วิตามินบี2 ไรโบเฟลวิน คือวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำได้ ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการสร้างเมแทบอลิซึมของสารอาหารต่างๆ เช่น ไขมัน เป็นสารอาหารที่ช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและทำให้เส้นเลือดแข็งตัว
สำหรับการดูดซึมวิตามินบี 2 ร่างกายของคนเราจะสามารถดูดซึมได้ง่ายผ่านทางผนังลำไส้เล็ก โดยวิตามินบี 2 จะถูกเปลี่ยนเป็นเฟลวินโมโนนิวคลีโอไทด์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของเฟลวินอะดีนินไดนิวคลีโอไทด์ ที่จะถูกส่งไปยังกระแสเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย และบางส่วนก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะด้วย
นอกจากนี้ในนมและผลิตภัณฑ์จากนมก็พบวิตามินบี 2 ได้มากเหมือนกัน ส่วนอาหารจำพวกแป้งข้าวเจ้า มันฝรั่ง ข้าว แป้งสาลี จะพบวิตามินได้น้อยมากส่วนภาวการณ์ขาดวิตามินบี 2 นั้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์และผักน้อยเกินไป รวมถึงคนที่เลือกทานอาหาร ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ซึ่งโดยปกติแล้วแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ของคนเราจะสามารถสังเคราะห์วิตามินบี2 ได้ แต่ปริมาณที่ดูดซึมได้มักจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ ของร่างกาย จึงต้องมีการทานวิตามินบีเสริมเข้าไปนั่นเอง
นอกจากนี้ในกรณีที่มีการสูญเสียโปรตีนในร่างกายก็จะทำให้ขับถ่ายวิตามินบี 2 ทางปัสสาวะมากขึ้น และในกรณีที่มีการสร้างการเจริญของเนื้อเยื่ออย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้การขับถ่ายวิตามินบี 2 ออกมาน้องลงไปด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าร่างกายกำลังต้องการวิตามินบี 2 และโปรตีนมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า บุคคลที่ทานมังสวิรัติ คนที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้สูงอายุหรือคนที่มีภาวะเครียดจัด ก็มักจะต้องการวิตามินบี2 มากขึ้น เช่นกัน
เมื่อร่างกายขาดวิตามินบี2 จะมีอาการที่แสดงออกมาอย่างเห็นได้ชัด แต่บางครั้งก็อาจไม่ใช่การขาดวิตามินบี 2 เท่านั้น ยังอาจจะเป็นเพราะขาดวิตามินอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้ โดยอาการขาดวิตามินบีที่มักจะพบเห็นได้บ่อยๆ คือ
ʕ·ᴥ·ʔ อาการทางตา ตาจะไวต่อแสงแดดและอาจพร่าเลือนเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่าง รวมถึงมักจะเกิดอาการเมื่อยล้าของดวงตาได้ง่าย ซึ่งก็อาจจะมีอาการตาแดง น้ำตาไหลมากกว่าปกติและมีอาการเจ็บตาร่วมด้วย
ʕ·ᴥ·ʔ อาการทางปาก จะเห็นได้ว่าริมฝีปากแห้งและแตก ส่วนใหญ่บริเวณมุมปากจะซีดและแตกเป็นรอยหรืออาจเรียกว่า ปากนกกระจอกก็ได้ โดยอาการดังกล่าวนี้เริ่มแรกจะเป็นแผลรอยแตกลึก เมื่อแผลหายจะเห็นเป็นแผลเป็นอย่างเห็นได้ชัด
ʕ·ᴥ·ʔ อาการที่ลิ้น สังเกตได้ว่าลิ้นจะมีสีแดงปนม่วงและมีลักษณะเป็นมัน ส่วนใหญ่จะเรียกอาการนี้ว่า Glossitis และริมฝีปากมีสีแดงเลือดหมู
ʕ·ᴥ·ʔ อาการทางผิวหนัง สังเกตได้ว่าผิวหนังจะมีลักษณะเป็นสะเก็ดมันๆ ผิวบริเวณเปลือกตาอาจมีการอักเสบและเป็นขุย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับขี้กลากนั่นเอง
✿ วิตามินบี 2 ในรูปแบบอาหารเสริม ขนาดที่ใช้โดยทั่วไปคือ 100 มิลลิกรัม จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในรูปแบบของวิตามินบีรวม โดยขนาดที่ใช้รับประทานโดยทั่วไปคือ 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน
✿ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.2-1.7 มิลลิกรัมสำหรับผู้ใหญ่, 1.6 มิลลิกรัมสำหรับหญิงตั้งครรภ์, 1.8 มิลลิกรัม สำหรับหญิงให้นมบุตรในหกเดือนแรก และ 1.7 มิลลิกรัมสำหรับหกเดือนหลัง
✿ ร่างกายจะต้องการวิตามินชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นหากอยู่ในสภาวะเครียด
✿ สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุมกำเนิด ร่างกายคุณจะต้องการวิตามินบี 2 เพิ่มขึ้น
✿ สำหรับผู้ที่รับประทานเนื้อแดงหรือนมวัวเพียงเล็กน้อย คุณควรหาวิตามินบี 2 มารับประทานเพิ่ม
✿ เมื่ออยู่ในสภาวะเครียดทุกรูปแบบ วิตามินบีรวมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณ
✿ วิตามินบี 2 จะทำงานร่วมกับ วิตามินซี วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 ได้ดีที่สุด
✿ สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 2 เพิ่มมากขึ้น เพราะแอลกอฮอล์ขัดขวางการดูดซึมของวิตามินบี 2
✿ วิตามินชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังรับประทานยาต้านมะเร็ง เช่น เมโทเทรกเซต เพราะอาจไปลดประสิทธิภาพของยาต้านมะเร็ง
✿ สำหรับผู้ที่รับประทานยาปฏิชีวนะ ร่างกายคุณอาจจะไม่ได้รับวิตามินบี 2
✿ มีความเป็นไปได้สูงมากที่คนขาดวิตามินบี 2 อาจเป็นเพราะกำลังรักษาแผลหรือโรคเบาหวาน
✿ ผู้ป่วยที่รับประทานวิตามินบี 2 วันละ 400 มิลลิกรัม ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3-4 เดือน จะมีความถี่ ระยะเวลา และความรุนแรงของโรคไมเกรนลดลงถึงร้อยละ 50
✿ วิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ถูกดูดซึมได้ง่าย ปริมาณที่ถูกขับออกมาจะขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกายเป็นหลัก ร่างกายจึงไม่เก็บสะสมไว้ เราจึงควรได้รับอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจากอาหารหรืออาหารเสริม
✿ วิตามินบี 2 มีอีกชื่อว่า วิตามินจี (Vitamin G) มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.หรือ mg.) วิตามินชนิดนี้จะถูกแสงสว่างทำลายได้โดยง่าย แต่ไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนเหมือน วิตามินบี 3 โดยวิตามินที่พบว่าชาวอเมริกันขาดมากที่สุดคือไรโบฟลาวินหรือวิตามินบี 2
✿ แหล่งที่พบวิตามินบี 2 ได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว ปลา ตับ ไต เป็นต้น
✿ โรคจากการขาดวิตามินบี 2 ได้แก่ โรคปากนกกระจอกหรือโรคขาดวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 พบที่บริเวณริมฝีปาก มุมปาก ผิวหนัง อวัยวะสืบพันธุ์
✿ ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ปัจจุบันยังไม่พบอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นพิษที่เกิดจากการรับประทานวิตามินชนิดนี้ แต่ที่มีความไปได้ว่าหากในร่างกายมีวิตามินตัวนี้สูงเกินไปก็คือ คัน รู้สึกชา อาการแสบยิบ ๆ โดยศัตรูของวิตามินบี 2 ได้แก่ แสงแดดหรือแสงยูวี ความเป็นด่าง ยากลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน แอลกอฮอล์ และน้ำ เพราะวิตามินบี 2 จะถูกเจือจางในน้ำที่ประกอบอาหาร