หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

กระดูกพรุน (OSTEOPOROSIS)


     หากกล่าวถึงโครงสร้างของร่างกายที่ช่วยรองรับอวัยวะต่างๆให้ทรงตัวอยู่ได้นั้น คงหนีไม่พ้น “ระบบโครงสร้างกระดูก” ซึ่งนอกจากหน้าที่หลักข้างต้นแล้ว กระดูกยังช่วยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะภายใน และที่สำคัญยังเป็นแหล่งเก็บแร่ธาตุ แคลเซียม ให้กับร่างกายเราอีกด้วย


     “โรคกระดูกพรุน” เป็นโรคที่มีความผิดปกติของกระดูก โดยเซลล์สลายกระดูกทำงานมากกว่าเซลล์สร้างกระดูก ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง และมีความเปราะเพิ่มขึ้น โรคนี้เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญในผู้สูงอายุ และเป็นภัยเงียบ เนื่องจากไม่มีอาการอะไร มีเพียงแต่เนื้อกระดูกบางลง ความหนาแน่นน้อยลง ทั้งนี้ กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ก็เมื่อเกิดกระดูกหัก ซึ่งมักเกิดตามหลังอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม ตกบันได ตกจากเก้าอี้ ซึ่งหากเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เพศหญิง เชื้อชาติเป็นคนเอเชีย วัยทอง ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือรับประทานแร่ธาตุแคลเซียม วิตามินดี ไม่เพียงพอก็มีแนวโน้มที่กระดูกจะเปราะแตกหักง่ายจนนำไปสู่โรคที่พวกเรารู้จักกันดีคือ “โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)” 


     ผู้หญิงมีโอกาสกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนมากถึงร้อยละ 30-40 ในขณะที่ผู้ชายมีโอกาสร้อยละ 13 โดยผู้หญิงช่วงอายุ 10 ปีแรกหลังจากหมดระดู กระดูกจะบางลงเร็วมาก อธิบายได้ว่าเกิดจากการที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่า “เอสโตรเจน” นอกจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้ว ยังเกิดจากความเสื่อมตามวัยซึ่งพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง


อาการไหนที่บ่งบอกว่าเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 


     โรคกระดูกพรุน ได้ชื่อว่าเป็น “ภัยเงียบ” เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีอาการ กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อกระดูกหักเสียแล้ว แต่อาจมีอาการที่พบได้ ได้แก่ 

 

 

 


สาเหตุของโรคกระดุกพรุน


     เมื่อคนเรามีอายุประมาณ 35 ปีขึ้นไป โครงสร้างของกระดูกจะเปลี่ยนไปโดยมีความหนาแน่นของกระดูกลดลง และเมื่อมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยก็อาจนำไปสู่โรคกระดูกพรุนได้ ได้แก่


การสะสมแคลเซียมในร่างกายในช่วงชีวิตที่ผ่านมาไม่เพียงพอ


โครงสร้างกระดูกที่ไม่แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก


การติดเชื้อบางชนิดที่ส่งผลกระทบต่อต่อมพาราไธรอยด์ ทำให้เกิดการลดลงของแคลเซียม และทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนสูงขึ้น


อายุที่มากขึ้น เซลล์ต่างๆจึงเสื่อมลงรวมทั้งเซลล์สร้างกระดูก การสร้างกระดูกจึงลดลง แต่เซลล์ทำลายกระดูกยังทำงานได้ตามปกติหรืออาจทำงานมากขึ้น


ภาวะขาดฮอร์โมนเพศ : ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ดังนั้น โรคกระดูกพรุนจึงพบได้บ่อยในผู้หญิงและโดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนถาวร


ภาวะขาดอาหารสำหรับการสร้างกระดูก : อาหารสำคัญของการสร้างกระดูกคือ โปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี ซึ่งผู้สูงอายุมักขาดอาหารทั้งสามชนิดนี้ การขาดอาหารจะลดการสร้างมวลกระดูกและกระตุ้นให้เซลล์ทำลายกระดูกทำงานสูงขึ้น


ขาดการออกำลังกาย: การเคลื่อนไหวออกกำลังกายจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก ตรงกันข้าม เมื่อขาดการออกกำลังกาย เซลล์ทำลายกระดูกจะทำงานเพิ่มขึ้น


โรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ : เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) หรือโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมอง
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน


สูงอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป


ผู้หญิงเพราะมีการหมดประจำเดือน (หมดฮอร์โมนเพศ)


ขาดการออกกำลังกาย


สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย


การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุให้ขาดสารอาหาร


มีโรคเรื้อรังต่างๆที่ส่งผลถึงสุขภาพซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง


แคลเซียมสำคัญต่อกระดูกอย่างไร


     “แคลเซียม” เป็นแร่ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย ร้อยละ 99 ของแคลเซียมอยู่ในกระดูกและฟัน และอีกร้อยละ 1 อยู่ในเลือดและของเหลวในร่างกาย แคลเซียมมีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การหดตัวของกล้ามเนื้อ การทำงานของระบบประสาท และการแข็งตัวของเลือด ในวัยเด็กร่างกายมีความต้องการแคลเซียมมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากกำลังอยู่ในช่วงสะสมแคลเซียมเพื่อสร้างความแข็งแกร่งของกระดูกเตรียมพร้อมไว้สำหรับอนาคต การขาดแคลเซียมในวัยเจริญเติบโตจึงอาจทำให้กระดูกไม่แข็งแรง หรือกระดูกผิดปกติ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น


คุณได้รับแคลเซียมเพียงพอแล้วหรือยังenlightened


     รู้หรือไม่ว่าคนไทยจำนวนมากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ นั่นคือในผู้ที่มีอายุ 15-59 ปี ได้รับแคลเซียมเฉลี่ยเพียงร้อยละ 30 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ส่วนในผู้สูงอายุได้รับเพียงประมาณร้อยละ 21 เท่านั้น
     แหล่งแคลเซียมหลักจากอาหาร คือ นมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่คนไทยจำนวนมากไม่นิยมบริโภคนม ไม่ค่อยได้รับ ประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารเพียงพอต่อร่างกาย และนิยมรับประทานอาหารจานด่วน หรือควบคุมน้ำหนักด้วยการอด อาหาร เหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่ออายุมากขึ้น กรดในกระเพาะอาหารและการ สังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดดผ่านทางผิวหนังก็ลดลง ส่งผลให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยกว่าวัยอื่นๆ


การขาดแคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน enlightened


     “โรคกระดูกพรุน” มักแสดงออกในผู้สูงอายุ ทั้งนี้เนื่องจากกระดูกของคนเราจะมีการสร้างและสะสมแคลเซียมจนมี ความหนาแน่นสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นอัตราการสลายกระดูกจะเร็วกว่าการสร้างความหนาแน่นของกระดูก จึงลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสตรีหลังหมดประจำเดือน จากการสำรวจในผู้หญิงไทยอายุต่ำกว่า 50 ปี จะมีความชุกของโรค กระดูกพรุนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 และหลังอายุ 55 ปี ความชุกจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงมากกว่าร้อยละ 50 เมื่ออายุ 70 ปี แต่คนในวัยอื่นๆ บางกลุ่มก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนตั้งแต่อายุยังน้อยได้เช่นกัน เช่น

  1. 1. ผู้หญิงที่ตัดรังไข่
  1. 2. ผู้ที่สูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์จัด
  1. 3. ผู้ที่โครงร่างบอบบางน้ำหนักตัวน้อย
  1. 4. ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
  1. 5. ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์
  1. 6. ผู้ที่บริโภคแคลเซียมน้อยเกินไปในวัยเจริญเติบโตและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

 


 

BACK