กวาวเครือ เป็น พืชตระกูลถั่ว มี หัวอยู่ใต้ดิน ต้นกวาวเครือ ขึ้นอยู่ตาม ป่าเบญจพรรณ บนที่สูง ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 250 เมตร ถึง 800 เมตร ต้นกวาวเครือ เป็น พืชไม้เถา ไม้เลื้อย พบมากในประเทศไทย แถบภาคเหนือ ตะวันตก และ อีสาน ตามภูเขาสูง เป็น ไม้ผลัดใบ ขนาดกลาง เถาของต้นกวาวเครือ จะยาวประมาณ 5 เมตร หัวของกวาวเครือ เป็นที่สะสมอาหาร หัวจะมีลักษณะกลม และ ยาวหัวมีหลายหัวติดกัน เมื่อผ่า หัวของกวาวเครือ ออกมา จะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อด้านในของ หัวกวาวเครือ มีสีขาว เนื้อเปราะ มีเส้นใยอาหารมาก
กวาวเครือขาว นั้น เป็น สมุนไพร ที่ มีประโยชน์สำหรับเพศหญิง เป็นอย่างมาก ช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยให้หน้าอกเต่งตึง แต่สำหรับเพศชาย นั้นก็สามารถกินได้ ช่วยทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ถือเป็น ยาอายุวัฒนะ
ต้นกวาวเครือ นั้น ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดให้ กราวเครือขาว เป็นตัวยาชนิดหนึ่ง ใน ตำรับยาบำรุงร่างกาย และได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็น ตำรับยาแผนโบราณ และ เป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถรับประทานได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ แต่ การรับประทานกวาวเครือ ต้องรับประทานใน ปริมาณที่เหมาะสม และ ห้ามรับประทาน ในขณะที่มีประจำเดือน
ลักษณะของต้นกวาวเครือขาว
• เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงกำลัง สำหรับผู้ที่มีอายุมาก สามารถรับประทานได้ทั้ง ชายและหญิง
• ช่วยให้กระชุ่มกระชวย
• บำรุงผิวพรรณ ให้เต่งตึง มีน้ำมีนวล ลดการเกิดสิว กระ ฝ้า ช่วยละลอผิวเหี่ยวย่น ริ้วรอยต่างๆตามผิวหนัง
• ช่วยลำไขมันบนใบหน้า รักษาสิว และ รูขุมขนอักเสบ
• ช่วยให้หน้าอกขยายตัว และเต่งตึง
• ช่วยบำรุงเส้นผม ให้ดกดำ และรากผมแข็งแรง
• ช่วยบำรุงสมอง ให้ ความจำดี
• ช่วยรักษาโรคตาฟาง และ โรคต้อกระจก
• ช่วยบำรุงไต
• ช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
• ช่วยบำรุงโลหิต ให้เลือดลมไหลเวียนดี
• บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
• ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ช่วยบำรุงอวัยวะสืบพันธุ์ให้เจริญ
• ใช้เพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
• ป้องกันโรคมะเร็งเต้านม และ โรคมะเร็งมดลูก
• ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน จากปัญหาประจำเดือนมาไม่ปรกติ
• ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
• ช่วยให้ช่องคลอดกระชับ
รูปแบบและและขนาดวิธีใช้กวาวเครือขาว
สถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ระบุขนาดการใช้ดังนี้
การใช้ประโยชน์กวาวเครือขาวเพื่อเป็นส่วนประกอบในตำรับบำรุงย่างกาย ให้รับประทานยาตำรับที่มีส่วนประกอบของผงกวาวเครือขาว ไม่เกิน 1 – 2 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณวันละไม่เกิน 50 – 100 มิลลิกรัม อาการข้างเคียงที่อาจพบได้คือ เจ็บเต้านม มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ปวดหรือเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ตำรายาของหลวงอนุสารสุนทร
ระบุขนาดที่ใช้ของหัวกวาวเครือขาว โดยให้รับประทานกวาวเครือขาวผสมน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพริกไทย 1 เมล็ดต่อวัน รับประทานมากจะทำให้มึนเมาเป็นพิษคนหนุ่มสาวไม่ควรรับประทาน
ตำรายาแผนโบราณระบุไว้ว่า คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน (ในที่นี้คงจะหมายถึงผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี)
ห้ามใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะตัวยาอาจจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศและระบบประจำเดือนได้ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน
เด็กหญิงวัยก่อนมีประจำเดือนไม่ควรรับประทาน
สตรีที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน
ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง เนื้องอก หรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์โตไม่ควรรับประทาน
ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก มดลูกและรังไข่ เช่น เป็นซีสต์ พังผืด เนื้องอกเป็นก้อน มะเร็ง ก็ไม่ควรรับประทาน
ผู้ที่ดื่มสุราและมีประวัติเป็นโรคตับ เป็นพาหนะไวรัสตับอักเสบบีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูงก็ไม่ควรรับประทาน
กวาวเครือขาวอันตราย ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากและต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานหรือติดต่อกันนานกว่า 2 ปี
ห้ามรับประทานเกินขนาดที่แนะนำ (ไม่เกินวันละ 100 mg.)
ห้ามรับประทานของหมักดองเปรี้ยว ดองเค็ม (ตำราแผนโบราณ)
ควรอาบน้ำวันละ 3 ครั้ง (ตำราแผนโบราณ)
ห้ามไม่ให้ตากอากาศเย็นเกินไป (ตำราแผนโบราณ)
ฮอร์โมนเหล่านี้หากได้รับมากจนเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้
โทษของกวาวเครือขาว อาจจะทำให้เยื่อหุ้มอัณฑะหนาตัวและอาจเป็นมะเร็งอัณฑะในเพศชายได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
อันตรายจากกวาวเครือขาวในเพศหญิงอาจมีผลทำให้เต้านมแข็งเป็นก้อนหรืออาจทำให้เกิดเนื้องอกจนเป็นมะเร็งเต้านมได้ หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
กวาวเครือนั้นมีพิษทำให้เมา เบื่อตัวเอง การรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ด้วยเหตุนี้ควรรับประทานสมุนไพรที่มีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องอืดร่วมด้วย เช่น พริกไทย เป็นต้น
หากรับประทานกวาวเครือขาวแล้วอาจจะทำให้ประจำเดือนมามากกว่าปกติ จนบางท่านรู้สึกกังวล แต่การที่ประจำเดือนมามากนี้ก็ถือเป็นผลดีต่อร่างกายในการขับของเสีย ทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น จึงไม่ต้องเป็นกังวล
สามารถใช้ครีมบำรุงทรวงอก (Breast Cream) ร่วมกับกวาวเครือขาวในการเพิ่มขนาดทรวงอกได้
กวาวเครือขาว ผลข้างเคียงและอาการอื่น ๆ ที่พบได้ทั่วไป เช่น เจ็บคัดเต้านม ปวดศีรษะ คลื่นไส้ มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นต้น