต่อมลูกหมากโต. [Internet]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pobpad.com/ต่อมลูกหมากโต ∙ ผศ. นพ. กิตติพงษ์ พินธุโสภณ. รู้รอบโรคต่อมลูกหมากโต. [Internet]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=189