วิตามินเค ( วิตามิน K, Vitamin K ) มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Koagulation Vitamin, Antihemorrhagic Factor หรือ เมนาไดโอน ( Menadione ) เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ป้องกันภาวะเลือดไหลมากจนเกินไป ร่างกายสังเคราะห์วิตามิน เค ขึ้นมาได้เอง และยังได้รับวิตามิน เค จากการรับประทานอาหารบางชนิด ในบางกรณี หากมีความจำเป็น แพทย์อาจต้องให้วิตามิน เค แก่ผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฉีดวิตามิน เค ถือเป็นมาตรฐานปฏิบัติในเด็กทารกแรกเกิด หรืออาจให้วิตามิน เค รักษาอาการข้างเคียงในผู้ที่ใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดมากเกินขนาด รักษาผู้ป่วยมะเร็ง รักษาอาการแพ้ท้อง และรักษาอาการเกี่ยวกับเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนัง เป็นต้น
แหล่งที่พบวิตามินเคตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ผักใบเขียว นม เนย หญ้าอัลฟัลฟา สาหร่ายเคลป์ น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา เป็นต้น นอกจากนี้วิตามินเคสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เองจากในร่างกายมนุษย์ และสามารถพบวิตามินเคได้จาก ในอาหารที่เราทานเข้าไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูก โดยวิตามินเค จะไปช่วยช่วยการสร้างออสทิโอแคลซิน ( Osteocalcin ) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในกระบวนการทำงานของตับ วิตามินเค เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายที่ช่วยในกระบวนการทำงานของตับให้เป็นไปด้วยความมีประสิทธิภาพ
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ วิตามินเคยังช่วยทำให้ระบบประจำเดือนในผู้หญิงมาเป็นปกติ ช่วยลดปัญหาประจำเดือนมามากกว่าปกติ
ʕ·ᴥ·ʔ ช่วยในกระบวนการ ฟอสโฟริเลชั่น ( Phosphorylation ) ในร่างกาย ซึ่งวิตามินเคจะเป็นส่วนที่ทำให้ ฟอสเฟต จะร่วมกับ กลูโคส และถูกผ่านเข้าไปในผนังเซลล์และเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน เพื่อนำไปใช้งานต่อไป
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวข้องกับการดูดซึมสารอาหารในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคแพ้กลูเตน และโรคโครห์น
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่ใช้ยารักษาซึ่งอาจรบกวนกระบวนการดูดซึมวิตามิน เค เข้าสู่ร่างกายได้
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
ʕ·ᴥ·ʔ ผู้ที่มีภาวะทุพโภชนาการ
วิตามินเค มีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือเป็นน้ำมันที่มีสีเหลือง ปกติจะละลายได้เฉพาะในไขมันเท่านั้น ยกเว้น วิตามินเค 3 ที่สามารถละลายในน้ำได้ด้วย วิตามินเคเป็นวิตามินที่มีความคงทนต่อสภาวะความเป็นกรดได้ แต่จะไม่ทนต่อกรดแก่ หรือ ด่างที่ผสมแอลกอฮอล์ แสงอัลตราไวโอเลตและสารเติมออกซิเจน ดังนั้นหากจะต้องการเก็บรักษาวิตามินเค ไม่เสื่อมสภาพจะต้องเก็บในขวดสีน้ำตาลที่มีความทึบแสงเท่านั้น สำหรับวิตามินเค ประเภท Menadione จะมีลักษณะคล้ายผลึกเป็นสีเหลือง จะละลายได้ทั้ง ในน้ำและไขมัน แต่จะน้ำหนักน้อยกว่าวิตามินเคที่พบในธรรมชาติ
หลังจากมีการทานอาหารต่างๆเข้าไปแล้ว วิตามินเคที่ได้จากอาหารจะถูกดูดซึมโดยลำไส้เล็กตอนบน โดยจะใช้น้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนมาช่วยในกระบวนการนี้ หลังจากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังอวัยวะต่างๆ ที่จำเป็นในการสังเคราะห์โปรธรอมบิน และโปรตีนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
ในส่วนของวิตามินเค ชนิดที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยแบคทีเรียในลำไส้ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย หรือวิตามินเค 2 จะมีบางส่วนที่จะทำการดูดซึมที่ลำไส้เล็กตอนปลาย สำหรับวิตามินเค ประเภทเมนาไดโอน ( Menadione ) หรือวิตามินเค 3 ที่มีคุณสมบัติสามารถละลายในน้ำได้ จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนมาช่วยในการย่อยและดูดซึม
นอกจากวิตามินเคจะมีประโยชน์แล้วก็ยังทำให้เกิดโทษได้ถ้าได้รับในปริมาณที่น้อยหรือมากเกิดไปตามความต้องการของร่างกาย
1. ผลกระทบหากได้รับวิตามินเคน้อยเกินไป
โดยส่วนมากการขาดวิตามินเค จะไม่ค่อยเกิดในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากวิตามินเค กว่าร้อยละ 50 สามารถสังเคราะห์ได้จากแบคทีเรียในร่างกายอยู่แล้ว แต่อาจจะเกิดได้กับผู้ที่มีอาการอุดตันของทางเดินน้ำดี ซึ่งจะส่งผลให้การย่อยและการดูดซึมไขมันทำได้ไม่ดีเหมือนปกติ นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะเป็นประจำ ซึ่งจะมีผลไปทำลายแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามินเคในลำไส้ ทำให้ไม่สามารถผลิตวิตามินเคได้ตามปกติ ภาวะนี้ยังเกิดได้ง่ายกับเด็กแรกเกิด เนื่องจากเด็กแรกเกิด ยังมีปริมาณไขมันในระดับต่ำ และเชื้อโรคที่ลำไส้ของเด็กทารก ยังไม่มี จึงไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เอง จึงต้องอาศัยวิตามินเคจากน้ำนมแม่อย่างเดียว สำหรับผู้ที่ปัญหาการขาดวิตามินเค จะมีอาการดังต่อไปนี้
✿ ทำให้การแข็งตัวของเลือดเกิดขึ้นช้ากว่าปกติเนื่องจากระดับของ โปรธรอมบิน และโปรตีนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดในพลาสมาต่ำ
✿ มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เป็นต้น
2. ผลกระทบหากได้รับวิตามินเคมากเกินไป
แม้วิตามินเคจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากร่างกายได้รับปริมาณวิตามินเคที่มากจนเกินไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน อาการของคนที่ทานวิตามินเคเข้าไปมากเกินพอดี จะมีดังต่อไปนี้
✿ มีอาการตัวเหลือง
✿ มีภาวะโลหิตจาง
✿ ร่างกายจะมีการกำจัดของเสียหรือมีการกระตุ้นสารต้านอนุมูลอิสระออกมาในปริมาณที่ต่ำ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
✿ ในผู้ที่ตั้งครรภ์ ถ้าได้รับขนาดวิตามินเคที่สูงเกินไป จะทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็กแรกคลอด