มะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในเขตร้อน โดยมีต้นกำเนิดในแอนทิลลีส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโก จนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล เป็นพืชที่ทนต่อโรคพืชต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี การเพาะปลูกจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงแต่อย่างใด จึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าการรับประทานมะเขือพวงจะได้ประโยชน์และปลอดสารพิษอย่างแน่นอน
สำหรับในประเทศไทยบ้านเรานั้นรู้จักมะเขือพวงมานานแล้ว โดยนิยมนำผลมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น แกงป่า แกงคั่วปลาไหล แกงอ่อมปลาดุก แกงเขียวหวาน แกงเนื้อ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกกุ้งสด น้ำพริกไข่เค็ม ปลาร้าทรงเครื่อง ผัดเผ็ด เป็นต้น
มะเขือพวงมีสารโซลานีน (Solanine) ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ ผู้ที่เป็นโรคไขข้อควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะสารนี้อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายได้
ลักษณะทั่วไปมะเขือพวง
มะเขือพวงจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-4เมตร ลำต้นมีหนามห่าง ๆ ลำต้นตั้งแข็งแรงเปลือกมีสีเขียวอมขาว ไม่มีรอยแตก ไม่ผลัดใบ มักจะแตกกิ่งก้านมากตั้งแต่ระดับต่ำจากลำต้น และมีหนามเช่นเดียวกับสำต้น ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนปกคลุม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกอ่อนนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่ ขอบใบเป็นพลูกว้าง ฐานใบมนกว้าง ปลายใบแหลม ผิวใบด้านล่างมีขนรูปสามเหลี่ยมบกคลุม เมื่อสัมผัสจะนุ่ม ตัวใบขนาด 3-5 x 4-6 นิ้ว เนื้อใบอ่อนเหนียว เส้นใบแตกแบบขนนกสานกันเป็นร่างแห ดอกเป็นช่อสีขาว มีดอกย่อย 2-15 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกดอกตรงตาข้างและยอดกิ่ง ก้านดอกยาวกว่า ลักษณะดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ขณะบานเป็นรูปดาว 5 แฉก ผลเป็นผลเดี่ยวเป็นพวงคล้ายมะแว้ง แต่ขนาดใหญ่กว่า รูปกลม ผิวเกลี้ยงสีเขียว กลีบเลี้ยงที่ติดอยู่ไม่มีหนาม ขนาดผลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.3 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลืองอ่อน เมล็ดมีจำนวนมาก ลักษณะแบน กลม ผิวเรียบ
การศึกษาทางพิษวิทยา
จากข้อมูลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้แสดงคุณสมบัติที่เด่นชัดของมะเขือพวง ในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้เพื่อตอบสนองต่อสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันความเสื่อมและแก่ก่อนวัย มีฤทธิ์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในโรคเบาหวาน มีงานวิจัยที่ศึกษาปฏิกิริยาต้านอนุมูลอิสระของเครื่องดื่มจากมะเขือพวงแห้ง พบว่าน้ำสมุนไพรมะเขือพวงสามารถลดระดับอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ หรืออนุมูลอิสระไนทริกออกไซด์ในเลือดหนูที่เป็นเบาหวานได้ ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดสภาวะเครียดในหนูทดลองที่มีอาการของโรคเบาหวาน ส่งผลต่อสภาวะเครียดออกซิเดชันในเม็ดเลือดแดง น้ำสมุนไพรมะเขือพวงลดไขมันที่ถูกออกซิไดซ์เป็นไขมันไม่ดีในหนูที่มีอาการเบาหวาน นอกจากนี้พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และงานวิจัยที่ประเทศแคเมอรูนพบว่า
เมื่อให้สารสกัดน้ำและแอลกอฮอล์ของผลมะเขือพวงกับหนูทดลองพบว่าความดันโลหิตของหนูต่ำลง และลดอัตราการเต้นของหัวใจด้วย โยฮิมบีนและอะโทรพีนไม่มีผลต่อฤทธิ์การลดความดันโลหิตของสารสกัดมะเขือพวง แต่โยฮิมบีนยับยั้งผลการลดอัตราการเต้นหัวใจของสารสกัดน้ำมะเขือพวง และเมื่อทดสอบการเกาะตัวของเกล็ดเลือดที่กระตุ้นโดยทรอมบินหรืออะดีโนซีนไตรฟอสเฟต พบว่าสารสกัดน้ำมะเขือพวงยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดจากผลของสารทั้งสองดังกล่าว ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของสารสกัดผลมะเขือพวงทั้ง 2 ชนิดน่าจะเกิดจากการทำให้หัวใจเต้นช้าลง ผนวกกับผลยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดทำให้มะเขือพวงมีประโยชน์สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูงและมีปัญหาเรื่องการรวมตัวของเกล็ดเลือด ตามที่มีการใช้งานมาแต่ดั้งเดิมนั่นเอง
มะเขือพวงมีสารโซลานิน (Solanine) ซึ่งเป็นอัลคาลอยด์ ซึ่งสารนี้อาจจะทำให้เกิดความไม่สมดุลของแคลเซียมในร่างกายได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไขข้อและโรคกระดูดควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน
การได้รับสารโซลานีนจำนวนมากในผู้ที่ไวต่อสารโซลานีน อาจเกิดอาการไม่ให้สุกด้วยความร้อน หรืออาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ เช่น ท้องเสีย ปวดหัว อาเจียน
สำหรับลดผลกระทบจากสารโซลานีน ทำได้โดยนำผลมะเขือพวงที่จะรับประทานไม่ทำให้สุกด้วยความร้อน หรืออาจรับประทานอาหารกลุ่ม นม-เนย ควบคู่ไปกับการรับประทานมะเขือพวงด้วยก็ได้
การรับประทานมะเขือพวงดิบมากเกิน 16 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของตับได้