โรคความจำเสื่อมและอัลไซเมอร์ (Alzheimers) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทในสมองเสื่อมสภาพหรือถูกทาลาย ซึ่งทาให้บกพร่องในการควบคุมอารมณ์และจิตใจ เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุดของภาวะสมองเสื่อมหรือความจาเสื่อม (Dementia) ความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุโดยเฉพาะในประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เนื่องจากปัจจุบันนี้ คนเรา
มีอายุที่ยืนมากขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นและจะเป็นปัญหาที่สาคัญของผู้สูงอายุในหลายๆประเทศทั่วโลก สิ่งสาคัญที่สุดคือ การวินิจฉัยโรคนี้ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อชะลอการดาเนินโรค
อาการผิดปกติของโรคอัลไซเมอร์ในช่วงแรก คือ หลงๆ ลืมๆ สับสน วางของผิดที่ผิดทาง สับสน ไม่มีสมาธิ จำเหตุการณ์ที่เพิ่งทาหรือเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีภาวะอารมณ์แปรปรวน เช่น อาการซึมเศร้า ก้าวร้าว วิตกกังวล มีการแสดงพฤติกรรมเห็นแก่ตัวหรือพฤติกรรมเอาแต่ใจแบบเด็กๆ นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องด้านความทรงจำ การรับรู้และการพูด ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถคิดเลขแบบง่ายๆ ได้ หรือไม่สามารถให้ความสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งแป็นเวลนานได้ หากอาการของโรคยังดาเนินต่อไปเรื่อยๆและรุนแรงมากขึ้น อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจาวันอย่างมาก อาจสื่อสารไม่ได้และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ หลงทางและเดินเตร็ดเตร่แบบไม่มีจุดหมายอันจะเป็นสาเหตุของอันตรายร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตและครอบครัวผู้ป่วยเอง
♦ หากเป็นการหลงลืมตามวัยแบบทั่วไปแล้ว โดยปกติเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี สมองของเรามักจะถดถอยตามวัย อาจมีการคิดช้า ใช้เวลาในการนึก ตัดสินใจแย่ลง อาจจะเริ่มมีหลงลืม เช่น หากุญแจไม่เจอ จำที่จอดรถไม่ได้ หรืออาจจะนึกชื่อเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานๆ ไม่ออก แต่เมื่อมีการบอกใบ้ ก็จะสามารถดึงข้อมูลนั้นออกมาได้ ที่สำคัญ คือ ยังช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้
♦ หากมีอาการหลงลืมแบบเข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์ มักจะจำไม่ได้เลยว่ามีเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น นึกอย่างไรก็นึกไม่ออก หรือลืมแล้วลืมเลย ลืมแม้กระทั่งทักษะการใช้เครื่องมือในชีวิตประจำวัน หรืออาจจะถึงกับลืมชื่อคนในครอบครัว เช่น เปิดฝักบัวไม่เป็น ลืมวิธีกดรีโมท ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แม้ว่าหลายคนจะเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามโรคอัลไซเมอร์ไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมตามธรรมชาติ เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เกิดจากความเสื่อมของสมองที่มาจากเส้นประสาทส่วนกลางในสมองถูกทาลาย ทาให้กลุ่มใยประสาทในสมองพันกันยุ่งเหยิง ก่อให้เกิดการสะสมและตกตะกอนหรือพลัค (Plaque)โปรตีนที่สร้างขึ้นอย่างผิดปกติ หุ้มล้อมรอบเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งตะกอนหรือพลัคมีค่าอะลูมิเนียมอยู่ในระดับสูงก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เสี่ยงเกิดโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้อาจเกิดจากการสะสมของโปรตีนบางชนิดของเส้นประสาทในสมอง เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ
กรณีผู้ป่วยมีอาการที่เข้าข่ายโรคอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่ง หรือเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน อาจสงสัยว่าอาการที่เป็นอยู่ปัจจุบันเข้าข่ายภาวะสมองเสื่อมแล้วหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากอาการเหล่านี้
► ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง
► สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร
► ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี
► บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้
► บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ
► บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้
► บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทาให้เกิดโรคดังนี้
▶ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์และโคเลสเตอรอลสูง
▶ ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีควันบุหรี่
▶ ออกกาลังกายสม่าเสมอและควบคุมน้าหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน
▶ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุและกิจกรรมที่อาจส่งผลต่อสมอง เช่น การพลัดตกหกล้ม การเล่นสเก็ต การเดินบนพื้นลื่น การขับขี่ยานพาหนะแล้วไม่สวมหมวกกันน็อค
▶ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ตรวจสุขภาพประจาปี ตรวจติดตามโรคประจาตัวที่เป็นอยู่เป็นระยะๆ
▶ ฝึกฝนสมอง เช่น คิดเลข อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ ฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ การพบปะพูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ
▶ มีกิจกรรมทางสังคม เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยง เข้าชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ