หน้าหลัก     ปัญหาสุขภาพ     สาระน่ารู้

Zinc (แร่ธาตุสังกะสี)

     แร่ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุจำเป็น ที่ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น เนื่องจากร่างกายของเราสังเคราะห์เองไม่ได้ เก็บสะสมไว้ก็ไม่ได้ คนทั่วไปต้องรับประทานอาหารที่มี แร่ธาตุสังกะสี เป็นส่วนประกอบโดยเฉลี่ยในปริมาณ 15 mg ต่อวัน สามารถพบได้ใน เนื้อสัตว์ ตับ นม เนย ปู กุ้ง ไข่ หอยนางรม ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน เมล็ดพืช วุ้นเส้นไม่ฟอกขาว งา มันฝรั่ง ผักใบเขียวต่างๆ ผลไม้ เช่น มะม่วง สับปะรด แอปเปิ้ล 

  แร่ธาตุสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นพบได้ในเซลล์ทั่วร่างกาย เช่น ในเซลล์ของเม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะในเม็ดเลือดขาวที่สามารถพบแร่ธาตุสังกะสีเป็นจำนวนมาก และยังมีบทบาทหน้าที่ต่อการทำงานของร่างกายในหลายด้าน โดยมีส่วนช่วยในการทำงานของเอ็นไซม์ต่างๆของร่างกายถึง 200 ชนิด ซึ่งรวมถึงกระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหารต่างๆ จึงกล่าวได้ว่าแร่ธาตุชนิดนี้ช่วยบำรุงสุขภาพโดยรวมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่ป่วยบ่อย ช่วยเรื่องการซ่อมแซมบาดแผล ทำให้แผลหาดเร็วขึ้น ช่วยเรื่องการเผาผลาญ ช่วยเรื่องการพัฒนาและการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมไปถึงช่วยเสริมเรื่องการรับรู้รสและกลิ่นอีกด้วย

     ในร่างกายของมนุษย์มีแร่ธาตุสังกะสีอยู่ประมาณ 2- 4 กรัม กระจายอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกายโดยเฉพาะในกล้ามเนื้อ กระดูก และ ผิวหนัง มีบทบาทหน้าต่อการทำงานของร่างกายหลายๆอย่าง โดยมีส่วนช่วยในการทำงานของเอนไซม์ถึง200ชนิด ซึ่งรวมถึงกระบวนการย่อยและเผาผลาญสารอาหารต่างๆ และการทำงานของเอนไซม์สำคัญที่ใช้ในการแสดงออกของยีน

     ความต้องการแร่ธาตุสังกะสีในแต่ละคนแตกต่างกันตามช่วงอายุและเพศ หญิงตั้งครรภ์ ให้นมบุตร จะมีความต้องการแร่ธาตุสังกะสีมากขึ้น กลุ่มที่ทานมังสวิรัติ  คนที่ดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาการดูดซึม คนทั่วไปในสภาวะเครียด ภูมิต้านทานตก หรือร่างกายมีการติดเชื้อ ก็อาจต้องการแร่ธาตุสังกะสีในระดับที่สูงขึ้น

ทำไมต้องเสริม Zinc ให้กับร่างกาย?
 

ประโยชน์ ของสังกะสี 

yes  เร่งให้แผลทั้งภายใน และภายนอกร่างกายให้หายเร็วขึ้น
yes  กำจัดจุดขาวบนเล็บ
yes  ช่วยการรับรู้รสอาหาร
yes  ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยาก
yes  ช่วยป้องกันปัญหาต่อมลูกหมาก
yes  เสริมสร้างการเจริญเติบโต และความตื่นตัวทางจิต และสมอง
yes  ช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอล
yes  ช่วยในการรักษาโรคทางจิตใจ
yes  ช่วยลดระยะเวลาเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคหวัด

อาการของภาวะขาดสังกะสีนั้น มีดังต่อไปนี้
           การที่ร่างกายมีภาวะขาดแร่ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ (Zinc) เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆกับร่างกาย ดังนี้
1. การรับรู้รสและกลิ่น ลดลง
         จากอุบัติการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 พบว่าผู้ติดเชื้อ ที่มีอาการการรับรู้รสและกลิ่นหายไป สาเหตุหนึ่งมาจากการที่ร่างกายขาดแร่ธาตุสังกะสี
2. ภูมิคุ้มกันลดลง
         เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อโรค หรือเชื้อไวรัสง่ายขึ้น จึงทำให้ป่วยบ่อย
3. การเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆลดลง เช่น เซลล์ผม เล็บ ผิว จึงมักพบว่า

   ʕ·ᴥ·ʔ  การเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกายผิดปกติ

   ʕ·ᴥ·ʔ  การเจริญเติบโตลดลง เด็กมีโอกาสเตี้ย แคระแกรน

   ʕ·ᴥ·ʔ  เข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า อารมณ์แปรปรวน

   ʕ·ᴥ·ʔ  มีผื่นผิวหนัง ผิวแห้ง แผลหายช้า

   ʕ·ᴥ·ʔ  ท้องเสียเรื้อรัง

   ʕ·ᴥ·ʔ  ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผมบางลง

   ʕ·ᴥ·ʔ  ความอยากอาหารลดลง

   ʕ·ᴥ·ʔ  มีปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์

   ʕ·ᴥ·ʔ  ผมร่วงมากกว่าปกติ มีปัญหาผมแตกปลาย

   ʕ·ᴥ·ʔ  เล็บเปราะหรือแตกหักง่าย เล็บเป็นจุดสีขาว
   ʕ·ᴥ·ʔ  ผิวหนังแห้งและอักเสบ
   ʕ·ᴥ·ʔ  บาดแผลหายช้า
   ʕ·ᴥ·ʔ  สมรรถภาพทางเพศลดลง

4. มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและการทำงานสมอง รวมทั้ง มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ และเหม่อลอย

5. การมองเห็นผิดปกติ

6. ในเด็กอาจทำให้ร่างกายการแคระแกร็น สืบเนื่องจากเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกายผิดปกติ เริ่มต้นสังเกตได้ตั้งแต่วัยเด็ก พบว่ามีพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายที่ช้า ทำให้เด็กตัวเล็ก 

ทำอย่างไรไม่ให้ร่างกายขาด Zinc
       การที่จะทำให้มีสุขภาพโดยรวมที่แข็งแรงและป้องกันปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะขาดแร่ธาตุสังกะสี โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่รอบตัวเราเต็มไปด้วยเชื้อโรค และโรคระบาดต่างๆ เช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลือกทานอาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น ที่สำคัญต้องทานให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย

enlightenedคำแนะนำในการรับประทาน

อายุน้อยกว่า 1 ปี           3 – 5        มิลลิกรัม/วัน
อายุ 1 –10 ปี               10            มิลลิกรัม/วัน
อายุ 11 ปีขึ้นไป              15            มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะตั้งครรภ์        20 – 25    มิลลิกรัม/วัน
สตรีในระยะให้นมบุตร       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

BACK