กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย สามารถพบได้ทุกเซลล์ โดยจะพบในไมโตคอนเดรีย นิวเคลียส และเพอรอกซีโซม ซึ่งกลูต้าไธโอนจะถูกสร้างขึ้นภายในเซลล์และถูกนำส่งออกมานอกเซลล์โดยอาศัยตัวพามาเก็บสำรองไว้ที่ตับ เซลล์ประเภทอื่นๆที่พบสารนี้มาก เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ปอด ไต ตับอ่อน เลนส์ จะพบน้อยในพลาสมา
โดยหน้าที่หลักของสารตัวนี้มีสามประการ คือ
✿ ซีสเตอีน (Cysteine)
✿ กลูตามิก (Glutamic)
✿ ไกลซีน (Glycine)
สารกลูต้าไธโอน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญที่สุดในร่างกาย และจำเป็นต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย เพื่อช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง กล่าวโดยง่ายคือ สารกลูต้าไธโอนนี้ช่วย "รีไซเคิล" โมเลกุลที่ไม่เสถียร ทำให้เซลล์เหล่านั้นกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารกลูต้าไธโอน ถือเป็นสุดยอดของสารต้านอนุมูลอิสระ ทำหน้าที่สำคัญในการทำงานของวิตามินซีและอี หากร่างกายได้รับปริมาณของสารนี้สูง คุณภาพและสุขภาพผิวจะดีขึ้น สารนี้ยังมีหน้าที่สำคัญในการขับสารพิษออกจากเซลล์ โดยขจัดโลหะหนัก สารพิษ และอนุมูลอิสระ ซึ่งทำลายคุณภาพการทำงานของเซลล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ผิว การเกิดเม็ดสีคล้ำ (pigmentation) บนผิวหนัง เช่น จุดด่างดำที่เกิดขึ้นตามวัย หรือแม้แต่ริ้วรอยต่างๆ สามารถลดลงและหลีกเลี่ยงได้โดยการเพิ่มสารกลูต้าไธโอนในร่างกาย สารกลูต้าไธโอนทำหน้าที่ช่วยการทำงานของตับ ไต และลำไส้ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ช่วยขับสารพิษในร่างกาย
✿ ขจัดสารพิษ และสารเคมีที่ช่วยในการย่อยซึ่งร่างกายดูดซึม
✿ ขัดขวางและทำให้สารพิษมีค่าเป็นกลางก่อนที่ลำไส้จะดูดซึม
รังสียูวีจากแสงแดดสามารถทะลุผ่านเข้าไปยังผิวชั้นใน และก่อให้เกิดปัญหาผิวเสื่อมก่อนวัยได้ เนื่องจากรังสียูวีเข้าไปทำลายเส้นใยคอลลาเจน สารกลูต้าไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสนะ ที่ช่วยปกป้องเส้นใยคอลลาเจนจากการถูกทำลายโดยรังสียูวี รวมถึงปกป้องการยืดหยุ่นของผิวอีกด้วย
ปัจจุบันเราจะเห็นอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของกลูต้าไธโอน ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถเลือกกินอาหารจากธรรมชาติที่มีกลูต้าไธโอนได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองจนเกินไป โดยเลือกรับประทานอาหารดังต่อไปนี้
ʕ·ᴥ·ʔ ผัก - อะโวคาโด, บร็อกโคลี่, ผักโขม, เห็ด,มะเขือเทศ, หน่อไม้ฝรั่ง
ʕ·ᴥ·ʔ เนื้อสัตว์ - ปลาแซลมอน, เนื้อวัว, เนื้อหมู
ʕ·ᴥ·ʔ อาหารอื่น ๆ - โยเกิร์ต, ไข่, นม
ʕ·ᴥ·ʔ ผลไม้ - สตรอเบอร์รี่, ส้ม, เกรปฟรุ้ต, แอปเปิ้ล, องุ่น, แตงโม
โดยปกติแล้วร่างกายเราจะไม่ขาดกลูต้าไธโอน นอกจากเป็นโรคบางชนิดที่ต้องการกลูต้าไธโอนมากขึ้น หรือโรคที่ต้านการสร้างกลูตาไธโอน โรคหรืออาการบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการขาดกลูตาไธโอน หรือต้องการมากขึ้น ได้แก่ โรคตับ เบาหวาน ความดัน ต้อหิน มะเร็ง เอดส์ ในผู้ที่สูบบุหรี่จัด พบว่ามีระดับกลูตาไธโอนในเลือดต่ำ เนื่องจากมีการใช้กลูตาไธโอนมากขึ้น
ปัจจุบัน กลูตาไธโอนมีวางจำหน่ายหลายรูปแบบ เช่น ชนิดเม็ด หรือ แคปซูล ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดและเข้ากล้ามเนื้อ ผู้ป่วยโรคชนิดที่ตรวจพบว่า มีการขาดสารนี้ ควรใช้ตามแพทย์แนะนำ ในแง่ของการป้องกันหรือเพื่อต้านปฏิกริยาออกซิเดชั่น ขนาดที่รับประทาน 500-1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน
พบสารชนิดนี้ได้ในพืชผักชนิด ต่างๆ ผลไม้ทั่วไปและเนื้อสัตว์ แต่พบมากในหน่อไม้ฝรั่ง (Asparagus) อโวคาโด และ วอลนัท ร่างกายเราก็สามารถสร้างกลูตาไธโอนได้และมีสารหลายชนิดที่ช่วยเพิ่มการสร้างกลูต้าไธโอน ได้แก่ Alpha lipo acid , Glutamine , Methionine , Whey Protein , Vitamin B6 , Vitamin B2 , Vitamin C และ Selenium
✿ ระดับกลูต้าไธโอนสามารถใช้ในการประเมินภาวะ wellness หรือ well-being ได้
✿ ควรมีการตรวจวัดระดับกลูต้าไธโอนหลังจากได้รับในปริมาณสูง หรือตรวจติดตามเป็นระยะๆ หากมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น ทำให้เม็ดสีที่ตาลดลง ตารับแสงได้น้อย มีผลต่อการมองเห็นในระยะต่อมา