หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

ขิง (Ginger)


   ขิง ( Ginger ) คือ พืชสมุนไพรตระกูลเดียวกับขมิ้นมีรสเผ็ดร้อน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันคนใช้ขิงสดทั้งแบบขิงอ่อน ขิงแก่ และใช้ขิงแห้งในการประกอบอาหาร เครื่องเทศ และใช้ทั้งเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ยาแผนโบราณ และยาแผนปัจจุบัน จากงานวิจัยพบว่า ขิง มีสารสำคัญในเหง้าขิงสดประกอบด้วย ซิงจิเบอรีน ( zingiberene ) ฟีนอลิก ( phenolic ) ที่ทำให้ขิงมีกลิ่นหอมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนเพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยป้องกันและรักษาโรคข้ออักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ รักษาอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ในส่วนของขิงสดอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุเหล็ก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส โปรตีน และเส้นใย เป็นต้น ขิง เป็นพืชเขตร้อนที่เติบโตในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe ลักษณะของลำต้นสีเขียวเข้มแตกหน่อขึ้นเป็นกอสูงประมาณ 50 -70 เซนติเมตร เปลือกซ้อนกันเป็นกาบยาว ใบเดี่ยวเรียวยาวออกสลับกัน ดอกสีขาว มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน

   เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่โดดเด่นเรื่องรสชาติ และกลิ่น ไม่ว่าจะนำมาแปรรูปทำเป็นเครื่องดื่ม หรือเป็นเมนูของหวาน ต่างก็ล้วนให้สรรพคุณที่ดีต่อร่างกายทั้งสิ้น ขิงอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี แคลเซียม ธาตุเหล็กฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต เส้นใย และโปรตีน

 

 สรรพคุณที่ดีต่อร่างกายหลายด้าน ประโยชน์เหล่านั้นมีดังนี้ enlightened

 แก้อาการเมารถเมาเรือ

 แก้ปัญหาผมขาดร่วง

 ช่วยลดอาการท้องอืด

 บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

 บรรเทาอาการไมเกรน 

 ลดความเสี่ยงของการเกิดความดันโลหิตสูง

 ลดระดับน้ำตาลในเลือด

 ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง

 รักษากรดไหลย้อน

 ช่วยรักษาโรคต่างๆ อีกมากมาย

ข้อควรระวังเกี่ยวกับขิงที่ควรรู้ yes

  1.  แม้ว่าขิงจะมีประโยชน์หลากหลาย แต่อย่าลืมว่าขิงมีฤทธิ์เผ็ดร้อน หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลในปากได้
  2.  ขิงมีสรรพคุณต้านการแข็งตัวของเลือด หากคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด หรือกำลังรับประทานยาละลายลิ่มเลือดอยู่ ไม่ควรรับประทานขิงเป็นอันขาด หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
  3.  ไม่ควรรับประทานขิงเกินวันละ 4 กรัมต่อวัน เนื่องจากอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้
  4.  เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จึงไม่ควรรับประทานขิง อย่างไรก็ตาม บางการศึกษากลับให้ข้อมูลว่า ขิงไม่ส่งผลเสียแต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ ควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

ข้อควรระวังและโทษของขิง

   ผลข้างเคียงส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการบริโภคขิงมากเกินไปที่กำหนดไว้ที่ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน การรับประทาน : เมื่อทานขิงในปริมาณที่เหมาะสมผลข้างเคียงไม่รุนแรง อาจรู้สึกไม่สบายท้องหรือท้องเสีย การใช้ขิงกับผิว : ขิงมีความปลอดภัยสูงเมื่อใช้กับผิวอย่างเหมาะสมในระยะสั้น แต่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังในบางคนหรือสำหรับคนผิวแพ้ง่าย

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

1. ฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  


   ฤทธิ์ขับลมเกิดจากสาร menthol, cineole, shogaol และ gingerol กระตุ้นการทํางานของกล้ามเนื้อที่ระบบทางเดินอาหารให้มีการบีบตัวมากขึ้น จึงเกิดการขับลมออกมา ฤทธิ์เพิ่มการหลั่งน้ำดี ในลําไส้เล็กส่วนต้นของหนูถีบจักร โดยสารสกัดอะซิโตนของเหง้าขิง แต่สารสกัดน้ำของเหง้าขิงไม่มีฤทธิ์เพิ่มการหลั่งน้ำดี

2. ฤทธิ์ลดการอักเสบของลำไส้ใหญ่  


   เมื่อป้อนหนูขาวเพศผู้ สายพันธุ์ wistar ด้วยสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขิง ขนาด 100, 200 และ 400 มก./กก. และยามาตรฐาน sulfasalazine ขนาด 500 มก./กก. ก่อนเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นเหนี่ยวนำให้หนูเกิดการอักเสบ และเป็นแผลที่ลำไส้ใหญ่ด้วยกรดอะซีติก 3% แล้วทำการศึกษาต่อไปอีก 7 วัน พบว่าสารสกัดจากเหง้าขิงที่ขนาด 200 และ 400 มก./กก. และยา sulfasalazine มีผลลดอาการบวม และอักเสบของลำไส้ โดยดูจากจำนวน และขนาดของแผลที่ลำไส้ใหญ่ที่ลดลง

3. ฤทธิ์แก้ท้องเสีย  


   การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของขิงต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ โดยให้สาร zingerone ซึ่งเป็นสารที่มีรสเผ็ดร้อน แยกมาจากน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าขิง แก่หนูแรทเพศผู้ สายพันธุ์ wistar โดยให้สาร zingerone บริเวณช่องว่างของลำไส้ เพื่อให้ซึมผ่านไปยังผนังลำไส้ บันทึกผลโดยดูการหดตัวของลำไส้ใหญ่จากลำไส้หนูที่แยกออกมานอกร่างกาย

4. ฤทธิ์ลดการหดเกร็งของลำไส้  


   การศึกษาฤทธิ์ต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ในหนูแรทเพศผู้ สายพันธุ์ wistar โดยการตัดลำไส้เล็กส่วน Ileum ของหนู และกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของลำไส้เล็กโดยใช้กระแสไฟฟ้า (electrical stimulation ; EFS) หรือ acetylcholine แล้วทำการให้สารสกัดขิงในขนาด 0.01–1000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร หลังจากนั้น 15 นาที บันทึกผลการทดสอบพบว่าสารสกัดขิงสามารถยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กจากการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (EPS) และ acetylcholineได้ โดยจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวที่แรงกว่าในกรณีที่ถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (EPS)

5. ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่  


   การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (myeloma) และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ (WiDr) ในหลอดทดลอง โดยใช้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่แยกได้จากหนู และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้จากคน โดยใช้สารสกัดเอทานอลที่ได้จากขิง, ดีปลี, และสารสกัดผสมระหว่างสารสกัดเอทานอลที่ได้จากขิงกับสารสกัดเอทานอลที่ได้จากดีปลีในอัตราส่วน 1:1ตรวจสอบโดยวิธี MTT cytotoxic assay ใช้ยา doxorubicin เป็นสารมาตรฐาน

BACK