เรามารู้จักพริกกันก่อนนะคะ โดยทั่วไปพริกจะถูกใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการปรุงอาหาร ในทางอุตสาหกรรมพริกจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้หลากหลายชนิดเช่น ใช้ปรุงอาหารเป็นสารแต่งสี กลิ่นธรรมชาติ และใช้ปรุงรสเผ็ด ด้วยรูปแบบการนำไปใช้ที่แตกต่างกันจึงมีพริกแปรรูปหลายชนิดตามลักษณะการใช้งานเช่น พริกบด ผงพริก โอลีโอเรซิน (Oleoresin) และสารสกัดพริก ทั้งที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม ยา และเครื่องสำอาง
สารประกอบทางธรรมชาติที่สำคัญของพริกส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย น้ำมันที่ระเหยยาก สารประกอบหลักที่ให้กลิ่นฉุนในพริก (มีหลายชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารแคปไซซิน), น้ำมันหอมระเหย (น้ำมันที่ระเหยง่าย) และแคโรทีนอยด์ (สารกลุ่มให้สี) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารแคปแซนทีน (Capsanthin)
เป็นที่มาของสารสกัดจากพริกพริก ใช้เป็นวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรืออาหาร โดยให้ปริมาณสารสำคัญแคปไซซิน (Capsaicin) มากกว่า 10.0 mg% ซึ่งเป็นสารสำคัญที่สกัดได้จากเยื่อแกนกลางของพริก เป็นสารที่จัดอยู่ในกลุ่มสารให้ความเผ็ดร้อน แคปไซซินนอกจากจะพบมากในพริกแล้วยังพบในพริกไทย กระเทียม หอมใหญ่ ข่าและขิง โดยพืชแต่ละชนิดให้ปริมาณสารสำคัญแคปไซซินต่างกัน พืชที่มีสารแคปไซซินปริมาณมากจะให้ความเผ็ดร้อนสูง
แล้วสารสกัดจากพริก (Capsicum Extract) คือ
เป็นสารสกัดที่ได้จากพริก สารที่ประกอบอยู่ในตัวของพริกเรียกว่า สาร Capsaisin (แคปไซซิน) มีหน้าที่หลักในการช่วยลดการสะสมไขมันส่วนเกิน โดยมีส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มการเผาผลาญอาหารที่รับประทานระหว่างวัน และเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่มีอยู่เดิม พริกนั้นมีหน้าที่หลากหลาย กระทั่งไปถึงการช่วยเพิ่มระดับของเอนไซม์ในตับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำให้ไขมันแตกตัว ช่วยเร่งเมตาบอลิซึม ( กระบวนการสร้างและสลาย ) ช่วยลดปริมาณการดูดซึมไขมันในร่างกาย โดยทำให้น้ำย่อยที่ใช้ย่อยไขมันลดลง จึงสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดการสร้าง ไขมันที่ไม่ดี และเพิ่มการสร้างไขมันที่ดี ให้ร่างกายอีกด้วย
สารสกัดจากพริก
สารสกัดจากพริก คือ สารสกัดที่มาจากพืชกลุ่มพริก (Capsicum spp.) เช่น พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า และพริกขี้หนู
มีสารที่เรียกว่า แคปไซซิน (Capsaisin) ช่วยลดการสะสมไขมัน เพิ่มการเผาผลาญอาหารที่รับประทานระหว่างวัน และเร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกินที่มีอยู่เดิม จึงสามารถลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดการสร้าง LDL (ไขมันเลว) และช่วยเพิ่มการสร้าง HDL (ไขมันดี)ให้แก่ร่างกาย
1.เพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย
2.ขับเสมหะ ยาฝาดสมาน ช่วยการย่อย เพิ่มความอบอุ่นในร่างกายและรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
3.พริกจะลดการเกิดก๊าซที่เกิดจากการย่อยอาหารและการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อท้องที่เกิดจากท้องอืดท้องเฟ้อ
4.ป้องกันหวัด อาจเป็นเพราะว่าพริกอุดมไปด้วย บีตา-แคโรทีน ไบโอฟลาโวนอยด์ และวิตามินซี และยังถูกดูดซึมได้ดี การกินพริกก่อนอาหารหรือพร้อมอาหารจะแก้อาการเบื่ออาหารได้
กลไกในการเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน
สาร Capsaicin ในพริก จะกระตุ้นตัวรับที่ต่อมหมวกไตเกิดการหลั่งสารชื่อว่า adrenaline สารนี้จะจับกับเซลล์ไขมันในร่างกายทำให้เกิดการกระตุ้นการเผาผลาญ
ใครบ้างควรทาน
1.ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
3.ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
4.ผู้ที่มีการเผาผลาญพลังงานต่ำ เช่น คนที่มีเนื้อตัวเย็น
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ capsaicinไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรและเด็กเล็ก
ระวังเมื่อต้องใช้ควบคู่กับยาลดความดันกลุ่ม ACEI เช่น captopril, enalapril อาจทำให้เกิดอาการไอ เพิ่มขึ้น
อาจเพิ่มการดูดซึมของยาโรคหอบหืดคือ theophylline ชนิดออกทธิ์นาน ทำให้เพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงของ theophylline
อาจมีผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้เหงื่อออก น้ำมูกไหล หน้าแดง
หลีกเลี่ยงการใช้สารสกัดพริกร่วมกับยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง เช่น แอสไพริน วาฟาร์ริน ไอบูโปรเฟนสารสกัดพริกอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ควรหยุดใช้ 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดแล้ว