โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) มีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายท้องผูก บางรายท้องเสียหรือท้องเสียสลับท้องผูก โดยจะมีอาการปวดท้องเป็นอาการเด่นของโรค จึงถือเป็นโรคที่ควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจ เพื่อสังเกตตนเองและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ป้องกันการเกิดโรค
มีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล บางรายท้องผูก บางรายท้องเสียหรือท้องเสียสลับท้องผูก อาจมีอาการปวดท้องเกร็ง ท้องอืด กรดเกิน อาหารไม่ย่อยร่วมด้วยได้ นอกจากนี้อุจจาระอาจมีขนาดเล็กลง เป็นก้อนแข็งขึ้นหรือเป็นก้อนเล็กๆ สั้นๆ เนื่องจากการบีบรัดของลำไส้ใหญ่ หรืออาจมีอาการถ่ายท้องบ่อยขึ้นหรือถ่ายเหลวกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากการบีบของลำไส้เช่นกัน ทานยาแล้วไม่หายขาด
☀ ระยะเวลาที่เป็นของอาการต้องต่อเนื่องนานอย่างน้อย 6 เดือน
☀ ต้องมีอาการปวดท้องอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์โดยอาการจะสัมพันธ์กับการขับถ่าย
☀ ต้องไม่มีสัญญาณอันตราย เช่น น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายมีมูกเลือดปนกับอุจจาระ ปวดท้องรุนแรงจนรบกวน คลำเจอก้อนแปลกปลอมใต้ผิวหนังบริเวณช่องท้องหรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
☀ มักเป็นในคนอายุน้อยโดยเฉพาะเพศหญิง
☀ หากอาการมาเริ่มเป็นในผู้สูงอายุหรือมีสัญญาณอันตราย ควรตรวจและปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมก่อนเสมอ
สาเหตุไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด พบว่ามีหลายกลไกที่เกี่ยวข้องได้แก่ การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติ ประสาทรับรู้ความรู้สึกในทางเดินอาหารไวกว่าปกติ การอักเสบของเยื่อบุผิวลำไส้ ความผิดปกติของแบคทีเรียตัวดีในลำไส้ ความผิดปกติของการตอบสนองระหว่างสมองและลำไส้
☀ อาหารบางชนิดเนื่องจากอาหารที่เราบริโภคนั้นมีผลต่อของแบคทีเรียในลำไส้ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดความผิดปกติของระบบย่อยอาหารและสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ประกอบด้วย 4 ประเภทอาหารหลักๆที่ควรงดรับประทานสำหรับผู้ที่มีอาการลำไส้แปรปรวน ที่อาจครอบคลุมถึงอาการท้องอืด แน่นท้องอึดอัดท้อง ท้องผูกสลับท้องเสีย ดังต่อไปนี้
1.อาหารไขมันสูงเนื่องจากอาหารประเภทนี้ย่อยยากและอาจตกค้างอยู่ในกระเพราะและลำไส้นานกว่าอาหารชนิดอื่นก่อให้เกิดการหมักหมม มีแก๊สเยอะ อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อและทำให้อาการลำไส้แปรปรวนกำเริบ
2.กาแฟทำให้อาการของโรคลำไส้แปรปรวนมักรุนแรงขึ้น เมื่อดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เนื่องจากสารกาเฟอีนจะทำให้การเคลื่อนที่ของลำไส้ผิดปกติ
3.นมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนม เนื่องจากนมมีไขมันสูงและมีโปรตีนที่เรียกว่า ‘คาเซอีน’ และ ‘แล็กโตโกลบูลิน’ ซึ่งคนไทยในอัตราส่วนค่อนข้างมาก มักมีอาการแพ้และท้องเสีย
4.ช็อกโกแลต แม้จะมีงานวิจัยออกมาว่าการรับประทานช๊อกโกแลตคุณภาพในปริมาณที่พอเหมาะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่อีกนัยหนึ่ง ช๊อกโกแลตประกอบไปด้วยสาร ‘กาเฟอีน’ และ ‘ทีโอโบรมีน’ ซึ่งทั้ง 2 สารนี้สามารถกวนการทำงานของลำไส้และการเคลื่อนไหวได้
☀ ยาบางชนิด
☀ ความเครียดทั้งกายและใจ
☀ การติดเชื้อในหรือนอกทางเดินอาหาร
☀ รักษาโดยการปรับพฤติกรรมและใช้ยา ซึ่งยาที่ใช้ แบ่งออกเป็น กลุ่มที่ออกฤทธิ์ต่อลำไส้โดยตรงและกลุ่มที่ออกฤทธิ์ปรับการหลั่งของสารสื่อประสาท
☀ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องค้นหาและมีวิธีจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมหรือปรึกษาจิตแพทย์รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้โรคกำเริบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
☀ รักษาด้วยยาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด,ยาระบาย (ท้องผูก),ยาหยุดถ่าย (ท้องเสีย)
☀ การใช้ Probiotic ซึ่งเป็นการคืนสมดุลของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ มีงานวิจัยที่น่าสนใจในต่างประเทศเพื่อประเมินผลการใช้ Probiotic รักษา ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับ Probiotic มีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยอาการปวดท้องลดลง การพองตัวของลำไส้ลดลงและมีความสม่ำเสมอในการเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้น
☀ จุลินทรีย์ดีที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ (Probiotic) และอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ดี (Prebiotic) เช่น จุลินทรีย์ในตระกูล Lactobacillus sp. หรือตระกูล Bifidobacterium sp. ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลจุลินทรีย์ดีและทำลายเชื้อก่อโรคในลำไส้ ปรับสมดุลลำไส้ลดภาวะท้องผู้กหรือท้องเสียเรื้อรังได้ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยสาร Inulin Fructooligosaccharides (FOS) และ Xylo-oligosaccharides (XOS) ซึ่งเป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์จะช่วยเสริมให้จุลินทรีย์ดีในร่างกายแข็งแรง เนื่องจากพรีไบโอติกเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ซึ่งไม่สามารถย่อยได้และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร ช่วยในการกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและทำให้ลดการเกิดอาการลำไส้แปรปรวน
☀ กรดอะมิโน เช่น Arginine ซึ่งมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเยื่อบุผนังลำไส้ที่ได้รับบาดเจ็บ และ Glutamine ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพลังงานภายในเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้จากความเครียดได้
☀ สังกะสี (Zinc) จากการศึกษาพบว่าสังกะสีสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงของผนึกระหว่างเซลล์ลำไส้และป้องกันความเสียหายของเยื่อบุผนังลำไส้ได้
☀ ซีลีเนียม (Selenium) และวิตามินอี (Vitamin E) จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่า ซีลีเนียมและวิตามินอีสามารถป้องกันการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้สารผ่านเข้าออกผนังลำไส้จากการถูกทำลายจากความเครียดและปฏิกิริยา oxidation ได้
☀ การบีบตัวหรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการหลั่งสารหรือฮอร์โมนบางอย่างในผนังลำไส้ผิดปกติ นำไปสู่อาการปวดท้อง ท้องเสียหรือท้องผูก
☀ ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ เช่น หลังกินอาหารซึ่งในคนปกติจะกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ในผู้ป่วยไอบีเอส จะมีการตอบสนองมากกว่ามากผิดปกติ มีการบีบตัวและการเคลื่อนตัวของลำไส้มากขึ้น จนมีอาการปวดท้องและท้องเสีย หรือท้องผูกเป็นต้น นอกจากอาหารแล้วตัวกระตุ้นอื่นที่สำคัญ คือความเครียดหรือการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ก็มีส่วนเสริมให้มีอาการมากขึ้น
☀ มีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของแกน ที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทรับความรู้สึก ระบบกล้ามเนื้อของลำไส้และสมอง (Brain-gut axis) โดยเกิดจากความผิดปกติของสารที่ควบคุมการทำงานซึ่งมีหลายชนิดและทำหน้าที่แตกต่างกัน