วิตามินเอ (Vitamin A) คือ วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย จัดให้อยู่ในหมวดของวิตามิน มีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ รวมถึงป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ถูกค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในไขมันต้องใช้ไขมันและแร่ธาตุมาช่วยในการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกายชนิดหนึ่ง ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ ปกติร่างกายมนุษย์จะมีการสะสมวิตามินเอไว้จากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไป เมื่อมีความจำเป็นจะต้องใช้ จึงจะดึงออกมาใช้งาน
วิตามินเอ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
คุณสมบัติของวิตามินเอ
วิตามินเอ มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือ เป็นวิตามินที่ไม่ละลายในน้ำ แต่จะละลายเฉพาะในไขมันเท่านั้นสามารถทดความร้อนได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ต้องไม่ร้อนหรือมีอุณหภูมิที่สูงมากจนเกินไป และยังทนต่อความเป็นกรดและด่างอีกด้วยดังนั้นการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวิตามินเอ มักจะนิยมเก็บใส่ขวดสีน้ำตาลและใส่สารต่อต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ( Antioxidant ) เช่น วิตามินอีเอาไว้ด้วย เพื่อให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารให้น้อยที่สุด
ร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถผลิตวิตามินเอ ขึ้นมาใช้งานเองได้ แต่เราสามารถพบวิตามินเอได้ในอาหารที่เราทานเข้าไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดยอาหารที่มากและอุดมไปด้วยวิตามินเอ มีดังต่อไป
ʕ·ᴥ·ʔ อาหารที่มีวิตามินเอสำเร็จรูป ( Retinol ) คือ อาหารที่มีวิตามินเอ และร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันทีเมื่อผ่านกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย เช่น นม ไข่แดง ตับ เนื้อสัตว์ น้ำมันตับปลา เป็นต้น
ʕ·ᴥ·ʔ อาหารที่มีโปรวิตามินเอหรือแคโรทีน คือ อาหารที่ทานเข้าไปแล้วจะถูกกลไกในร่างกายเปลี่ยนแปลงให้เป็นวิตามินเอก่อนที่จะนำไปใช้งาน เช่น ผักต่างๆพบมากในพืชใบเขียวเข้ม เช่น แครอท ตำลึง คะน้า ผักโขม ยอดชะอม ยอดกระถิ่น ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี เป็นต้น
ผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้สีเหลือง เช่น แตงโม มะละกอ แคนตาลูป ฟักทอง มะม่วงสุก กล้วยหอม เป็นต้น
ช่วยบำรุงระบบทางสายตาและการมองเห็นให้ดีขึ้นวิตามินเอ เป็นตัวช่วยอย่างดีที่ช่วยบำรุงระบบสายตา ทำให้การมองเห็นดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่มืด หรือที่ที่มีแสงสลัวๆ โดยวิตามินเอจะเข้าไปควบคุมการทำงานของร็อดเซลล์ และโคนเซลล์ ในเรติน่า ( Retina ) ที่ดวงตาโดยที่ เรติน่าของตาประกอบด้วยตัวเซลล์ที่ทำหน้าที่รับแสง ( Light Receptors ) อยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
- ร็อดเซลล์ ( Rod Cells ) ใช้สำหรับการมองเห็นในเวลาตอนกลางคืน หรือในที่ที่มีแสงสว่างน้อยแสงสลัวๆ
- โคนเซลล์ ( Cone Cells ) ใช้สำหรับแยกสีในการมองเห็น
ช่วยบำรุงรักษาเซลล์ชนิดบุผิว ( Epithelial Cells ) ของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายให้ชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เช่น เยื่อบุตาขาว เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น โดยวิตามินเอจะไปเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบพวก Acid Mucopolysacchaial Tract และไกลโคโปรตีน ในเซลล์ชนิดบุผิวแล้วจะหลั่งสารประกอบนี้ ออกมา เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิดความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลานั้นเอง
ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของกระดูกและฟัน วิตามินเอมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้การเจริญเติบโตของฟันและกระดูกทำงานได้ดีสมบรูณ์มากยิ่งขึ้น เพราะหากร่างกายขาดวิตามินเอแล้ว จะส่งผลให้ กระดูกไม่มีความแข็งแรง อาจแตกและหักได้ง่าย อาจจำทำให้กระดูกบิดเบี้ยวไปจากเค้าโครงเดิม ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะหากเกิดกับกระดูกบริเวณกะโหลกศีรษะและไขสันหลังก็อาจจะไปเกิดการกดทับเส้นประสาทและไขสันหลังได้ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพาตและหูหนวก และในส่วนของฟันผู้ที่ขาดวิตามินเอ จะทำให้ฟันผุง่ายกว่าปกติ เนื่องจากมีอาการหลุดลอกของสารเคลือบฟัน เหลือแต่เนื้อฟันเท่านั้น
ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานได้ดียิ่งขึ้น การได้รับปริมาณของวิตามินเอในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยให้เกิดการสร้างอสุจิที่ดีขึ้นในเพศชาย ส่วนในเพศหญิที่ตั้งครรภ์ วิตามินเอจะไปช่วยป้องกันการแท้งลูกได้ และยังช่วยเพิ่มฮอร์โมน Estrogen ในร่างกายอีกด้วย
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ( Antioxidant ) เนื่องจากในวิตามินเอ ประกอบไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชั่น ( Antioxidant ) ซึ่งคอยกำจัดอนุมูลอิสระ ก่อนที่จะไปทำปฏิกิริยาทำลายส่วนประกอบต่างๆของเซลล์จนทำให้กลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างเช่น มะเร็งในช่องปาก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นต้นนอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการหลอดเลือดแดงแข็งตัวที่จะเป็นภาวะนำไปสู่โรคหัวใจได้อีกด้วย
ช่วยสร้างสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับร่างกาย วิตามินเอช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพมากชึ้น และยังช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคร้ายที่จะเข้ามาสู่ร่างกายอีกด้วย
ป้องกันผิวหนังแห้งหยาบ และเป็นแผลอักเสบ, พุพอง ซึ่งคนที่ขาดวิตามินเอมาก ๆ จะมีปัญหาเรื่องของผิวหนังที่เกิดตุ่ม, สาก และอักเสบไปในที่สุด จะเกิดมากโดยเฉพาะบริเวณ แขน ขา หลัง หน้าอก และหน้าท้อง
รักษาสิวได้ดี ลดอาการอักเสบของสิว ไม่ว่าจะสิวหัวช้าง สิวเสี้ยน สิวหนอง ก็สามารถทำให้ยุบได้อย่างรวดเร็ว และไม่ลุกลาม แถมยังป้องกันผิวแห้งแตกลายงา หรือแตกเป็นเกล็ดคล้ายคนขาดไขมัน เพราะในวิตามินเอ เป็นไขมันที่ละลายได้ง่ายในร่างกาย
ข้อควรระวังในการรับประทาน
สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ควรได้รับในปริมาณที่แพทย์สั่ง หรือแนะนำเท่านั้น เพราะถ้าได้รับวิตามินเอมาเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะแท้งลูกได้ง่าย หรือเสี่ยงต่อทารกพิการ และมีอาการกระดูกผิดรูปอีกด้วย
เกิดอาการเจ็บกระดูก และข้อต่อ ง่วง ซึม นอนไม่หลับ ผมร่วง กระวนกระวาย ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ท้องผูก ทั้งหมดเป็นโทษในระยะยาว จากการได้รับวิตามินเอ ที่มากจนเกินไป
ผิวหนังลอก ผัวหนังแห้งแตก และคันตามตัว
มีอาการกระดูกผิดรูป ตับโต ม้ามโตกว่าคนปกติ
ทั้งนี้ วิตามินเอ Vitamin A and Betacarotine ที่เป็นรูปแบบสารสังเคราะห์ แบบเม็ดนั้น ถ้ารับประทานเข้าไปมาก จะเกิดการสะสม เพราะวิตามินเอเป็นวิตามินที่มีรูปแบบ ในการสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งปริมาณที่แนะนำในการรับประทานนั้น อยู่ที่ไม่เกิน 50,000 IU ต่อวัน และถ้ามีการรับประทานยาคุม ก็ไม่ควรทานวิตามินเอร่วมด้วย