ฮอร์โมน DHEAs หรือฮอร์โมนดีเอชอีเอ (Dehydroepiandrosterone Sulfate ชื่ออื่น ๆ : DHEAS, DHEA-S, DHEA, DHEA-SO4,) เป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชายและฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง และฮอร์โมนในกลุ่มสเตียรอยด์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาของลักษณะทางเพศของผู้ชายในวัยแรกรุ่น
ฮอร์โมน DHEAs ส่วนใหญ่ผลิตในต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นต่อมเล็ก ๆ สองอันที่อยู่เหนือไตของคุณ ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและการทำงานของร่างกายอื่น ๆ ฮอร์โมน DHEAs ปริมาณน้อยผลิตในอัณฑะของผู้ชายและรังไข่ของผู้หญิง หากระดับ DHEAs ของคุณไม่ปกติอาจหมายถึงมีปัญหากับต่อมหมวกไตหรืออวัยวะเพศของคุณ (อัณฑะหรือรังไข่) ซึ่งสามารถค้นหาปัญหาหรืออาการต่างๆ ได้อย่างง่ายดายเมื่อตรวจสุขภาพ
ความแปรปรวนของฮอร์โมน DHEAs มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนในเพศชายและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ รวมถึงภาวะเสื่อมถอยด้านกระบวนความคิดและการรับรู้ ฮอร์โมน DHEAs จะมีมากสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ และลดระดับลงเฉลี่ยปีละ 1-2% จนกระทั่งอายุ 90 ปี จุดนี้เอง จึงนำมาใช้เป็นตัวบ่งชี้การเกิดภาวะชรา และประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะช่วยต้านความชรา ลดการสะสมของไขมัน เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทและสมองในด้านความจำ
★ โรคแพ้ภูมิตัวเอง
★ ความเจ็บป่วยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะโรคปากแห้งตาแห้ง (Sjögren‘s syndrome)
★ กระดูกอ่อน (กระดูกพรุน)
★ ลักษณะกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน ที่กล้ามเนื้อพิการที่หน้าและคอลีบ
★ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน
★ โรคระบบประสาทมีการเสื่อมของปลอกประสาท (MS)
★ ระดับฮอร์โมนสตีรอยด์ต่ำ (โรคแอดดิสัน)
★ ภาวะซึมเศร้า
★ โรคจิตเภท
★ กลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง (CFS)
★ กล้ามเนื้อเสียหายจากการออกกำลังกาย
★ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
★ โรคพาร์กินสัน
★ อาทิเชีย พิวบิส (Atrichia pubis)
★ การลดน้ำหนัก
★ อาการของวัยหมดประจำเดือน
★ โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์
★ การเสื่อมสภาพของผิว
อาการ
★ การเจริญเติบโตของร่างกายและขนบนใบหน้ามากเกินไป
★ เสียงพูดเล็กหรือแหบผิดปกติ
★ ความผิดปกติของประจำเดือน
★ สิวเห่อ
★ กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นคล้ายผู้ชาย
★ ผมร่วงที่ส่วนบนของศีรษะ
★ การบ่งบอกโรค
★ ความผิดปกติของต่อมหมวกไต
★ เนื้องอกหรือเป็นมะเร็งต่อมหมวกไต
★ กลุ่มอาการรังไข่ Polycystic (PCOS) PCOS เป็นโรคฮอร์โมนทั่วไปที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการมีบุตรยากหญิง
★ น้ำหนักลดมากผิดปกติและหาสาเหตุไม่ได้
★ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนบ่อยๆ
★ เวียนหัว
★ เกิดภาวะขาดน้ำ
★ อยากเกลือหรือของเค็มๆ
★ ผิวหนังแห้งเหี่ยว หรือริ้วรอยก่อนวัยอันควร
★ เกิดอาการซึมเศร้า
★ ความต้องการทางเพศลดลง หรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
★ เกิดการบางของเนื้อเยื่อช่องคลอดในผู้หญิง ที่จะทำให้ขาดหรืออักเสบได้ง่าย
★ การบ่งบอกโรค
★ ภาวะผิดปกติของต่อมหมวกไต
★ โรคกระดูกพรุน
★ โรคแอดดิสัน คือ โรคที่ทำให้ต่อมหมวกไตไม่สามารถทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนจำเป็นต่างๆ ได้เพียงพอ
★ เกิดภาวะ Hypopituitarism ที่จะมีอาการที่เกี่ยวข้องกัน เช่น อาการเบื่ออาหาร ไม่มีแรง ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผิวแห้ง ปวดตามข้อ ความดันโลหิตต่ำ เวียนหัวเวลาลุกขึ้น ระดับเกลือโซเดียมในเลือดต่ำ ความต้องการทางเพศลดลง
มีบุตรยาก
★ สำหรับผิวเสื่อมสภาพ ใช้ดีเอชอีเอ 50 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12 เดือน
★ สำหรับ ภาวะซึมเศร้า ใช้ดีเอชอีเอ 30 – 450 มก. ทุกวันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทั้งใช้โดยลำพังหรือใช้ร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า เพิ่มการใช้ดีเอชอีเอได้จนถึง 500 มก. ได้ทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์
★ สำหรับภาวะต่อมหมวกไตเสียการทำงาน (ปัญหาการผลิตฮอร์โมน) ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 12 – 200 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 12 เดือน
★ สำหรับเอดส์/เอชไอวี ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50–2 250 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 16 สัปดาห์
★ สำหรับการเพิ่มความหนาแน่นมวลกระดูก ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50 – 200 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 2 ปี
★ สำหรับกลุ่มอาการเพลียเรื้อรัง ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 500 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลาจนถึง 6 เดือน
★ สำหรับโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12 เดือน
★ สำหรับความผิดปกติด้านความจำ ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 400 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 6 เดือน
★ สำหรับโรคเบาหวาน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 75 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 1 ปี ขนาดยาดีเอชอีเอเพิ่มขึ้นเป็น 1600 มิลลิกรัม ทุกวันเป็นเวลา 28 วัน
★ สำหรับการขาดยา ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และ 12 เดือน
★ สำหรับกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน
★ สำหรับโรคหัวใจ ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 150 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 2 ปี
★ สำหรับยากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 50 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 20 สัปดาห์
★ สำหรับการมีบุตรยาก ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 25 – 80 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ จนถึง 4 เดือน
★ สำหรับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 200 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 56 วัน
★ สำหรับโรคลูปัส ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 20 – 200 มิลลิกรัม เป็นเวลาจนถึง 2 ปี
★ สำหรับวัยหมดประจำเดือน ขนาดยาดีเอชอีเอที่แนะนำคือ 10 – 50 มิลลิกรัม ทุกวัน จนถึง 12 เดือน อีกทางเลือกขนาดยาดีเอชอีเอ-เอส 100 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน
ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้หญิง ดังนี้
★ ผิวมัน
★ การเพิ่มขึ้นของขนอย่างไม่เป็นธรรมชาติ
★ เสียงทุ้ม
★ ประจำเดือนมาไม่ปกติ
★ ขนาดของหน้าอกเล็กลง
★ ขนาดของอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น
★ อาการเจ็บเต้านม
★ อาการอยากถ่ายปัสสาวะทันทีทันใด
★ ความก้าวร้าว
★ การลดขนาดของอัณฑะ
ทั้งผู้หญิงและผู้ชายได้รับผลข้างเคียง ดังนี้
★ สิว
★ ปัญหาการนอน
★ อาการปวดหัว
★ อาการคลื่นไส้
★ ผิวหนังมีอาการคัน
★ อารมณ์เปลี่ยนแปลง
แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน และอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์