Reishi เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ นั้นถูกใช้ในวงการแพทย์แผนจีนมานานมากกว่า 2,000 ปีซะอีกนะครับซึ่งเห็ดหลินจือถูกจัดให้เป็นเห็ดที่มีอายุยืนนาน และมีชื่อเสียงเก่าแก่ที่สุดในบรรดาสมุนไพรทางการแพทย์เลย ยังถูกบันทึกลงในตำราสมุนไพรที่มีอายุมากที่สุดของประเทศจีนอีกด้วย
ซึ่งสมัยก่อนนั้นยาปฏิชีวนะมันก็ไม่ได้มีแบบทุกวันนี้ ทำให้หมอในสมัยนั้นเค้าใช้เห็ดหลินจือในการรักษาโรคต่าง ๆ เป็นหลักเลยล่ะ จนถึงขนาดได้รับการยกย่องว่า เป็นราชาสมุนไพรที่หมอจีนเอาไปใช้รักษาแทบจะทุกโรคเลย
ทั้งเส้นใยต่าง ๆ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุบางชนิด ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เซเลเนียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง รวมไปถึงพวกสารโมเลกุลชีวภาพที่สำคัญ ๆ เช่น
ไตรเทอร์พีน ที่ช่วยกำจัดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
นิวคลีโอไทด์ ที่ช่วยออกฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
พอลิแซ็กคาไรด์ มีฤทธิ์เสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดอาการอักเสบ
เจอมาเนียม ซึ่งมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย บำรุงประสาท สมอง หัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
เออร์โกสเตอรอล ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน และสารอนุพันธ์อื่น ๆ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้เห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือที่นำมาบริโภคจะให้ผลลัพธ์ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อคนปกติทั่วไปใช้ดอกเห็ดหลินจืออบแห้ง ชงเป็นชา เพื่อดื่มเป็นประจำ ถ้าต้องการต้มเป็นยา ต้องดื่มให้หมดวันละ 1 - 3 เวลา และจะดื่มเวลาใดก็ได้ ถ้าจะนำมาดองเหล้า จะให้ดอกเห็ดหลินจือดองกับเหล้าขาวหรือเหล้าเหลือง ชนิด 40 ดีกรี ปริมาณ 100 – 150 ซีซี ทิ้งไว้ 15 วัน และค่อยนำมาดื่มครั้งละ 10 ซีซี หรือ ช้อนชา วันละ 1 – 3 เวลา ก่อนหรือหลังอาหารก็ไม่ต่างกัน นอกจากนั้น ยังมีผู้ผลิตเป็นแคปซูล โดยนำส่วนผสมของดอกเห็ด เส้นใย หรือราก และผงสปอร์ รวมอยู่ในเม็ด ซึ่งปริมาณขึ้นอยู่กับอายุของผู้ใช้ หากเป็นเด็ก ใช้ 1 – 2 แคปซูลก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับผู้ป่วย ควรใช้ ครั้งละ 3 แคปซูล วันละ 2 เวลา จะดีที่สุดอีกทั้งชนิดผงสปอร์บริสุทธิ์ ที่จะออกฤทธิ์มากกว่าแบบแคปซูล ก็จะนำมาผสมน้ำอุ่นในปริมาณ 1 กรัม หรือไม่เกิน 3 กรัม สำหรับผู้ป่วย และ ยังมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อาจผสมในน้ำผึ้ง น้ำผลไม้ เครื่องดื่ม และอาหารคาวหวานได้ง่ายๆ และนำมาผสมกับสมุนไพรอื่นๆ เช่น ถั่งเช่า โสม กระชายดำ ฯลฯ เป็นยาบำรุงร่างกายชั้นดีได้อีกด้วย
ลักษณะทั่วเห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ เป็นเชื้อราชนิดที่ขึ้นอยู่ตามต้นไม้ที่เน่าเปื่อย ผุพัง พบอยู่ทั่วไป ระดับความสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1000 เมตร อุณหภูมิระหว่าง 8 – 38 องศาเซลเซียส ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เส้นใยและดอกยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้แต่ไม่เจริญเติบโต เมื่ออากาศเริ่มอุ่นขึ้นก็สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ เห็ดหลินจือมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามภาษาเรียก ประเทศจีนเรียกว่า หลิงชิง หรือหลินจือ สำหรับประเทศไทยเรียกว่า เห็ดกระด้าง เห็ดหั้งขอ เห็ดนางกวัก เห็ดแม่เบี้ยงูเห่า เห็ดจวักงู
แล้วยังแบ่งแยกไปตามชนิดของเห็ด ได้แก่
- • ดอกสีเขียว เรียกว่า ชิงจือ มีรสชาติขมเล็กน้อย มักพบในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นใช้ในการรักษาโรคหัวใจ
- • ดอกสีแดง เรียกว่า ฉื้อจือหรือต้นจืน มีรสขม ใช้เป็นยาแก้การแน่นหน้าอก เลือดตกค้าง บำรุงหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นโรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน
- • ดอกสีเหลือง เรียกว่า หวงจือหรือจีนจือ มีรสชาติหวานจืด มีสรรพคุณในการบำรุงประสาท บำรุงร่างกายระบบขับถ่ายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
- • ดอกสีขาว เรียกว่า ไป่จือหรือวีจือ มีรสชาติฉุน ขมเล็กน้อย มีสรรพคุณในการโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปอด จมูก ทำให้หายใจคล่อง
- • ดอกสีดำ เรียกว่า เฮจือหรือเสียนจือ มีรสชาติเค็มเล็กน้อยไม่ขม มีสรรพคุณในการขับน้ำตกค้างในร่างกาย บำรุงไต ขับปัสสาวะ
- • ดอกสีม่วง เรียกว่า จื่อจือหรือสีซ๊อคโกแลต มีรสชาติขมเล็กน้อย มีสรรพคุณรักษาโรคไขข้ออักเสบ หูอักเสบ
คุณสมบัติเด่นที่ทำให้เห็ดหลินจือ เป็นสุดยอดสมุนไพรที่ดีที่สุดในโลก
➽ บำรุงร่างกาย เสริมกำลัง บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
➽ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
➽ ลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน
➽ ลดไขมันในเลือด
➽ ป้องกันโรคหัวใจ
➽ เสริมสร้างความจำ ป้องกันอัลไซเมอร์
➽ ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น
➽ ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง
➽ ล้างพิษให้ร่างกาย
➽ บำรุงสายตา
➽ แก้หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
➽ รักษาโรคภูมิแพ้ หืด หอบ
➽ ลดความดันโลหิตสูง
➽ แก้ปวดเมื่อย ปวดข้อ
➽ บำรุงระบบประสาท แก้อาการนอนไม่หลับ เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร
➽ รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
➽ บำรุงและรักษาโรคตับต่าง ๆ
➽ ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ
➽ ป้องกันการทำงานหนักของไต
➽ รักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร
➽ ลดอาการปวดประจำเดือน
➽ แก้ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
➽ แก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก
➽ ยับยั้งเชื้อไวรัส อย่างไวรัสเอดส์ อีสุกอีใส งูสวัด
➽ รักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากการขาดออกซิเจน เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจล้มเหลว เส้นเลือดหัวใจตีบ
คำแนะนำในการทาน เห็ดหลินจือ
- ควรบริโภคเห็ดหลินนจือ ก่อนอาหารอย่างน้อย 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง แต่สำหรับคนที่เป็ฯโรคกระเพาะให้รับประทานเห็ดหลินจือ หลังอาหาร 2 ชั่วโมงแทน เนื่องจากควรรับประทานขณะท้องว่าง เพื่อประสิทธิภาพในการดูดซึม
- ใน 2 สัปดาแรกที่จะเริ่มทาน ให้รับประทานในปริมาณน้อยก่อนเพื่อให้ร่างกายเกิดการปรับตัว
- ควรทานวิตามินซี ร่วมด้วยเนื่องจากสารโพลีแซคคาไรด์ ในเห็ดหลินจือมีโครงสร้างที่สับซ้อนบางท่านอาจจะเกิดการย่อยยาก จึงควรรับประทานวิตตามินซี หรืออาหารที่มีวิตามินซีร่วมด้วยเพื่อช่วยในการดูดซึม
BACK