วิตามินอี (Vitamin E) หรือแอลฟา โทโคฟีรอล เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งร่างกายสามารถดึงมาใช้ได้เมื่อมีความจำเป็น โดยวิตามิน อี จะพบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ถั่ว ผักใบเขียว ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ จมูกข้าวสาลี ขนมปังโฮลวีต น้ำมันพืช น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดฝ้าย น้ำมันข้าวโพดถั่ว เมล็ดทานตะวัน เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว ผักใบเขียว ผักขม อะโวคาโด และปวยเล้ง
นอกจากนั้น วิตามิน อี ยังมีในรูปของอาหารเสริม ซึ่งมักนำมาใช้กับผู้ที่มีปัญหาการขาดวิตามิน อี เช่น เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย กล้ามเนื้อฝ่อ โรคโลหิตจาง และโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ หรือนำมาใช้ป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ เช่น โรคเลือดไร้บีตาลิโพโปรตีน ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและไขมันได้ และโรคซีสติกไฟโบรซิส
ตัวอย่างอาหารช่วยเติมวิตามินอี เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดวิตามินอี
► อัลมอนด์ ขนาด 1 ออนซ์
► บร็อกโคลี 4 หัว
► ผักโขม 1 ถ้วย
► มะเขือเทศ จำนวน 1 ถ้วย
► มะม่วง 1 ถ้วย
► เนยถั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
► เมล็ดทานตะวัน 1 ออนซ์
► น้ำมันคาโนล่า 1 ช้อนโต๊ะ
► อะโวคาโด 1 ผล
► ผักปวยเล้ง 1 ช่อ
► มันหวาน 1 ช้อนโต๊ะ
► ฟักทอง 1 ถ้วย
หากเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เป็นประจำอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดวิตามินอี ยกเว้นในบางรายที่อาจต้องการวิตามินอีมากกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้ที่มีปัญหาการดูดซึมวิตามินอี ผู้ที่ต้องการชะลออาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือป้องกันการลุกลามของโรค เช่น โรคระบบหัวใจ โรคระบบประสาท อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หรือในผู้ที่ต้องการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน หรือต้องการเสริมการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญต่อไปในการรับประทานวิตามินอีเพิ่มเติม
วิตามินอี (Vitamin E) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์มาเป็นเวลานาน เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ซึ่งร่างกายผลิตเองไม่ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานเข้าไปเท่านั้น
วิตามินอี (Vitamin E) จะช่วยปกป้องเซลล์ต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ เมื่อมีการเผาผลาญเกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ เซลล์ของระบบหัวใจและหลอดเลือด เซลล์สมอง เซลล์ผิวหนัง โดยวิตามินอี จะสามารถป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และยังช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรงขึ้น
ช่วยทำให้แลดูอ่อนกว่าวัย โดยชะลอกระบวนการเสื่อมสภาพของเซลล์
ช่วยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
ช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพความทนทาน
ช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด
เพิ่มประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์
ช่วยป้องกันและสลายลิ่มเลือด
ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลีย
ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก
ช่วยป้องกันแผลเป็นหนานูน ทั้งภายนอกและภายใน และช่วยให้แผลไหม้หายเร็วยิ่งขึ้น
ทำงานคล้ายยาขับปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิต
ช่วยในการป้องกันภาวะแท้ง
บรรเทาอาการตะคริวหรือขาตึง
ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอัมพฤกษ์ อัมพาต
ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคอัลไซเมอร์ได้
1. ผู้ที่ต้องการสารต้านอนุมูลอิสระจำเป็นที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ
2. ผู้ที่มีภาวะบกพร่องวิตามินอี ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการผิดปกติของการดูดซึมวิตามินอีในระบบทางเดินอาหาร
3. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวพรรณ เช่น ผิวขาดความชุ่มชื้น หรือผิวมีรอยแผลเป็น
4. ผู้ที่ต้องการป้องกันโรคเกี่ยวกับสมอง เช่น อัลไซม์เมอร์ หรือโรคพาร์กินสัน
5. ผู้ที่ต้องการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
6. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานโรค
7. ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็ง
8. ผู้หญิงที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการก่อนการมีประจำเดือน และมีอาการปวดประจำเดือนเป็นประจำ
คำแนะนำในการรับประทานวิตามินอี
▶ ขนาดแนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 8-10 IU
▶ ค่า IU ที่ระบุไว้ในฉลากอาหารเสริมของวิตามินอี เป็นค่าของ แอลฟาโทโคฟีรอล ส่วนโทโคฟีรอลตัวอื่นและโทโคไทรอีนอลนั้น ถือได้ว่ามีค่าเป็น 0 IU
▶ ขนาดที่แนะนำให้รับประทานทั่วไปคือ 200-1,200 IU ต่อวัน ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการเป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานมาก ๆ
▶ สำหรับผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ควรรับประทานวิตามินอีให้มากขึ้นกว่าเดิม
ถึงแม้ว่าวิตามินอี (Vitamin E) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน สามารถสะสมในร่างกายส่วนที่เป็นไขมันได้ จึงทำให้หลายคนกังวลใจ แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานการพบอันตรายใดๆ จากการรับประทานวิตามินอีอย่างต่อเนื่อง