ข้าวยีสต์แดงเกิดจากการหมักข้าวด้วยเชื้อรา Monascus purpureus หรือที่เรียกว่ายีสต์แดง (RedYeast) จากการศึกษาคุณสมบัติ ทางชีวเคมีและทางยาของสารสำคัญในข้าวยีสต์แดง (Red Yeast Rice) พบว่า ข้าวยีสต์แดงมีสารที่มีคุณประโยชน์หลายประการ เช่น สารต้านอนุมูลอิสระ สาร GABA สารกลุ่มโมนาโคลิน ที่มีคุณสมบัติช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล และลดไตรกลีเซอไรด์ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ บำรุงการไหลเวียนโลหิต ช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด หรือมีลมในกระเพาะ
ในปัจจุบันในมีการนำสารสกัดยัสต์แดงมาใช้โดยที่ผลิตทั่วไปนั้นได้มาจากการนำเอาข้าวที่มีสีน้ำตาลหรือสีดำเป็นข้าวกล้องมาทำการหมักและในกระบวนการหมักข้าวจะใส่เชื้อยีสต์ลงไป จากนั้นก็นำไปสกัดเพื่อเอา “สารสตาติน” กับ “โมนาโคลิน เค” ออกมาเพื่อนำมาเป็นยาละลายไขมันในร่างกายคนที่มีไขมันสูง
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
ʕ·ᴥ·ʔ ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง
ʕ·ᴥ·ʔ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาอาการท้องร่วง
ʕ·ᴥ·ʔ ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในการของม้ามและกระเพาะอาหาร
เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับยีสต์แดง ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ยีสต์แดงมีสารคล้ายกับยาสแตตินซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์
ข้าวยีสต์แดง ลดไขมันได้
ก่อนอื่นเลย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดจากเฟซบุคเพจ 1412 Cardiology ระบุว่า ข้าวยีสต์แดง ปลอดภัย กินได้ และลดไขมันในเลือดได้จริง แต่จากส่วนประกอบของข้าวยีสต์แดง ไม่ควรเป็น “อาหารเสริม” แต่ควรเป็น “ยา” ที่ต้องใช้ผ่านการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
เมื่อมีส่วนประกอบที่มีโครงสร้างคล้ายยา Statin จึงจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำในการใช้จากแพทย์อย่างใกล้ชิดเหมือนกันกับการยา Statin หากเป็นผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูงอยู่แล้ว การรับประทานข้าวยีสต์แดงเพิ่มหลังจากกินยาตามแพทย์สั่ง อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับยาลดไขมันมากเกินไป ผู้ป่วยที่กินอาจเกิดภาวะตับอักเสบ หรือ กล้ามเนื้ออักเสบ ตามมาได้ โดยเฉพาะถ้าหากใช้ยาลดไขมัน หรือยาตัวอื่นๆ ของโรงพยาบาลอยู่ด้วย
นอกจากนี้ ในแง่ของความปลอดภัย ข้าวยีสต์แดงยังไม่มีรายงานรับรองความปลอดภัยหลังการทดลองใช้กับคน และสัตว์ทดลองอย่างละเอียด ดังนั้นในแง่ของการปรับขนาดยาให้สมดุล มีแระสิทธิภาพต่อคนที่กิน ยังไม่ชัดเจนมากพอนั่นเอง
คำแนะนำในการรับประทาน
ʕ·ᴥ·ʔ ขนาดการใช้ยีสต์แดงปกติอยู่ที่เท่าไรข้อมูลต่อไปนี้คือผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ การรับประทาน
ʕ·ᴥ·ʔ สำหรับการรักษาภาวะคอเลสเตอรอลสูง: รับประทานยีสต์แดง 1,200 – 2,400 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ʕ·ᴥ·ʔ เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารสแตติน เท่านั้นที่มีเอกสารกำกับยาว่า ใช้เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งมีผลายผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วยสารโลวาสแตตินปริมาณ 5-10
ʕ·ᴥ·ʔ ภาวะคอเลสเตอรอลสูงเนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวี: รับประทานยีสต์แดงปริมาณ 1,200 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน
ʕ·ᴥ·ʔ ปริมาณการใช้ยีสต์แดงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน
ข้าวยีสต์แดงเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารข้าวหมักจากจุลินทรีย์ สกุล โมแนสคัส เพอเพียวริอุส
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย
ʕ·ᴥ·ʔ ลดระดับคอเลสเตอรอลในผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง
ʕ·ᴥ·ʔ ระบบการย่อยอาหารไม่ดี
ʕ·ᴥ·ʔ รักษาอาการท้องร่วง
ʕ·ᴥ·ʔ ปรับปรุงระบบไหลเวียนโลหิต
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในการของม้ามและกระเพาะอาหาร
เนื่องจากสารออกฤทธิ์ในข้าวยีสต์แดง คือสารตัวเดียวกับในยาลดไขมันกลุ่ม statin ดังนั้นจึงอาจมีผลข้างเคียงได้เหมือนกับที่พบในยาลดไขมัน statin เ่ช่น มีผลต่อตับ เอนไซม์ตับขึ้นผิดปกติ การปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อถูกทำลายนอกจากนี้คุณภาพของผลิตภัณฑ์แต่ละอันก็แตกต่างกัน บางผลิตภัณฑ์มี statin น้อยมากหรือไม่มีเลย ส่วนบางผลิตภัณฑ์มี statin มาก โดยยิ่งมีมากยิ่งอาจเกิดผลข้างเคียงต่างๆได้มากขึ้นเช่นกัน
ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร : ยีสต์แดงอาจไม่ปลอดภัยสำหรับการรับประทานในระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อครรภ์ ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้ยีสต์แดงในระหว่างตั้งครรภ์และห้นมบุตร ควรเลี่ยงการใช้เพื่อความปลอดภัย
โรคตับ : ยีสต์แดงมีสารที่คล้ายกับสารสแตตินหรือโลวาสแตติน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตับได้ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่ายีสต์แดงอาจเป็นอันตรายต่อตับ แต่ได้มีบางงานวิจัยแย้งว่ายีสต์แดงสามารถช่วยปรับปรุงระบบการทำงานในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับได้ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยีสต์แดงงอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการข้างต้น
มีอาการแพ้อื่น ๆ : เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ
ผู้ที่รับประทานแอลกอฮอล์ : หรือ ยาที่มีผลต่อตับ หรือ กล้ามเนื้อ เนื่องจากข้าวยีสต์แดงอาจมีผลต่อตับและกล้ามเนื้อเช่นเดียวกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นได้ เช่น ยาลดไขมัน statin, gemfibrozil, พาราเซตามอล, ยารักษาเชื้อรา, ยากันชัก, ยารักษาวัณโรค, ไนอะซิน
ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยีสต์แดงนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม