ผิวหนัง ของสิ่งมีชีวิตทั่วไปย่อมมีความแตกต่างกัน แต่ถ้าเลือกได้ทุกคนคงอยากมีผิวหนังที่แข็งแรง ไม่แพ้ง่ายไม่ว่าจะเป็นปัจจัยกระตุ้นรอบข้าง จากภายในหรือภายนอก จากสภาพแวดล้อมมลภาวะต่างๆ เพราะผิวหนังถือได้ว่าเป็นปราการด่านแรกที่ปกป้องเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้าเมื่อไหร่ผิวของเราไม่แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นผิวหน้าหรือผิวตัว จะส่งผลอย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นแล้วทุกคนจึงอยากมีผิวหนังที่แข็งแรงในทุกส่วนของร่างกายแล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ ไปดูเนื้อหาที่สำคัญกันเลยดีกว่า
ผิวบอบบางแพ้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่เมื่อปัญหานี้เกิดขึ้นบนใบหน้าอาจเป็นจุดสนใจที่ทำให้คนอื่นสามารถสังเกตเห็นได้และทำให้เราสูญเสียความมั่นใจ ผิวบอบบางที่แพ้ง่ายเป็นปัญหาผิวที่เกิดจากเกราะป้องกันผิวมีความผิดปกติ ทำให้ผิวสูญเสียน้ำและสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองสามารถเข้ามาทำร้ายผิว ซึ่งระดับความรุนแรงของอาการผิวบอบบางไวต่อการระคายเคืองนั้นอาจเพิ่มมากขึ้นหากโดนปัจจัยจากภายนอกอย่างแสงแดด หรือสารบางชนิดในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวเป็นตัวกระตุ้นเสริม เพราะฉะนั้นนอกจากการสังเกตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ผิวแพ้ง่าย แล้วการเลือกใช้สกินแคร์สำหรับผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
หลายคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าบางชนิดแล้วเกิดอาการระคายเคืองมักเข้าใจว่าตนเองมีผิวแพ้ง่าย แต่ในความเป็นจริงอาจเกิดจากการแพ้ส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ในปริมาณที่มากเกินไปก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ โดยวิธีสังเกตว่าตนเองมีผิวแพ้ง่ายหรือไม่ ทำได้ดังนี้
ผิวบอบบาง แพ้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในเด็กทารกและเมื่อเริ่มมีอายุ เพราะผิวเด็กทารกมีความหนาประมาณเศษ 1 ส่วน 5 ของผิวผู้ใหญ่ และเกราะป้องกันผิวยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่จึงทำให้เซนซิทิฟต่อสิ่งกระตุ้นได้ง่าย ส่วนผิวผู้ใหญ่นั้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของเกราะป้องกันผิวก็เริ่มเสื่อมสภาพลง ประกอบกับต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เป็นสิ่งกระตุ้น จึงทำให้มีผลกระทบกับความสามารถของผิวในการป้องกันสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง โดยปัจจัยภายในที่ส่งผลให้เกิดผิวบอบบางแพ้ง่าย ได้แก่
1. ความแตกต่างของผิวหน้ากับผิวส่วนอื่นๆ เนื่องจากผิวหน้าต้องเผชิญกับปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกอยู่เสมอ และผิวหนังกำพร้าบนผิวหน้าเรามีความหนาเพียงแค่ 0.02 มิลลิเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับหนังกำพร้าบริเวณอื่นๆ ของร่างกายที่มีความหนากว่าถึง 5 เท่า หรือประมาณ 0.1 มิลลิเมตร จึงทำให้ผิวหน้าเป็นบริเวณที่เกิดปัญหาผิวบอบบาง อ่อนแอ ไวต่อการระคายเคืองได้ง่าย เมื่อใดก็ตามที่เกราะป้องกันผิวอ่อนแอ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำและเปิดโอกาสให้ปัจจัยภายนอกเข้ามาทำร้ายผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นที่ผิวหน้าแล้วอาการมักจะรุนแรงและเห็นได้ชัดเจน
2. ฮอร์โมนภายในร่างกาย จากการตั้งครรภ์ ในช่วงที่มีประจำเดือนหรือแม้แต่คนที่หมดประจำเดือนแล้ว ล้วนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากการระคายเคืองได้เช่นกัน
3. ผิวที่เริ่มมีอายุ มีแนวโน้มที่จะมีความอ่อนไหวและผิวบอบบางมากกว่าปกติ เพราะชั้นหนังกำพร้าที่บางลงและเกราะไขมันป้องกันผิวผลิตได้น้อยลง ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ สารสำคัญในชั้นผิว เช่น กรดไฮยาลูรอน โคเอนไซม์ คิวเทน มีปริมาณลดลง ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้นหรือเซลล์ผิวไม่สามารถสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่น ผิวแห้ง ผิวแดง หรือมีอาการคัน
4. สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศหนาวมาก ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายในขณะที่อากาศร้อนทำให้เหงื่อที่ออกมาและระเหย ทำให้ผิวระคายเคืองได้ง่าย การอยู่ในห้องแอร์ตลอดทั้งวัน หรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นต่ำก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน
5. รังสียูวีและมลภาวะ การที่ผิวหน้าต้องเผชิญกับแสงแดดหรือฝุ่น PM2.5 ก็ทำให้ผิวอยู่ในอาการเครียดและก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการทำร้ายผิวและทำให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอ
6. ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว สารทำความสะอาดบางชนิดทำให้ไขมันธรรมชาติในผิวหายไป ส่วนน้ำหอม สี และแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์บางประเภทก็ทำให้ผิวระคายเคืองได้เช่นกัน
7. การทำทรีทเม้นท์ เคมิคอล พีล การทำหัตถการบนใบหน้าและการใช้สครับขัดผิวหน้า จะทำให้ฟิล์มไขมันบางๆ ที่ปกป้องผิวหลุดออก นอกจากนั้นยังทำร้ายชั้นบนของหนังแท้ด้วย ถึงแม้การทำทรีทเม้นท์ประเภทนี้อาจมีประโยชน์ในการผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วและช่วยลดเลือนริ้วรอยบางๆ ได้บ้าง แต่ก็มีข้อเสียคือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว โดยเฉพาะผิวบอบบางที่แพ้ง่ายอยู่แล้วด้วย
ผู้มีผิวแพ้ง่ายควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดหน้า บำรุงผิวหน้า และเครื่องสำอางที่อ่อนโยนต่อผิว รวมถึงปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง ดังนี้
• ทดสอบอาการแพ้ทุกครั้งก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกชนิด โดยทาบาง ๆ บริเวณข้อพับแขน ข้อมือ ท้องแขน หรือหลัง หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังส่วนที่ทดสอบสัมผัสน้ำหรือเหงื่อประมาณ 48 ชั่วโมง หากเกิดผื่นแดงแสดงว่ามีอาการแพ้และไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
• หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเจือปน เช่น น้ำหอม สี แอลกอฮอล์ และส่วนผสมบางชนิดที่อาจทำให้มีอาการแพ้ได้ง่าย เช่น เรตินอยด์ กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha-Hydroxy Acids: AHA) ทัลคัม (Talc) ไมกา (Mica) สารเคมีระงับกลิ่นกาย รวมถึงสารเคมีที่มีคุณสมบัติทำลายหรือยับยั้งแบคทีเรีย
• ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อผลัดเซลล์ผิว หากต้องการผลัดเซลล์ผิวควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์
• หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง ที่มีคุณสมบัติกันน้ำหรือมีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ
• ไม่ควรใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ เพราะอาจเกิดการกลายสภาพและเป็นอันตรายต่อผิวหนังและอาจส่งผลต่อผิวหนังในอนาคตได้
• หลีกเลี่ยงสภาพอากาศหนาวจัดหรือร้อนจัด โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาทางผิวหนัง เช่น ผื่นผิวหนังอักเสบ เพราะอาจทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้น
• หลีกเลี่ยงการออกกลางแจ้ง ในช่วงเวลา 9.00-14.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความเข้มของรังสียูวีค่อนข้างสูงและอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพผิวหนังในอนาคตได้อย่างมาก
• ควรรักษาความสะอาดอยู่สม่ำเสมอ หมั่นล้างและทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสผิวหน้าเป็นประจำ เช่น อุปกรณ์แต่งหน้า ปลอกหมอน เป็นต้น เพราะเชื้อแบคทีเรียที่สะสมอยู่ตามสิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสิวและปัญหาทางผิวหนังที่ส่งผลให้ผิวระคายเคืองง่าย
• ควรเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น เลือกสวมเสื้อผ้าเนื้อบางเบา ไม่รัดรูป หรือผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย เพื่อป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง
• ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น
• ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบและได้รับการยืนยันว่าไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
• ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเพิ่มความชุ่มชื้น ให้ผิวเป็นประจำเพื่อป้องกันผิวแห้ง โดยควรเลือกที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติเป็นหลัก ปราศจากน้ำหอม สี และแอลกอฮอล์
• ทาครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดด หรือ SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนออกแดด ควรเลือกครีมกันแดดสูตร Non-Chemical ที่มีส่วนผสมของซิงก์ออกไซด์ (Zinc Oxide) และไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) เป็นหลัก เนื่องจากสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะไม่ซึมผ่านผิวหนัง ทำให้เสี่ยงเกิดการแพ้ได้น้อย
มีความเชื่อที่ว่าความชุ่มชื้นเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของผิวที่แข็งแรง ซึ่งเซราไมด์เป็นสารที่ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นภายในผิว และอาจช่วยป้องกันผิว ฟื้นฟูผิว และลดความเสียหายจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดผิวระคายเคืองได้ มีการศึกษาที่เกี่ยวกับการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของเซราไมด์ในผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าหลังสัปดาห์สุดท้ายผู้ป่วยโรคนี้มีสภาพผิวโดยรวมที่ดีขึ้นโดยไม่พบผลข้างเคียงงานวิจัยหลายฉบับที่ศึกษาเกี่ยวกับเซราไมด์กับโรคผิวหนังอักเสบชนิดต่าง ๆ พบว่าเซราไมด์นั้นเป็นหนึ่งในสารสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันที่ช่วยปกป้องผิวหนังชั้นนอก ลดอาการผิวแพ้ง่าย รวมถึงการใช้เซราไมด์ควบคู่ไปกับยาที่ใช้การรักษาโรคผิวหนังอักเสบบางชนิดอาจช่วยให้ผลการรักษานั้นดียิ่งขึ้น
นอกจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมเซราไมด์ที่อาจช่วยเสริมเกราะป้องกันผิวแล้ว ก็ยังควรให้ความสำคัญกับการควบคุมปัจจัยทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการสร้างเกราะป้องกันตามธรรมชาติให้กับผิว ซึ่งอาจทำได้ด้วยการดูแลตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ หรือการหลีกเลี่ยงการเผชิญมลภาวะต่าง ๆ และแม้ว่าเซราไมด์จะเป็นสารที่ปลอดภัย แต่การใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ก็ตามอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ จึงควรทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนใช้ทุกครั้ง โดยการทาผลิตภัณฑ์ลงบนท้องแขนและรอจนครบ 1 วัน หากเกิดอาการผิดปกติ อย่างผื่น แดง คัน หรือระคายเคือง แสดงว่าผลิตภัณฑ์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ผิวบอบบางและผิวแพ้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่เมื่อปัญหานี้เกิดขึ้นบนใบหน้าอาจเป็นจุดสนใจที่ทำให้คนอื่นสามารถสังเกตเห็นได้และทำให้เราสูญเสียความมั่นใจ ผิวบอบบางที่แพ้ง่ายเป็นปัญหาผิวที่เกิดจากเกราะป้องกันผิวมีความผิดปกติ ทำให้ผิวสูญเสียน้ำและสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองสามารถเข้ามาทำร้ายผิวซึ่งระดับความรุนแรงของอาการผิวบอบบางไวต่อการระคายเคืองนั้นอาจเพิ่มมากขึ้นหากโดนปัจจัยจากภายนอกอย่างแสงแดด หรือสารบางชนิดในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวเป็นตัวกระตุ้นเสริม เพราะฉะนั้นนอกจากการสังเกตุและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ผิวแพ้ง่าย แล้วการเลือกใช้สกินแคร์สำหรับผิวแพ้ง่ายโดยเฉพาะก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
ผิวของเราเป็นอวัยวะที่มีความมหัศจรรย์ ผิวสุขภาพดี คือ การมีเกราะปกป้องผิว (Skin barrier) ที่แข็งแรง โดยจะมีขั้นตอนการทำงานของส่วนต่างๆ ที่สลับซับซ้อนในการสร้างสมดุลในผิว เพื่อปกป้องผิวจากสิ่งเร้าและปัจจัยทำร้ายผิวจากภายนอก โดยมีเซลล์ผิวและไขมันที่อยู่ในชั้นผิวซึ่งทำหน้าที่ไม่ต่างกับอิฐและปูนที่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบเพื่อสร้างความมั่นคงและแข็งแรงให้กับโครงสร้างผิว ซึ่งหากเราไม่ดูแลจะทำให้เกราะปกป้องผิวอ่อนแอและส่งผลกระทบให้เกิด 4 ปัญหาผิว คือ ผิวแดง ผิวแห้งลอกเป็นขุย ผิวขาดน้ำ เป็นผดผื่นและไวต่อการระคายเคืองได้ง่าย และอาจมีปัญหาผิวอื่นๆ ตามมา
ผิวบอบบาง แพ้ง่าย สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในเด็กทารกและเมื่อเริ่มมีอายุเพราะผิวเด็กทารกมีความหนาประมาณเศษ 1 ส่วน 5 ของผิวผู้ใหญ่ และเกราะป้องกันผิวยังไม่สามารถทำงานได้เต็มที่จึงทำให้เซนซิทิฟต่อสิ่งกระตุ้นได้ง่าย ส่วนผิวผู้ใหญ่นั้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำงานของเกราะป้องกันผิวก็เริ่มเสื่อมสภาพลง ประกอบกับต้องเผชิญทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เป็นสิ่งกระตุ้น จึงทำให้มีผลกระทบกับความสามารถของผิวในการป้องกันสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง โดยปัจจัยภายในที่ส่งผลให้เกิดผิวบอบบางแพ้ง่าย ได้แก่
✿ ความแตกต่างของผิวหน้ากับผิวส่วนอื่นๆ เนื่องจากผิวหน้าต้องเผชิญกับปัจจัยกระตุ้นจากภายนอกอยู่เสมอ และผิวหนังกำพร้าบนผิวหน้าเรามีความหนาเพียงแค่ 0.02 มิลลิเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับหนังกำพร้าบริเวณอื่นๆ ของร่างกายที่มีความหนากว่าถึง 5 เท่า หรือประมาณ 0.1 มิลลิเมตร จึงทำให้ผิวหน้าเป็นบริเวณที่เกิดปัญหาผิวบอบบางอ่อนแอ ไวต่อการระคายเคืองได้ง่าย เมื่อใดก็ตามที่เกราะป้องกันผิวอ่อนแอ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำและเปิดโอกาสให้ปัจจัยภายนอกเข้ามาทำร้ายผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดขึ้นที่ผิวหน้าแล้วอาการมักจะรุนแรงและเห็นได้ชัดเจน
✿ ฮอร์โมนภายในร่างกาย จากการตั้งครรภ์ ในช่วงที่มีประจำเดือนหรือแม้แต่คนที่หมดประจำเดือนแล้ว ล้วนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากการระคายเคืองได้เช่นกัน ผิวที่เริ่มมีอายุ มีแนวโน้มที่จะมีความอ่อนไหวและผิวบอบบางมากกว่าปกติ เพราะชั้นหนังกำพร้าที่บางลงและเกราะไขมันป้องกันผิวผลิตได้น้อยลง ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ สารสำคัญในชั้นผิว เช่น กรดไฮยาลูรอน โคเอนไซม์ คิวเทน มีปริมาณลดลง ทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้นหรือเซลล์ผิวไม่สามารถสร้างเซลล์ผิวใหม่ได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาริ้วรอย เหี่ยวย่น ผิวแห้ง ผิวแดง หรือมีอาการคัน
✿ สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อากาศหนาวมาก ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายในขณะที่อากาศร้อนทำให้เหงื่อที่ออกมาและระเหย ทำให้ผิวระคายเคืองได้ง่าย การอยู่ในห้องแอร์ตลอดทั้งวัน หรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นต่ำก็สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกันรังสียูวีและมลภาวะ การที่ผิวหน้าต้องเผชิญกับแสงแดดหรือฝุ่น PM2.5 ก็ทำให้ผิวอยู่ในอาการเครียดและก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่เป็นตัวการทำร้ายผิวและทำให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอ
✿ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว สารทำความสะอาดบางชนิดทำให้ไขมันธรรมชาติในผิวหายไป ส่วนน้ำหอม สี และแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์บางประเภทก็ทำให้ผิวระคายเคืองได้เช่นกัน
ʕ·ᴥ·ʔ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ : ความเครียดและการนอนหลับไม่เพียงพอ เป็นอีกสองปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาการผิวแพ้ง่ายปะทุขึ้นมาได้ โดยบางครั้งเมื่อควบคู่กับการรับประทานอาหารที่ขาดคุณค่าทางโภชนาการและการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ก็จะทำให้ผิวที่แห้ง ขาดน้ำ และระคายเคืองอยู่แล้วเกิดอาการแพ้ขึ้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ อย่างเช่น วิตามินเอ ซี และ อี น้ำมันในพืชและปลา สามารถช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีได้
ʕ·ᴥ·ʔ ทาครีมกันแดดเป็นประจำ แม้ในวันที่เมฆครึ้ม ผิวหน้าของเราก็ยังคงต้องเจอกับรังสียูวี ดังนั้นการหมั่นทาครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งสำคัญ และควรหลีกเลี่ยงการออกแดดระหว่างเวลา 11.00 - 15.00 น. ควรเลือกครีมกันแดดที่ปราศจากสารระคายเคืองผิว เช่น น้ำหอมบางประเภท
ʕ·ᴥ·ʔ ดูแลและฟื้นบำรุงผิวอ่อนแอ ผิวบอบบาง แพ้ง่ายเพราะถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำร้ายผิว สกินแคร์บำรุงผิวที่ใช้ควรมีส่วนผสมของสารสำคัญที่มีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการแพ้และระคายเคืองของผิวได้ดี
นอกจากการดูแลสุขภาพจากภายในแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารในกลุ่มที่มีวิตามินเพียงพอต่อผิวพรรณ การทานอาหารให้ครบห้าหมู่ ดื่มน้ำให้พอ พักผ่อนให้เต็มอิ่มในแต่ละวันแล้วนั้น การปลอบประโลมผิว หรือที่เรียกว่าการดูแลภายนอก เช่นการทาครีม และการทายารักษาบางชนิด ยากกว่าคือ จะเลือกครีมอย่างไร ให้เหมาะสมกับสภาพผิวหนังของแต่ละคนสำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งเป็นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หรือไม่มีการการันตีและเป็นที่ยอมรับแล้วนั้นจะส่งผลเสียคูณทวีเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า
ดังนั้นแล้ว ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวควรเลือกที่เป็นการยอมรับอย่างแพร่หลาย และมีการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และได้การยอมรับจากโรงพยาบาลชั้นนำทั่วโลก